พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ


โครงการ “พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์” จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2535 ในวาระมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้ง องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ขึ้น เพื่อเป็นหน่วยงานบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์หรือที่เรียกกันว่า "อาคารลูกเต๋า" เป็นสถาปัตยกรรมที่มีรูปทรงทันสมัย เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้พบเห็นและสร้างภาพพจน์ใหม่ของพิพิธภัณฑ์ สะท้อนถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างเป็นรูปธรรม ภายในประกอบด้วยนิทรรศการถาวรทั้ง 6 ชั้น โดยชั้นแรก เป็นการทำความรู้จักกับพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในแง่มุมต่าง ๆ ผ่านแบบจำลองอาคารและข้อมูลหลากหลาย ชั้นสอง ชมประวัติความเป็นมาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รับรู้ที่มาของมนุษยชาติจากข้อสันนิษฐานการกำเนิดมนุษย์ เรื่องราวพลังของมนุษย์ที่มีต่อธรรมชาติทั้งเชิงสร้างสรรค์และทำลายล้าง ชั้นสาม เรื่องวิทยาศาสตร์พื้นฐานและพลังงาน สนุกกับการทดลองและเรียนรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ฟิสิกส์ เคมีและคณิตศาสตร์ ผ่านชิ้นงานหลากหลาย ชั้นสี่ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย ชั้นห้า เรื่องราววิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน เรียนรู้เกี่ยวกับร่างกายของเราและการดูแลสุขภาพ ระบบอัตโนมัติและวิทยาการหุ่นยนต์ ประวัติและพัฒนาการด้านคมนาคม ตลอดจนสภาพแวดล้อมในชีวิตประจำวัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ และชั้นหก เรื่องเทคโนโลยีภูมิปัญญาไทย นำเสนอวิถีชีวิตของคนไทยที่พัฒนาและสืบทอดเทคโนโลยีภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่พบได้ในเครื่องมือเครื่องใช้และผลิตภัณฑ์ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการหมุนเวียนตามวาระต่างๆ

ชื่อเรียกอื่น:
อพวช.
ที่อยู่:
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 (จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ตั้งอยู่บริเวณชั้น 4-5 ของอาคารจัตุรัสจามจุรี)
โทรศัพท์:
0-2577-9999
วันและเวลาทำการ:
เปิดวันอังคาร - อาทิตย์ (หยุดวันจันทร์) อังคาร-ศุกร์ เปิดเวลา 09.30-16.00 น. เสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เปิดเวลา 09.30-17.00 น.
ค่าเข้าชม:
บัตรรวมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ + พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา + พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้ใหญ่/ครู-อาจารย์ 100 บาท , นักเรียน /นักศึกษาปริญญาตรี/ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ฟรี
เว็บไซต์:
อีเมล:
info@nsm.or.th
ปีที่ก่อตั้ง:
2535
ของเด่น:
นิทรรศการวิทยาศาสตร์พื้นฐานต่างๆ
จัดการโดย:

โดย: -

วันที่: 20 มีนาคม 2556

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

เปิดพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ เขาสัตว์สูญพันธุ์'หมอบุญส่ง'

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 5/30/2546

ที่มา: ข่าวสด

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ จำลองเหมือนจริง-แหล่งเรียนรู้มีคุณค่า

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 1/21/2546

ที่มา: เดลินิวส์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

แหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ของสังคมไทย พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 6/30/2546

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ความคาดหวังและความพึงพอใจของเยาวชนที่มีต่อการจัดนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

ชื่อผู้แต่ง: ชนิดา พลศรี | ปีที่พิมพ์: 2530

ที่มา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แหล่งค้นคว้า: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

การออกแบบตกแต่งภายในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ส่วนนิทรรศการเทคโนโลยีการคมนาคมและการสื่อสาร

ชื่อผู้แต่ง: ยอดศักด์ ประชาราษฎร์ | ปีที่พิมพ์: 2538

ที่มา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แหล่งค้นคว้า: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

