พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน


งานนิติเวชศาสตร์มีบทบาทสำคัญในการนำวิชาแพทย์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อหาสาเหตุการตายผิดธรรมชาติ พิพิธภัณฑ์นี้ เริ่มก่อตั้งในสมัยของ ศ.นพ.สงกรานต์ นิยมเสน ซึ่งท่านได้เป็นผู้ริเริ่มงานด้านนิติเวชศาสตร์ของศิริราชและดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชานิติเวชศาสตร์ในขณะนั้น โดยในพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วยส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับนิติพยาธิวิทยา แสดงชิ้นส่วนอวัยวะต่างๆ ของมนุษย์ที่ตายด้วยโรคตามธรรมชาติ และตายโดยผิดธรรมชาติ เหตุการณ์มหันตภัยสึนามิ การจัดแสดงเกี่ยวกับยาเสพติดชนิดต่างๆ วัตถุพยานหลักฐานจากศพจากคดีต่างๆ เช่น ดีเอ็นเอ ลักษณะบาดแผลอาวุธ จากคดีฆาตกรรมฆ่าตัวตาย อุบัติเหตุ ฯลฯ จัดแสดงกะโหลกศีรษะจำนวนมากที่ได้จากการทดลองยิงเพื่อการศึกษาทิศทางบาดแผลในระยะต่างๆ รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการชันสูตรพระบรมศพ และเสื้อผ้าในวันเกิดเหตุของคดีนวลฉวี ฯลฯ

ที่อยู่:
ชั้น 2 ตึกอดุลยเดชวิกรม โรงพยาบาลศิริราช ถ.พรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10701
โทรศัพท์:
0-2419-6363, หรือภาควิชานิติเวช 0-2419-6547-8
วันและเวลาทำการ:
จันทร์,พุธ-อาทิตย์ เวลา หน่วยพิพิธภัณฑ์ศิริราช 10.00-17.00 น. (ปิดจำหน่ายตั๋วเวลา 16.00 น.) ปิดทำการวันอังคารเเละวันหยุดนักขัตฤกษ์
ค่าเข้าชม:
1.พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช หรือพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน เพียงแห่งเดียว ต่างชาติ 200 บาท / ไทย 80 บาท เด็กไทยและต่างชาติ อายุต่ำกว่า 18 ปี 25 บาท 2. บัตรเดียวเที่ยว 2 พิพิธภัณฑ์ ต่างชาติ 300 บาท / ไทย 150 บาท เด็กไทยและต่างชาติ 50 บาท
อีเมล:
sirirajmuseum@gmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2511
ของเด่น:
เครื่องมือที่ใช้ในการชันสูตรพระบรมศพ , นิทรรศการศิริราชกับสึนามิ, วัตถุพยานในคดีต่างๆ , specimen แสดงรอยบาดแผลที่เกิดกับอวัยวะต่างๆ, เสื้อผ้านวลฉวี
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ซีอุย มนุษย์กินคน หรือเหยื่อสังคม

ชื่อผู้แต่ง: ปรามินทร์ เครือทอง | ปีที่พิมพ์: ปีที่24ฉบับที่ 12 ต.ค. 2546

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

สุดระทึก!!! เจอ “ซีอุย” คนกินตับ ตัวจริง ของจริง

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 29 พ.ค. 2555;29-05-2012

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 04 มิถุนายน 2558

พิพิธภัณฑ์ศิริราช คู่มือการชม

ชื่อผู้แต่ง: พิพิธภัณฑ์ศิริราช | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: พิพิธภัณฑ์ศิริราช

แหล่งค้นคว้า: พิพิธภัณฑ์ศิริราช

โดย: ศมส.

