พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทย


พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทย ริเริ่มโดยพ.ญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ รองอธิบดี กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ที่ต้องการกระตุ้นให้คนไทยหันมาสนใจงานแพทย์แผนไทยและภูมิใจในภูมิปัญญาไทย โดยมีหัวใจสำคัญคือการนำเสนอแก่นแท้ของภูมิปัญญา ปรัชญาการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทยเพื่อให้คนเห็นเรียนรู้เข้าใจเรื่องราวตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และทิศทางในอนาคต อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นอาคารทรงไทย 9 หลัง ออกแบบโดยศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ ประกอบด้วย ห้องที่ 1 หอพระไภษัชคุรุไวทูรย ประภา แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทย ห้องที่ 2 หอบรมครูการแพทย์แผนไทย เพื่อแสดงให้เห็นถึงพิธีไหว้ครู ห้องที่ 3 ห้องวิวัฒนาการการแพทย์แผนไทย ห้องที่ 4 ห้องภูมิปัญญาไทย ด้านแพทย์พื้นบ้าน 4 ภาค ห้องที่ 5 ห้องการนวดไทย แสดงประวัติความเป็นมาของการนวด ห้องที่ 6 ห้องอาหารไทย แสดงวัฒนธรรมการกินตามฤดูกาลและตามธาตุของคนไทยทั้ง 4 ภาค ห้องที่ 7 ห้องยา แสดงถึงหลักประการในการปรุงยา เครื่องยาและยาไทยประเภทต่างๆ ภายนอกอาคารมี "ถ้ำฤๅษีเขามอหรือถ้ำครูแผนไทย" ซึ่งจำลองมาจากวัดโพธิ์และปลูกสมุนไพรที่เป็นยาไว้บนเขาอีกด้วย โดยรอบอาคารแวดล้อมด้วยสวนสมุนไพร บางต้นเป็น "ต้นไม้พูดได้" ที่ผู้สนใจสามารถกดปุ่มเพื่อรับฟังข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรชนิดนั้น ๆ

ที่อยู่:
สถาบันการแพทย์แผนไทย ภายในกระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์:
0-2591-2500, 0-2591-1095
วันและเวลาทำการ:
วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. (กรุณาติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชม)
ค่าเข้าชม:
ค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท/คน เด็ก 15 บาท/คน ชาวต่างประเทศ 150 บาท/คน นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ 10 บาท/คน
อีเมล:
tency@ittm.or.th
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

คิดจะผ่อนคลาย...หย่อนใจ คิดถึงพิพธภัณฑ์ฯแพทย์แผนไทย

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 13/10/2545 หน้า 31

ที่มา: เดลินิวส์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์แพทย์แผนไทย

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 1/26/2545

ที่มา: ไทยรัฐ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เปิดขุมทรัพย์...ภูมิปัญญาไทยท่องพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทย

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 16 ส.ค. 2550;16-08-2007

ที่มา: ผู้จัดการ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 26 ธันวาคม 2556


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทย

อาคารพิพิธภัณฑ์และศูนย์ฝึกอบรมการแพทย์แผนไทยเกิดจากความมุ่งมั่นและความใฝ่ฝันของพ.ญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ รองอธิบดี กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ต้องการกระตุ้นให้คนไทยหันมาสนใจงานแพทย์แผนไทยและภูมิใจในภูมิปัญญาไทย โดยมีหัวใจสำคัญคือการนำเสนอแก่นแท้ของภูมิปัญญา ปรัชญาการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทยเพื่อให้คนเห็นเรียนรู้เข้าใจเรื่องราวตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และทิศทางในอนาคต นอกจากนั้นยังต้องการให้คนที่มาชมพิพิธภัณฑ์ เห็นความสัมพันธ์ของการนำไปใช้ในชีวิตจึงจัดให้มีการสาธิต ฝึกอบรม รวมถึงการรักษา และกรกินอาหารแบบไทย
 
อาคารทรงไทยแบบเครื่องก่อ 9 หลัง ออกแบบโดยศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยประกอบด้วย ห้องที่ 1 หอพระไภษัชคุรุไวทูรย ประภา แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทย หรือที่เรียกว่า "พุทธศาสน์การแพทย์" ห้องที่ 2 หอบรมครูการแพทย์แผนไทย เพื่อแสดงให้เห็นถึงพิธีไหว้ครู ห้องที่ 3ห้องวิวัฒนาการการแพทย์แผนไทย นับจากยุคก่อนสุโขทัยจึนถึงสมัยสุโขทัย อยุธยา สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1จนถึงรัชกาลปัจจุบัน ห้องที่ 4 ห้องภูมิปัญญาไทย ด้านแพทย์พื้นบ้าน 4 ภาค   ห้องที่ 5 ห้องการนวดไทย แสดงประวัติความเป็นมาของการนวด ห้องที่ 6ห้องอาหารไทย แสดงวัฒนธรรมการกินตามฤดูกาลและตามธาตุของคนไทยทั้ง 4 ภาค ห้องที่ 7 ห้องยา แสดงถึงหลักประการในการปรุงยา เครื่องยาและยาไทยประเภทต่างๆ
 
ภายนอกอาคารมี "ถ้ำฤๅษีเขามอหรือถ้ำครูแผนไทย" ซึ่งจำลองมาจากวัดโพธิ์และปลูกสมุนไพรที่เป็นยาไว้บนเขาอีกด้วย โดยรอบอาคารแวดล้อมด้วยสวนสมุนไพร บางต้นเป็น "ต้นไม้พูดได้" ที่ผู้สนใจสามารถกดปุ่มเพื่อรับฟังข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรชนิดนั้น ๆ 
 
ข้อมูลจาก : แปลน รีดเดอร์ส. 100 พิพิธภัณฑ์กรุงเทพฯ-ปริมณฑล: โลกกว้างอยู่ไม่ไกล. กรุงเทพฯ : แปลนพริ้นติ้งแอนด์พับลิงชิ่ง, 2546. หน้า 98.
ชื่อผู้แต่ง:
-

เปิดขุมทรัพย์...ภูมิปัญญาไทยท่องพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทย

ภูมิปัญญาไทยเป็นองค์ความรู้ ที่มีการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ รุ่นปู่ย่า ตายาย ที่ยิ่งนานวันเด็กรุ่นใหม่อาจไม่รู้จัก หรือแม้แต่คนวัยหนุ่มสาวต่างค่อยๆ ลืมเลือน เพราะหากไม่รู้ว่า “หมอชีวกโกมารภัจจ์” เป็นใคร? หรือแม้แต่คุณค่าประโยชน์ของสมุนไพร ที่รู้จักและเห็นจนชินตาอย่างขิง ข่า ตระไคร้ ดีต่อสุขภาพอย่างไร พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทย ขุมทรัพย์ภูมิปัญญา อาจช่วยไขคำตอบเหล่านี้
ชื่อผู้แต่ง:
-