อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เป็นโครงการที่กระทรวงกลาโหมเสนอต่อคณะรัฐมนตรี โดยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการจัดงานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2537 ภายในประกอบด้วยหมู่อาคารต่างๆ อาทิ ลานประกอบพิธี อาคารประกอบพิธี อาคารประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร อาคารภาพปริทัศน์ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง นิทรรศการภายในเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์และวีรกรรมสำคัญในการสู้รบต่างๆ ของไทย วิวัฒนาการเครื่องแบบทหารต่างๆ ของไทย เป็นต้น ส่วนผนังกำแพงโดยรอบอาคารประกอบพิธี จารึกนามผู้กล้าหาญที่เสียชีวิตในการสู้รบเพื่อปกป้องประเทศชาติในการสู้รบในสมรภูมิรบต่าง ๆ ส่วนภายในอาคารปริทัศน์แสดงภาพวาดสีน้ำมันเขียนด้วยสีอคริลิค ป็นภาพจิตรกรรมไทยร่วมสมัย ร้อยเรียงประวัติศาสตร์ชาติไทยผ่านเหตุการณ์การสู้รบต่างๆ โดยมีอาจารย์ปรีชา เถาทอง เป็นหัวหน้าคณะออกแบบ
ชื่อผู้แต่ง: ร้อยเอกบุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ | ปีที่พิมพ์: 22: 4 (ต.ค.-ธ.ค.2539)
ที่มา: เมืองโบราณ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของอาคารประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์การทหาร(อนุสรณ์สถานแห่งชาติ)
ชั้นที่ 2 เป็นที่โล่งไว้สำหรับจัดแสดงนิทรรศการ ในวันสำคัญต่าง ๆ ผนังกำแพงโดยรอบ จารึกนามผู้ กล้าหาญที่เสียชีวิตในการสู้รบเพื่อปกป้องประเทศชาติ ในการสู้รบในสมรภูมิรบต่าง ๆ เช่น สงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามกรณีพิพาทอินโดจีน-ฝรั่งเศส สงคราม เอเชียบูรพา สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม การปราบปรามพวกก่อการร้ายคอมมิวนิสต์จำนวน 6,121 คน
ชั้นที่ 4 จัดแสดงเครื่องแบบเครื่องแต่งกาย โดยใช้หุ่นในการจัดแสดง มีทั้งชุดของทหาร/ตำรวจ ในชั้นผู้ใหญ่ รวมถึงเครื่องแต่งกายในสมัยต่างๆของไทย
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ประวัติศาสตร์และโบราณคดี สงคราม การทหาร สงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามเวียดนาม วีรกรรมทหาร
พิพิธภัณฑ์เรือวัดศาลาแดงเหนือ
จ. ปทุมธานี
พิพิธภัณฑ์วัดสิงห์
จ. ปทุมธานี
หอวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ วัดจันทน์กะพ้อ
จ. ปทุมธานี