สวนนกชัยนาท


สวนนกชัยนาท สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2526 โดยมาจากแนวคิดของผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้น ด้วยความคาดหวังพัฒนาจังหวัดชัยนาทให้เกิดแหล่งท่องเที่ยว เพื่อจูงใจนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าสู่จังหวัดและนำความเจริญทางด้านเศรษฐกิจกระจายลงสู่ท้องถิ่น ปัจจุบันสวนนกชัยนาทถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่สร้างชื่อให้จังหวัดด้านการอนุรักษ์พันธุ์นก อีกทั้งจัดแสดงหุ่นฟางนกเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย บริหารจัดการโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท บนพื้นที่รวม 248 ไร่ ของสวนนกชัยนาท มีแหล่งเรียนรู้สำคัญได้แก่ กรงนกใหญ่ที่สุดในเอเชีย วิหารหลวงปู่ศุข อาคารแสดงพันธุ์ปลาลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี หน้าผาน้ำตกจำลองเพื่อป้องกันดินพังทลาย อาคารไทยบริเวณด้านหน้าสวนนกชัยนาทแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นจังหวัดชัยนาท(ศูนย์ OTOP)และศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดชัยนาท

ที่อยู่:
สวนนกชัยนาท ม.4 ถ.พหลโยธิน ต.เขาท่าพระ อ.เมือง จ.ชัยนาท 17000
โทรศัพท์:
0-5647-6624
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน
ค่าเข้าชม:
ชาวไทย ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 15 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2526
ของเด่น:
นกพันธุ์ต่างๆ,หุ่นฟางนก, ปลาน้ำจืด
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

สวนนกชัยนาท

สวนนกชัยนาท สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2526  โดยมาจากแนวคิดของ นายกุศล ศานติธรรม อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท ดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2525-2527  ในพื้นที่ 50 ไร่ ต่อมา ดร.ไพรัตน์ เดชะรินทร์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท ดำรงตำแหน่งเมื่อปี 2527-2530 ได้เกิดแนวคิดประดิษฐ์หุ่นฟางนก ด้วยความคาดหวังพัฒนาจังหวัดชัยนาทให้เกิดแหล่งท่องเที่ยว เพื่อจูงใจนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าสู่จังหวัดและนำความเจริญทางด้านเศรษฐกิจกระจายลงสู่ท้องถิ่น ปัจจุบันสวนนกชัยนาทถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่สร้างชื่อให้จังหวัดด้านการอนุรักษ์พันธุ์นก อีกทั้งจัดแสดงหุ่นฟางนกเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย

บริหารจัดการโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท บนพื้นที่รวม 248  ไร่ ของสวนนกชัยนาท มีแหล่งเรียนรู้สำคัญได้แก่ กรงนกใหญ่ที่สุดในเอเชีย วิหารหลวงปู่ศุข อาคารแสดงพันธุ์ปลาลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี หน้าผาน้ำตกจำลองเพื่อป้องกันดินพังทลาย อาคารไทยบริเวณด้านหน้าสวนนกชัยนาทแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นจังหวัดชัยนาท(ศูนย์ OTOP)และศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดชัยนาท  รายละเอียดของแหล่งเรียนรู้ภายในมีดังนี้

 

·       อาคารศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยว เป็นอาคารให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว มีนิทรรศการรวบรวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว 8 อำเภอ ของจังหวัดชัยนาท นักท่องเที่ยวสามารถชมวีดีทัศน์บนเรือเพื่อบรรยากาศสมจริง

·       ศูนย์รวมนกนานาชาติ สถานที่อนุรักษ์พันธุ์และจัดแสดงพันธุ์นกถึง 48 ชนิด มีทั้งนกชนิดที่มีในประเทศและนกที่นำมาจากต่างประเทศ รวมทั้งนกเงือกเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดซึ่งมีอยู่หลายตัว

·       อาคารแสดงพันธุ์ปลาลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างเป็นอุโมงค์แก้วรวบรวมปลาน้ำจืดพันธุ์ต่างๆ มากกว่า 90 ชนิด เช่น ปลาหายาก ปลาเศรษฐกิจ ปลาอันตราย ปลาน้ำจืดสายพันธุ์ยักษ์ เป็นต้น