วันที่: 17 กรกฎาคม 2564

ดูลิงค์ต้นฉบับ

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์สงกรานต์ นิยมเสน

ชื่อ “ซีอุย แซ่อึ้ง” หากย้อยไปเมื่อประมาณ 50 ปีก่อน ไม่มีใครไม่รู้จักฆาตกรฆ่าเด็กรายนี้ นวลฉวี พยาบาลสาวที่ต้องตกเป็นเหยื่อของความรัก และถูกฆาตกรรมโดยคนใกล้ชิด

ไม่แน่ใจว่าวัยรุ่นสมัยนี้จะยังรู้จักคดีเหล่านี้อยู่บ้างหรือไม่ พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์นิยมเสน เป็นสถานที่ได้ช่วยคงความทรงจำเหล่านี้ให้สังคมยังจดจำได้ พิพิธภัณฑ์ที่อาจจะน่ากลัวสำหรับบางคน แต่ก็ให้ประสบการณ์และอุทธาหรณ์แก่ใครหลายๆคนในเรื่องการไม่ประมาทในการใช้ชีวิต

ชั้นสองของตึกอดุลยเดชวิกรมอาคารพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราชพื้นที่เกือบทั้งหมดของชั้นยกให้พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์สงกรานต์ ซึ่งความน่าสนใจของตัวพิพิธภัณฑ์ตั้งแต่เริ่มแรก เมื่อเดินเข้าไปถึงนั้น ขวามือจะพบการจัดแสดงภาพและตู้โชว์กระดูกและอวัยวะของมนุษย์ ภาพถ่ายการตายและลักษณะของอวัยวะเช่นกะโหลกของคนตายในลักษณะต่างๆ ทั้งการตายจากอุบัติเหตุรถไฟ บาดแผลของศพที่โดนสะเก็ดระเบิดจนท้องเหวอะหวะ กระดูกชิ้นเล็กชิ้นน้อยส่วนต่างๆที่บิ่นเสียหายจากการถูกกระทำจากของมีคม ของแข็งต่างๆที่เป็นอาวุธในการก่ออาชญากรรมได้ และอาจจะทำให้ถึงตายได้ ผนังฝั่งตรงกันข้ามก็จะเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับเหตุการณ์สึนามิ และการทำความเข้าใจกับคลื่นสึนามิ การเกิดสึนามิเกิดขึ้นได้อย่างไร ลักษณะของการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดสึนามิ 

เมื่อเดินเข้ามาเรื่อยๆ ด้านซ้าย...ก่อนที่จะมองไปทางขวา...ขอให้มองทางซ้ายเสียก่อน ตู้จัดแสดงติดผนังรอบๆห้องจากด้านซ้ายนี้ จัดแสดงวัตถุพยานต่างๆที่ใช้ก่อคดีอาชญากรรม มีทั้งโซ่ เชือก สายไฟพลาสติก เสื้อที่เหยื่อสวมใส่ และหลักฐานชิ้นอื่นๆ ช่วยสร้างความรู้ให้เราได้อีกว่า การแพทย์นิติเวชศาสตร์ เป็นการเรียนเป็นความรู้ที่ละเอียดอ่อน ใส่ใจกับรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่อาจมีความสำคัญหรือกลายเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญของคดีๆใดคดีหนึ่งได้

แล้วก็มาถึงสิ่งที่มาผู้สนใจมามุงดูมากที่สุดของพิพิธภัณฑ์ ซีอุย ซากศพที่ทางโรงพยาบาลศิริราชได้ดองยาและจัดแสดงในท่ายืนอยู่บริเวณกลางห้อง พร้อมกันนั้นก็มีศพของฆาตกรในหลายๆคดีจัดแสดงอยู่ด้วย และมีเสื้อผ้าของคดีนวลฉวี จัดแสดงอยู่ พร้อมกันไป

การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ครั้งแรก เริ่มจากการเก็บหัวกะโหลกที่ใช้ในการสืบสวนคดีในกรณีรัชกาลที่ 8 หลังจากนั้นก็มีคดีใหญ่ๆ เกิดขึ้นอีก 2 คดีคือ คดีซีอุย และคดีนวลฉวี ซึ่งอาจารย์หมอในภาควิชานิติเวชศาสตร์ได้เข้าร่วมกันในการพิสูจน์คดีต่างๆ ศ.นพ.สงกรานต์ นิยมเสน ผู้ริเริ่มงานด้านนิติเวชศาสตร์ของศิริราชและอดีตหัวหน้าภาควิชานิติเวชศาสตร์เป็นผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ขึ้น ก่อนหน้าที่พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์จะมาตั้งอยู่ที่ตึกอดุลยเดชวิกรมแห่งนี้ เดิมอยู่ชั้น 1 ของตึกนิติเวชศาสตร์เก่าได้ย้ายมาที่นี่ในปี 2534 ในช่วงแรกพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์มีพื้นที่กว่า 900 ตารางเมตร ในปี 2543 ได้มีการนำเอาพิพิธภัณฑ์ของโรงพยาบาลศิริราชทั้งหมดมารวมกัน ทำให้ในปัจจุบันพื้นที่กว่า 900 ตารางเมตรนั้นถูกจัดสรรให้เป็นพิพิธภัณฑ์แพทย์แผนไทยประยุกต์ และพิพิธภัณฑ์สึนามิ ทำให้พื้นที่ของนิติเวชศาสตร์น้อยลง แต่การที่พิพิธภัณฑ์ในโรงพยาบาลศิริราชได้มาร่วมกันไว้ในตึกแห่งเดียวกันถือว่าผู้เข้าชมจะได้มีโอกาสชมและรับความรู้หลายๆแบบในที่ใกล้ๆกัน

เดินวนซ้ายมาเรื่อยๆ ส่วนจัดแสดงถัดไปที่ขอแนะนำคือ งู – สัตว์มีพิษที่ทำให้คนตายมาเยอะแยะ ตู้จัดแสดงงูสายพันธุ์ต่างๆที่ดองน้ำยาไว้ในขวดโหล ทางโรงพยาบาลได้จัดแสดงไว้ให้ผู้ที่เข้าชมได้รู้จักลักษณะของงูชนิดต่างๆ ทั้งงูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ฯลฯ ซากของงูบางตัวเราก็ไม่พบแล้วในเมืองไทยหรือหาดูได้ยากเต็มทีเพราะเมืองและสังคมเมืองได้กระจายตัวออกไปยังชนบทอย่างต่อเนื่อง จนสัตว์ป่าบางจำพวกไม่มีที่อยู่แล้ว 

ตู้ถัดไปเป็นตู้จัดแสดงกะโหลกที่ถูกยิงในลักษณะต่างๆ ซึ่งเป็นกะโหลกที่ใช้ทดสอบในกรณีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ทั้งใกล้และไกล ตู้จัดแสดงเครื่องมือในการชัณสูตรพระบรมศพของในหลวงรัชกาลที่ 8 

อีกฟากหนึ่งของห้องจัดแสดง อวัยวะต่างๆที่ถูกทำลายด้วยพิษ เช่น สารหนู ยาฆ่าแมลงฯลฯ ปอดของคนที่เป็นมะเร็ง โรคตับแข็ง อาการไหม้ของหลอดอาหารตลอดจนไปถึงลำไส้เมื่อได้ดื่มยาพิษเข้าไป อาการต่างๆของอวัยวะในร่างกายที่จะเกิดขึ้นและอาจจะทำให้ตายได้ ภาพถ่ายศพที่พบในโอ่งน้ำคาดว่าถูกต้มจนสุกเนื่องจากหนีเหตุไฟไหม้ลงไปในโอ่งน้ำแล้วโอ่งน้ำถูกเผาทำให้น้ำในโอ่งร้อนขึ้นเรื่อยๆ 

