สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา


สถาบันอยุธยาศึกษา เป็นหน่วยงานในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ก่อตั้งเมื่อปี 2547 โดยพัฒนามาจากสำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และสืบค้นข้อมูล เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการส่งเสริมสนับสนุนการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย สามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ในการให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอยุธยาศึกษา ศิลปวัฒนธรรม การละเล่นพื้นเมือง และคติชนวิทยาของภาคกลาง

ที่อยู่:
เลขที่ 96 ถ.โรจนะ ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000
โทรศัพท์:
0-3524-1407,0-3524-4033
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2547
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของสถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา

สถาบันอยุธยาศึกษา ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2547 พัฒนามาจากสำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในด้านการศึกษา ค้นคว้า วิจัย รวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ในด้านอยุธยาศึกษา ที่เกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยพันธกิจที่อยู่ภายในแนวคิดที่ว่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นเมืองหลวงในอดีต และได้รับการคัดเลือกให้เป็นมรดกโลกในปัจจุบัน ควรที่นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ที่จะได้ศึกษา ค้นคว้า เรียนรู้ เพื่อให้เกิดจิตสำนึก ในการรักชาติ รักท้องถิ่นของตนเอง การที่จะเรียนรู้ได้ดี ก็ควรที่จะต้องมีหน่วยงานและบุคลากร ที่ทำหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต ภูมิปัญญาในท้องถิ่น ตลอดจนมีการส่งเสริม อนุรักษ์ เผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย และมีข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับอยุธยาศึกษา ให้ผู้ที่สนใจมาใช้บริการเป็นแหล่งเรียนรู้ได้
 
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางสถาบันอยุธยาศึกษาจัดขึ้น มีมากมายอาทิ
1. การจัดแสดงนิทรรศการบนเรือนไทย 5 หลัง ได้แก่ ห้องอยุธยาศึกษา ห้องภูมิปัญญาท้องถิ่น ห้องมรดกทางด้านศิลปกรรม ห้องนิทรรศการหมุนเวียน ห้องพิธีการ
2. การแสดงกิจกรรม "อยุธยายามค่ำ" จัดแสดงในราชสำนัก วิถีชีวิต ความเชื่อของคนอยุธยา มีการแสดงดนตรี - นาฎศิลป์ไทย นั่งรถรางชมโบราณสถานในยามค่ำคืน (มีเฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์)
3. การจัดแสดง สาธิต จำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
4. การให้บริการมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
5. การจัดแสดงทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณีต่าง ๆ เช่น พิธีแต่งงาน ทำขวัญนาค พิธีโกนจุก เป็นต้น
 
ข้อมูลจาก
http://ayutthayastudies.aru.ac.th/ [accessed 2007-05-15]
http://www.tat.or.th/province.asp?prov_id=14 [accessed 2007-05-15]
ชื่อผู้แต่ง:
-