พิพิธภัณฑ์ภักดีภูธร กรมแผนที่ทหาร


กรมแผนที่ทหาร มีหน้าที่ในการสำรวจทางพื้นดินและทางอากาศ เพื่อจัดทำและผลิตแผนที่พื้นดินภายในประเทศออกเผยแพร่ รวมทั้งให้การศึกษา ฝึกอบรมวิศวกร และเจ้าหน้าที่สำรวจทางด้านเทคโนโลยีแผนที่ ตลอดจนดำเนินการสำรวจรังวัดวางโครงข่ายหมุดหลักฐานของประเทศ เพื่องานแผนที่และงานวิศวกรรม ทั้งนี้กรมแผนที่ทหารได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ซึ่งจัดเก็บข้อมูลตามอาคารต่างๆ ในภายในกรม ประกอบด้วย อาคารละออภูมิลักษณ์ ชั้น 1 มีตู้และชั้นวางสำหรับจัดเก็บแผนที่สำคัญภาพถ่ายประวัติศาสตร์ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ตลอดจนเอกสารสิ่งพิมพ์สำคัญต่าง ๆ อาคารละออภูมิลักษณ์ ชั้น 4 เป็นสถานที่จัดเก็บเครื่องมือทำแผนที่ตั้งแต่เริ่มแรกและแผนที่เก่า และอาคารวิภัติภูมิประเทศ ชั้นล่าง จัดเป็นห้องสมุดกรมแผนที่ทหาร และยังเป็นที่จัดเก็บแผนที่ประวัติศาสตร์บางส่วนที่มีความเก่าแก่มากและมีขนาดใหญ่

ที่อยู่:
กรมแผนที่ทหาร ถ.กัลยาณไมตรี เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์:
02-223-2837
วันและเวลาทำการ:
ในกรณีเข้าชมแบบหมู่คณะในนามสถาบันหรือหน่วยงานให้ทำหนังสือราชการแจ้งความประสงค์ล่วงหน้า, การเข้าชมแบบทั่วไป สามารถติดต่อขอเข้าชมได้ในวันและเวลาราชการ (08.30-16.00น.)
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2503
จัดการโดย:

โดย: -

วันที่: 08 กุมภาพันธ์ 2556

โดย: -

วันที่: 08 กุมภาพันธ์ 2556

โดย: -

วันที่: 08 กุมภาพันธ์ 2556

โดย: -

วันที่: 08 กุมภาพันธ์ 2556

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ภักดีภูธร กรมแผนที่ทหาร

กรมแผนที่ทหาร มีหน้าที่ในการสำรวจทาง พื้นดินและสำรวจทางอากาศ เพื่อจัดทำและผลิตแผนที่พื้นดินภายในประเทศออกเผยแพร่ รวมทั้งให้การศึกษา ฝึกอบรม วิศวกรและเจ้าหน้าที่สำรวจทางด้านเทคโนโลยีแผนที่ ตลอดจนดำเนินการสำรวจรังวัดวางโครงข่ายหมุดหลักฐานของประเทศ เพื่องานแผนที่และงานวิศวกรรม ซึ่งได้แก่ การก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคต่างๆ โดยที่งานสำรวจเพื่อทำแผนที่เป็นงานที่ต้องกระทำต่อเนื่องอยู่เสมอ เพราะลักษณะภูมิประเทศและเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาตามความเจริญของบ้านเมือง รายละเอียดในแผนที่สมัยต่างๆ จึงเป็นหลักฐานยืนยันถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศและตัวเมืองได้ เป็นอย่างดี ดังนั้น แผนที่ทุกสมัยจึงต้องเก็บไว้เพื่อศึกษาเรื่องราวในอดีตและใช้ในการวางแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในด้านต่างๆ

