หมู่บ้านญี่ปุ่น


พิพิธภัณฑ์หมู่บ้านญีปุ่นตั้งอยู่ในพื้นที่ถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมของชุมชนชาวญี่ปุ่นในสมัยอยุธยา ในปี พ.ศ. 2529 รัฐบาลญี่ปุ่นให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา และเป็นที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 100 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ญี่ปุ่น ภายในสร้างเป็นสวนและศาลาญี่ปุ่น พร้อมกับหมู่อาคาร ที่จัดแสดงนิทรรศการความรุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยา เส้นทางเดินเรือ การติดต่อค้าขาย เรื่องราวเกี่ยวกับ การเข้ามาของคนญี่ปุ่น วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนญี่ปุ่นในอยุธยา พร้อมสื่อมัลติมีเดียที่ทันสมัย นิทรรศการถาวรชื่อว่า “นิทรรศการยามาดะ นางามาซะ (ออกญาเสนาภิมุข) และท้าวทองกีบม้า”

ที่อยู่:
ต.เกาะเรียน อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000
โทรศัพท์:
035259867
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 9.30 - 17.00 น.
ค่าเข้าชม:
ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 20 บาท
เว็บไซต์:
อีเมล:
jpnvillage@thai-japanasso.or.th
ปีที่ก่อตั้ง:
2529
ของเด่น:
นิทรรศการประวัติศาสตร์การเข้ามาของคนญี่ปุ่น วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนญี่ปุ่นในอยุธยา
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์หมู่บ้านญี่ปุ่นในอยุธยา

ชื่อผู้แต่ง: โกสินทร์ ชิตามร | ปีที่พิมพ์: 8,3(มี.ค. 34)หน้า131-135

ที่มา: กินรี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

โฉมใหม่พิพิธภัณฑ์ “หมู่บ้านญี่ปุ่น” ในอยุธยา

ชื่อผู้แต่ง: สุภาภรณ์ อัษฎมงคล | ปีที่พิมพ์: 12/07/2551

ที่มา: ไทยรัฐ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

หมู่บ้านญี่ปุ่นที่อยุธยา

ชื่อผู้แต่ง: พลับพลึง คงชนะ | ปีที่พิมพ์: เม.ย.2536 หน้า 50-64

ที่มา: วารสารไทย-ญี่ปุ่นศึกษา

แหล่งค้นคว้า: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

หมู่บ้านญี่ปุ่น

ชื่อผู้แต่ง: บุญยง ชื่นสุวิมล. | ปีที่พิมพ์: (ก.ค.- ธ.ค.2550) หน้า 160-182.

ที่มา: เอเชียปริทัศน์

แหล่งค้นคว้า: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

หมู่บ้านญี่ปุ่น Japanese Village

พิพิธภัณฑ์หมู่บ้านญีปุ่นตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าเจ้าพระยา  เดิมคือถิ่นที่อยู่ของชุมชนชาวญี่ปุ่นในสมัยอยุธยา ตรงข้ามกับหมู่บ้านโปรตุเกส ทางทิศใต้ของเกาะเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งชุมชนชาวต่างชาติที่เดินทางมาค้าขายในกรุงศรีอยุธยา ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านโปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษ โดยต่างได้รับพระราชทานที่ดินตั้งชุมชนบ้านเรือนอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน

หมู่บ้านญี่ปุ่นได้รับการปรับปรุงครั้งแรก ในปี 2529 โดยรัฐบาลญี่ปุ่นให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า 999 ล้านเยน (ประมาณ 170 ล้านบาทไทยในขณะนั้น) เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา (พ.ศ. 2530) และเป็นที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 100 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ญี่ปุ่นการปรับปรุงหมู่บ้านญี่ปุ่นได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ในปี พ.ศ. 2550

ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา และครบรอบ 120 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ญี่ปุ่น สมาคมฯ ไทย-ญี่ปุ่น ได้ปรับปรุงอาคารผนวกและปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการภายในใหม่ทั้งหมด โดยนำ เสนอความรุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยา เส้นทางเดินเรือ การติดต่อค้าขาย เรื่องราวเกี่ยวกับ การเข้ามาของคนญี่ปุ่น วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนญี่ปุ่นในอยุธยา รวมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์และจัดสร้างสวนและพร้อมศาลาญี่ปุ่นเพื่อเป็นอนุสรณ์

ในปี พ.ศ. 2557 เนื่องในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมายุ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมาคมฯ ได้ปรับปรุงอาคารริมแม่นำเจ้าพระยาให้เป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวรอันใหม่ พร้อมสื่อมัลติมีเดียที่ทันสมัย ใช้ชื่อว่า “นิทรรศการยามาดะ นางามาซะ (ออกญาเสนาภิมุข) และท้าวทองกีบม้า”