ถัดจากห้องจัดแสดงส่วนนี้แล้วภายในพิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์สงกรานต์ นิยมเสน ยังจัดพื้นที่ส่วนหนึ่งให้กับเหตุการณ์สึนามิที่เกิดขึ้นในวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่ทีมแพทย์จากโรงพยาบาลศิริราชได้ยกทีมกันลงไปให้ความช่วยเหลือ ทีมนิติเวชศาสตร์ได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือในการหาหลักฐานต่างๆในการยืนยันบุคคลที่ตายจากเหตุการณ์สึนามิ ทางโรงพยาบาลได้จัดห้องฉายภาพยนตร์เกี่ยวกับเหตุการณ์สึนามิไว้ให้ดูเพื่อเป็นความรู้แก่ผู้เข้าชมด้วย ถึงขั้นตอนการทำงานของทีมแพทย์ศิริราชที่ไปช่วยงานในเวลานั้น การวางขั้นตอน การวางแผนในการทำงานเพื่อให้ตอบรับกับเหตุการณ์และสถานการณ์เหล่านั้น เริ่มจากการดูแลผู้ที่บาดเจ็บทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ บรรดาศพที่ต้องมีการพิสูจน์เอกลักษณ์ของผู้เสียชีวิต ทั้งดูจากเสื้อผ้า ความสูง เส้นผม ลักษณะฟัน จนถึงขั้นตอนการทำงานเพื่อพิสูจน์หาบุคคลได้ เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นได้กลับบ้านอย่างแท้จริง สึนามิได้ทำให้คนไทยได้เห็นความน่ากลัวของธรรมชาติ แต่ก็ทำให้คนไทยได้เห็นน้ำใจของคนมากมายที่หลั่งไหลกันมาอย่างไม่รู้จักจบสิ้น ทั้งแรงกาย แรงใจ กำลังทรัพย์ แม้ว่าเหตุการณ์เหล่านั้นจะผ่านมาหลายปี แต่ก็ยังฝังอยู่ในความทรงจำของชาวไทยและคนทั่วโลกไปอีกนานแสนนาน 

ภายในโรงพยาบาลศิริราชยังมีพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจอีก 5 แห่งได้แก่ พิพิธภัณฑ์การแพทย์ไทย อวย เกตุสิงห์พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน พิพิธภัณฑ์ก่อนประวัติศาสตร์และห้องปฏิบัติการ สุด แสงวิเชียร พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา

เรื่อง: เมธินีย์ ชอุ่มผล ถ่ายภาพ: เสาวลักษณ์ วรายุ 

สำรวจวันที่ 27 ธันวาคม 2550

หมายเหตุ :

ศพของ “ซีอุย” ได้จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์มากว่า 60 ปี  จนในปี 2562 มีผู้รณรงค์เสนอแคมเปญล่ารายชื่อในเว็บไซด์ Change.org ในหัวข้อ “นำร่าง ซีอุย แซ่อึ้ง ออกจากพิพิธภัณฑ์ศิริราช คืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ล้างฉายามนุษย์กินคน”  โดยมองว่าซีอุยตกเป็นเหยื่อความอยุติธรรม และถูกจัดแสดงประจานมานานกว่า 60 ปี  ในที่สุดในปี 2563 ร่างของนายซีอุย แซ่อึ้ง ถูกนำออกจากตู้จัดแสดงที่เคยตั้งไว้ในพิพิธภัณฑ์ และนำใส่โลงศพ เพื่อเคลื่อนย้ายนำไปประกอบพิธีฌาปนกิจที่วัดบางแพรกใต้ จ.นนทบุรี ท่ามกลางตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมราชทัณฑ์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยา บาล ชาวบ้านจากตำบลทับสะแก ที่ยืนยันว่า ซีอุย เปรียบเสมือนญาติ และเป็นส่วนหนึ่งของประวัติ ศาสตร์ชุมชมของทับสะแก

ชื่อผู้แต่ง:
-

สุดระทึก!!! เจอ “ซีอุย” คนกินตับ ตัวจริง ของจริง

“มืดๆค่ำๆอย่าออกไปเล่นนอกบ้าน เดี๋ยวซีอุยมากินตับ” ประโยคนี้เป็นประโยคที่แม่ใช้ขู่ฉันบ่อยๆเมื่อสมัยยังเด็ก ทั้งที่ฉันยังไม่รู้จักเลยว่าซีอุยคือใครแต่ก็กลัวทุกครั้งที่ได้ยิน เมื่อโตขึ้นเรื่องราวของซีอุยค่อยๆ ลบเลือนไป จนฉันได้มาพบกับเขาอีกครั้งใน “พิพิธภัณฑ์ซีอุย” หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า “พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน” โรงพยาบาลศิริราช โดยพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดตั้งขึ้นในสมัยที่ศาสตราจารย์นายแพทย์สงกรานต์ นิยมเสน ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าสาขานิติเวชศาสตร์ เพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมและแสดงในวิชานิติเวชศาสตร์แขนงต่างๆ รวมทั้งคดีที่น่าสนใจบางคดีทางอาญาและทางแพ่ง
ชื่อผู้แต่ง:
-