·       ศูนย์วิทยาศาสตร์ท้องฟ้าจำลอง สวนนกชัยนาท จัดแสดงนิทรรศการเรียนรู้ด้านภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ และมีห้องฉายดาวไว้ให้บริการ บริเวณด้านหน้าตัวอาคารยังมีนาฬิกาแดดแบบอีควอเทอเรียล สามารถอ่านค่าเวลาจากเงาที่เกิดจากแสงอาทิตย์ตั้งให้เรียนรู้

·       พิพิธภัณฑ์ไข่นก (Egg Museum) เป็นอาคารที่รวบรวมไข่นกสายพันธุ์ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นศูนย์กลางเรียนรู้ด้านวงจรชีวิตขอนกและสัตว์ปีกต่างๆ

ข้อมูลจาก:

https://www.facebook.com/chainatbirdpark

https://www.paiduaykan.com/

ชื่อผู้แต่ง:
ปณิตา สระวาสี

อาคารแสดงพันธุ์ปลาลุ่มน้ำเจ้าพระยา สวนนกชัยนาท

ผู้ริเริ่มให้สร้างอาคารแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดขึ้นภายในสวนนกชัยนาท คือ นายบุญธง สงฆ์ประชา ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของจังหวัดชัยนาทนานถึง 5 สมัย และทำงานในสภาจังหวัดของชัยนาทอีก 5 สมัยนั้น โดยได้ตระหนักว่า จำนวนสัตว์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่เคยสมบูรณ์นั้น ปัจจุบันทั้งจำนวนและความหลากหลายของพันธุ์ปลาได้ลดน้อยลงมาก เนื่องจากการบริโภคที่มากขึ้น และมลภาวะที่มีอยู่ในแหล่งน้ำ จึงเห็นว่าควรที่จะอนุรักษ์และจัดแสดงพันธุ์ปลาหายากและเพื่อเป็นแหล่งศึกษาของเยาวชนและผู้ที่สนใจ นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนให้มีการทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพันธุ์ปลาน้ำจืดในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้วย

ขณะที่ได้เข้าไปทำการสำรวจอาคารแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดนั้น กำลังอยู่ในช่วงปรับปรุงตัวอาคารใหม่เพื่อรับเสด็จทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ จึงค่อนข้างสับสนวุ่นวายเล็กน้อย แต่ก็ถือว่าแล้วเสร็จไปประมาณร้อยละ 90 แล้ว ตัวอาคารอยู่ไม่ไกลจากทางเข้าสวนนกชัยนาทนักประมาณไม่เกิน 100 เมตร เท่านั้น การจัดแสดงภายในแบ่งออกเป็นโซนต่างๆ ดังนี้

โซนที่ 1 คือโซนติดต่อสอบถาม อยู่ด้านหน้าทางเข้าอาคารจัดแสดง คอยให้บริการคำแนะนำและหากว่ามีผู้ต้องการการนำชมก็จะจัดเจ้าหน้าที่นำชมให้ 

โซนที่ 2 ซึ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกันนั้นก็จะมีการจำลองบรรยากาศของบ้านพักริมแม่น้ำ มีเครื่องมือการประมงจัดแสดงอยู่ และในบอร์ดถัดไปในห้องเดียวกันก็แสดงประเภทของเรือที่ใช้กันอยู่ในลุ่มเจ้าพระยาด้วย

โซนที่ 3 จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเขื่อนเจ้าพระยากับในหลวง เขื่อนเจ้าพระยา หรือเขื่อนชัยนาท เป็นเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย สามารถรองรับและแจกจ่ายน้ำให้กับพื้นที่ใต้เขื่อนเพื่อการอุปโภคบริโภค และทำการเกษตร เขื่อนจะส่งน้ำไปในพื้นที่เพาะปลูกภาคกลางเข้าคลองส่งน้ำสายใหญ่รวม 5 สาย คือ แม่น้ำน้อย แม่น้ำสุพรรณบุรี (ท่าจีน) คลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง คลองชัยนาท-ป่าสัก และคลองชัยนาท-อยุธยา และยังใช้ผลิตไฟฟ้าสำหรับจ่ายในจังหวัดชัยนาทด้วย ซึ่งการสร้างเขื่อนเจ้าพระยาขึ้นนั้นเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน 