และในปี พ.ศ. 2560 ในวาระครบรอบ 130 ปี ความสัมพันธ์การทูตไทย-ญี่ปุ่นสมาคมฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงต่อยอดการจัดแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์อยุธยาและหมู่บ้านญี่ปุ่นด้วยเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง VR Street Museum โดยปรับปรุงห้องฉายภาพยนตร์และจัดทำ Street Museum ที่จะเพิ่มความตื่นตา ตื่นใจในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ พร้อมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์เพิ่มบรรยากาศของความเป็นญี่ปุ่น และปรับปรุงพื้นที่ห้องแสดงนิทรรศการเพื่อรองรับการจัดแสดงทางวัฒนธรรมไทย-ญี่ปุ่นซึ่งจะจัดขึ้นในอนาคตได้

ที่มา: เว็บไซต์หมู่บ้านญี่ปุ่น http://www.japanesevillage.org/

ชื่อผู้แต่ง:
หมู่บ้านญี่ปุ่น

รีวิวของหมู่บ้านญี่ปุ่น

มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และข้อเขียนหลายชิ้นที่กล่าวถึงสาเหตุการเข้ามาของคนญี่ปุ่นในกรุงศรีอยุธยา ราวศตวรรษที่ 15-16 อาทิ ใบเบิกร่องประทับตราแดง มีข้อความว่า "ชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในแดนสยาม" เป็นหนังสือที่รัฐบาลญี่ปุ่นออกให้แก่ชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า โยเอมอง สะท้อนให้เห็นถึงประวัติความสัมพันธ์ทางด้านการค้าในระยะแรกที่น่าสนใจว่า สำเภาที่ได้ใบเบิกร่องนั้นเดินทางไปติดต่อกับประเทศใดก่อน  
 
หนังสือประวัติการเผยแพร่คริสต์ศาสนาเล่มหนึ่งที่กล่าวถึงการลี้ภัยของคริสเตียนชาวญี่ปุ่นจากเมืองนางาซากิมาพำพักอยู่ในอยุธยา รวมถึงพ่อค้าญี่ปุ่นที่ติดต่อค้าขายกับอยุธยา  ซึ่งเมื่อญี่ปุ่นดำเนินนโยบายเปิดประเทศจนมิอาจกลับบ้านเกิดเมืองนอนได้ จึงตั้งรกรากทำมาหากินที่อยุธยา นอกจากนี้ยังมีบางพวกที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการรบทัพจับศึก ชาวญี่ปุ่นกลุ่มนี้ได้กลายเป็นทหารอาสาญี่ปุ่น เข้ารับราชการในราชสำนักอยุธยา ส่วนกลุ่มโจรสลัดและกะลาสีเรือชาวญี่ปุ่นที่มาตั้งรกรากอยู่ที่อยุธยาก็มีด้วยเช่นกัน 
 
อย่างไรก็ตามบรรดาชาวญี่ปุ่นอพยพที่มีประวัติความเป็นมาและชะตากรรมที่แตกต่างกันเหล่านี้ ต่างก็มีจุดประสงค์ที่จะมาเยือนอาณาจักรอยุธยาด้วยความหวังใหม่ทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้สังคมของชาวญี่ปุ่นที่มีอยุธยาจึงมีโครงสร้างที่ค่อนข้างจะซับซ้อน ชุมชนญี่ปุ่นที่อยุธยาคงจะรับสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงสมัยที่ญี่ปุ่นใช้นโยบายปิดประเทศทำให้การหลั่งไหลของชาวญี่ปุ่นมายังญี่ปุ่นหยุดชะงักลง การที่ชุมชนญี่ปุ่นขยายขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดจึงมีคำภาษาไทยที่เรียกบริเวณที่ตั้งชุมชนนี้ว่า "หมู่บ้านญี่ปุ่น"
 
หัวหน้าปกครองในกลุ่มคนญี่ปุ่นที่รู้จักกันดีคือ นากามาซา ยามาดา ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจและเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จนได้รับแต่งตั้งเป็นออกญาเสนาภิมุข รับราชการต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชจนสิ้นชีวิต ปัจจุบันสมาคมไทย-ญี่ปุ่นได้สร้างหุ่นจำลอง นากามาซา ยามาดา และจารึกประวัติศาสตร์ความเป็นมาของหมู่บ้านญี่ปุ่นในสมัยกรุงศรีอยุธยามาตั้งไว้ภายในหมู่บ้าน มีอาคารจัดแสดงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับต่างประเทศ 
 
ข้อมูลจาก:
สถาบันอยุธยาศึกษา http://ayutthayastudies.aru.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=171&Itemid=32 [accessed 2007-05-15]
ชื่อผู้แต่ง:
-