เทคโนโลยีด้านการสำรวจแผนที่ ซึ่งประเทศไทยได้เริ่มรับวิทยาการแขนงนี้จากตะวันตกในสมัยรัชกาลพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับตั้งแต่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง “กรมทำแผนที่สยาม” เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2428 เป็นต้นมา ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเครื่องมือที่ใช้ในงานสำรวจเพื่อทำแผนที่ได้เปลี่ยน แปลงให้เหมาะสมกับความต้องการและมีประสิทธิภาพในการทำงานดียิ่งขึ้นโดยลำดับ เครื่องมือเครื่องใช้ในสมัยต่างๆ เหล่านี้นับว่าเป็นวัตถุที่ควรสงวนรักษาและจัดแสดงเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา เกี่ยวกับวิวัฒนาการทางการสำรวจเพื่อทำแผนที่ของไทย จากเหตุผลและความสำคัญดังกล่าว พลโท ฉลอง อุชุโกมล เจ้ากรมแผนที่ทหารบก คนที่ 9 (พ.ศ. 2500 ถึง พ.ศ. 2505) จึงได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ทางแผนที่ เมื่อ พ.ศ. 2503 ชื่อ “พิพิธภัณฑ์ภักดีภูธร” (ตามราชทินนามของเจ้ากรมแผนที่ทหารบก คนที่ 4 คือ พลตรี พระยาภักดีภูธร พ.ศ. 2453- 2472) และต่อมา พ.ศ. 2506 ได้เปลี่ยนแปลงการจัดส่วนราชการโดยโอนกรมแผนที่ทหารบกไปสังกัดกองบัญชาการ ทหารสูงสุด จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “กรมแผนที่ทหาร” และปี พ.ศ. 2508 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดส่วนราชการภายในกรมแผนที่ทหาร และกำหนดให้กิจการห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์เป็นส่วนราชการระดับแผนก เรียกว่า “แผนกห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์” ขึ้นกับกองธุรการมาจนถึงปัจจุบัน

ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ ฯ มีสถานที่จัดเก็บตามอาคารสถานที่ต่าง ๆ

- อาคารละออภูมิลักษณ์ ชั้น 1 มีพื้นที่ประมาณ 32 ตารางเมตร ใช้เป็นที่ทำงานของเจ้าหน้าที่ทั้งหมด มีตู้และชั้นวางสำหรับจัดเก็บแผนที่สำคัญเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแผนที่บางแผ่นมีขนาดใหญ่ จึงไม่มีการจัดแสดง นอกจากนี้ ยังมีภาพถ่ายประวัติศาสตร์ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ตลอดจนเอกสารสิ่งพิมพ์สำคัญต่างๆ

- อาคารละออภูมิลักษณ์ ชั้น 4 มีพื้นที่ประมาณ 90 ตารางเมตร (เว้นส่วนทางขึ้นแล้ว) ใช้เป็นสถานที่จัดเก็บเครื่องมือทำแผนที่ต่างๆ ตั้งแต่เริ่มแรกเท่าที่จะเก็บรักษาไว้ได้ เช่น กล้องดาราศาสตร์, เข็มทิศ, เครื่องมือรังวัดต่างๆ เป็นต้น สำหรับพื้นที่บางส่วนเป็นที่ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และเก็บแผนที่เก่า เอกสารต่างๆ เช่น สมุดสนาม เป็นต้น

- อาคารวิภัติภูมิประเทศ ชั้นล่าง เป็นที่ทำการของกองธุรการฯ ส่วนหนึ่งจัดเป็นห้องสมุด กรมแผนที่ทหาร และยังเป็นที่จัดเก็บแผนที่ประวัติศาสตร์บางส่วน อยู่ภายในตู้กระจก ซึ่งแผนที่เหล่านี้ มีความเก่าแก่มากและมีขนาดใหญ่

พิพิธภัณฑ์กรมแผนที่ทหารได้ดำเนินการรวบรวม สิ่งต่าง ๆ ที่มีค่าอาทิ แผนที่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน แผนที่ดังกล่าวสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษา ภาพถ่ายต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลงานของกรมแผนที่ทหารบก เพราะเป็นหน่วยงานแรกที่เริ่มดำเนินการบันทึกภาพต่างๆ ได้แก่ ภาพพระราชพิธีภาพพระมหากษัตริย์และ พระบรมวงศานุวงศ์ ภาพเกี่ยวกับกิจกรรมทหาร เช่น การประลองยุทธ์ใหญ่ พ.ศ. 2459 ภาพฉลองรัฐธรรมนูญ สิ่งตีพิมพ์เป็นผลงานในสมัยสงคราม โลกครั้งที่ 2 ได้แก่ ธนบัตร แสตมป์ อากรแสตมป์ พิมพ์ระหว่าง พ.ศ. 2482- 2483 และเครื่องมือสำรวจและทำแผนที่ แยกประเภทตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่เครื่องมือสำรวจภาคพื้นดิน เครื่องมือสำรวจทางอากาศ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือทำแผนที่ เช่น เครื่องอ่านแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศ เครื่องย่นขยายแผนที่ เครื่องมือถ่ายรูปและการพิมพ์

เรียบเรียงจาก: http://www.rtsd.mi.th/section/book/06gallery/home_gallery.htm [accessed 2009-01-06]
ชื่อผู้แต่ง:
-