โซนที่ 4 จะจำลองภาพของเขื่อนเจ้าพระยาพร้อมทั้งสะพานที่อยู่บนสันเขื่อนๆ เริ่มต้นสร้างจนสำเร็จได้ ตั้งแต่ พ.ศ.2491 – 2499 และพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เสด็จมาทำพิธีเปิดเขื่อนอย่างเป็นทางการ จากนั้นเขื่อนก็ได้ทำงานรับใช้ประชาชนในลุ่มน้ำภาคกลางมากว่า 50 ปีแล้ว มีการใช้วัตถุจริงเช่น น้ำเพื่อแสดงให้เห็นขั้นตอนของการปล่อยน้ำออกจากเขื่อน 

โซนที่ 5 ถัดมาเป็น โถงเจ้าพระยาบาดาล โดยจำลองให้เหมือนกับเรากำลังเดินลงไปสู่โลกใต้บาดาลในท้องน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยนำเอาปลาจริงๆมาสตาร์ฟ และจัดแสดงเป็นฝูง ซึ่งการสตาร์ฟนั้น เจ้าหน้าที่ของสวนนกชัยนาทเป็นคนทำเองแต่ได้ความช่วยเหลือมาจากหลายส่วนงานด้วยกัน บริเวณนี้จะมีจอภาพฉายกราฟฟิกปลาว่ายน้ำ ให้เด็กได้ลองเอามือไปลูบหรือไปไล่ฝูงปลาเหล่านี้เล่นได้ ถือว่าเป็นโซนที่เด็กๆ ชอบมากโซนหนึ่งที่ดียว 

โซนที่ 6 จัดแสดงพันธุ์ปลาหายากและพันธุ์ปลาที่ปรากฏในลุ่มน้ำเจ้าพระยา จัดแสดงในรูปแบบแยกตู้ตามพันธุ์และประเภทของปลาต่างๆ ปลาบางชนิด แผนกวิจัยสวนนกชัยนาท ได้มีการเพาะเลี้ยงเองด้วย เพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ปลาเอาไว้

โซนที่ 7 เป็นโซนบอร์ดนิทรรศการเรื่องราวมัจฉา นำเสนอเรื่องราวของปลาและสัตว์ใต้น้ำ โดยมีการนำเสนอในรูปแบบโม เดล หรือปลาดองในน้ำยาเคมี จากแสดงลักษณะภายในของปลา รวมถึงเต่าเพื่อนในท้องน้ำของปลาอีกด้วย

โซนสุดท้ายคือ โซนที่ 8 อุโมงค์มัจฉา ทำเป็นเหมือนอ่างน้ำใหญ่ๆ มีปลามากมายหลายชนิดแหวกว่ายอยู่อย่างอิสระ และทำอุโมงค์ให้เหมือนเรากำลังเดินเข้าไปในเขตใต้น้ำอีกครั้ง 

ส่วนสุดท้ายคือส่วนของการขายของที่ระลึก แต่ในวันที่ไปเยี่ยมชมนั้น กำลังอยู่ในช่วงของการปรับปรุงพื้นที่ภายในของอาคาร

ผู้เข้าชมส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มนักเรียนนักศึกษา แต่ถ้าเป็นช่วงวันหยุดก็จะมีนักท่องเที่ยวมาเป็นแบบครอบครัวจำนวนมาก ระบบการจัดการต่างๆ ของอาคารจัดแสดง เจ้าหน้าที่ที่ดูแลรับผิดชอบจะมาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด และมีเจ้าหน้าที่ของสวนนกชัยนาทดูแลเพิ่มเติม

สำรวจวันที่ 10 มิถุนายน 2553

ชื่อผู้แต่ง:
เมธินีย์ ชอุ่มผล