ชื่อผู้แต่ง: สิทธิชัย ปลอดมีชัย | ปีที่พิมพ์: 2513

ที่มา: สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

แหล่งค้นคว้า: มหาวิทยาลัยศิลปากร

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งใหม่

ชื่อผู้แต่ง: สุรินทร์ มุขศรี | ปีที่พิมพ์: ปีที่21ฉบับที่ 3 ม.ค. 2543

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

สร้างพิพิธภัณฑ์วิทย์ชะงัก สันทัด หาช่องเตรียมกู้เงิน

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 17/10/2541

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เปิด"พิพิธภัณฑ์สุขภาวะทางเพศ"1ก.ค. กระตุ้นระวังเอดส์

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 12/02/2552

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

แบ่งโซนให้เด็กไปดู พิพิธภัณฑ์ทางเพศ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 13 /02/2552

ที่มา: ไทยรัฐ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบในปี พ.ศ. 2543 ชุดนิทรรศการที่จัดแสดงภายในอาคาร เน้นการใช้สื่อหลากหลายเพื่อให้ผู้ชมสามารถค้นพบ ทดลองและเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองอย่างสนุกสนาน ขณะเดียวกันก็เข้าใจ เห็นความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์กับชีวิตประจำวัน
 
ชุดนิทรรศการที่จัดแสดงภายในอาคารประกอบด้วย 6 หัวข้อหลักได้แก่ นักวิทยาศาสตร์รุ่นบุกเบิก ประวัติความเป็นมาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์พื้นฐานและพลังงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับประเทศไทย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวิตประจำวันและเทคโนโลยีภูมิปัญญาไทย
 
นักวิทยาศาสตร์รุ่นบุกเบิก จัดแสดงที่ชั้น 1 นำเสนอผลงานของนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยของโลกในรอบ 200 ปีที่ผ่านมา อาทิ คริสเตียน บาร์นาร์ด ผู้บุกเบิกด้านการผ่าตัดหัวใจเกรซ ฮอปเปอร์ ผุ้บุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์ เฉียน ซุง หวู ผู้สร้างทฤษฎีว่าด้วยการสายตัวทางนิวเคลียร์
 
ประวัติความเป็นมาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วยหัวข้อการกำเนิดมนุษยชาติและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ประวัติและการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ทัศนะของนักวิทยาศาสตร์เด่นของโลก และหัวข้อโลกที่เปราะบาง เพื่อเสนอผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีต่อธรรมชาติ  
 
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานและพลังงาน เพื่อสร้างความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และเทคโนโลยีด้านพลังงาน  ทั้งในแง่ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ ในหัวข้อเกี่ยวกับเสียง คณิตศาสตร์ แสงไฟฟ้า แม่เหล็ก แรงและการเคลื่อนที่ ความเสียดทาน ความร้อน สสารและโมเลกุล  อุโมงค์พลังงานเคมี
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ในหัวข้อต่างๆ ได้แก่ ร่างกายและสุขภาพ การคมนาคมขนส่ง คุณภาพชีวิต บ้านและสำนักงาน วิสัยทัศน์ต่ออนาคต
 
เทคโนโลยีภูมิปัญญาไทย เพื่อสร้างความตระหนักถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าของบรรพบุรุษไทย ประกอบด้วยส่วนเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเทคโนโลยีภูมิปัญญา ด้านแกะสลัก เครื่องปั้นดินเผาโลหกรรม จักสาน สิ่งทอ "ใจบ้าน" จัดพื้นที่สาธิตและให้ความรู้ด้านภูมิปัญญาไทยโดยวิทยากรผู้ชำนาญในแต่ละด้านวิถีชีวิตไทยและและโรงละครหุ่น
 
ข้อมูลจาก : แปลน รีดเดอร์ส. 100 พิพิธภัณฑ์กรุงเทพฯ-ปริมณฑล: โลกกว้างอยู่ไม่ไกล. กรุงเทพฯ : แปลนพริ้นติ้งแอนด์พับลิงชิ่ง, 2546. หน้า 106.
ชื่อผู้แต่ง:
-