พิพิธภัณฑ์การศึกษาไทย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย


โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยถือกำเนิดมาพร้อมกับการพัฒนาระบบการศึกษาของสยาม ในปีพ.ศ.2425 การสร้างอาคารเรียนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2454 เป็นอาคารทรงยุโรป 2 ชั้น ขนานไปกับถนนตรีเพชร หลังคามุงด้วยกระเบื้องลอนสีอิฐ ภายในกั้นเป็นห้อง ๆ  แบ่งออกเป็น 14 ห้องจัดแสดงโดย ตึกแรกของของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย คือ “ตึกยาว” หรือ “ตึกสวนกุหลาบ” ที่เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ฯในปัจจุบัน วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้น เพื่อเก็บของเก่าที่มีคุณค่าภายในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยไว้ และใช้ในการเรียนการสอนในโรงเรียน

ที่อยู่:
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 88 ถ.ตรีเพชร เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์:
0-2623-9488, 0-2222-4196, 0-2221-6701
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-ศุกร์ 8.30-16.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
wstn09@hotmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2545
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

เปิดตึกยาวเป็นพิพิธภัณฑ์โรงเรียนสวนกุหลาบ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: ปีที่23ฉบับที่ 6 เม.ย. 2545

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ ร.ร. "สวนกุหลาบ"

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 3/2/2545

ที่มา: ไทยรัฐ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

หนังสือที่ระลึก "ฉลองเกียรติ เฉลิมขวัญ โรงเรียนหลวง...120 ปี สวนกุหลาบวิทยาลัย

ชื่อผู้แต่ง: คณะกรรมการจัดทำหนังสือ และของที่ระลึก การจัดงานสวนกุหลาบรำลึก 120 ปี | ปีที่พิมพ์: 2545

ที่มา: กรุงเทพฯ: โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

8 นายกรัฐมนตรี เกียรติยศ เกียรติภูมิ ชาวสวนกุหลาบฯ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 2550

ที่มา: กรุงเทพฯ: โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เอกสารประกอบการอบรม โครงการ "ยุวมัคคุเทศก์นำชมพิพิธภัณฑ์และเสริมสร้างศักยภาพความเป็นผู้นำโดยกระบวนการ AIC"

ชื่อผู้แต่ง: พิพิธภัณฑ์การศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย | ปีที่พิมพ์: 2550

ที่มา: กรุงเทพฯ: โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

งานประกาศเกียรติคุณ "ศิษย์เก่าเกียรติยศ-ศิษย์เก่าดีเด่น"

ชื่อผู้แต่ง: คณะกรรมการจัดทำหนังสือ และของที่ระลึก การจัดงานสวนกุหลาบรำลึก 120 ปี | ปีที่พิมพ์: 2545

ที่มา: กรุงเทพฯ: โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ตึกยาวสวนกุหลาบฯ พิพิธภัณฑ์การศึกษาแห่งชาติ

ชื่อผู้แต่ง: คัคนานต์ ดลประสิทธิ์ | ปีที่พิมพ์: 09/10/2551

ที่มา: ข่าวสด

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ตึกยาวร้อยปี คนสร้างตึก ตึกสร้างคน คนสร้างชาติ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 7 มกราคม 2554

ที่มา: ผู้จัดการ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

100 ปี “ตึกยาว” สวนกุหลาบ ตึกสร้างคน คนสร้างชาติ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 13 มิ.ย. 2554;13-06-2011

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 04 ธันวาคม 2558


ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์การศึกษาไทย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยถือกำเนิดมาพร้อมกับการพัฒนาระบบการศึกษาของสยาม ในปีพ.ศ.2425 เพื่อการสร้างการศึกษาให้เป็นระบบมากขึ้น มีการสอบวัดความรู้ ในหลวงรัชกาลที่ 5 จึงทรงตั้งโรงเรียนขึ้น ณ พระตำหนักสวนกุหลาบในพระบรมมหาราชวัง นักเรียนรุ่นแรกที่เรียนจบจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมีจำนวน 3 คน ซึ่งภายในพิพิธภัณฑ์การศึกษาไทยนั้นได้บรรจุประวัติศาสตร์ความเป็นมาของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเอาไว้ตั้งแต่เริ่มแรก สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฯลฯ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบได้เข้ามาช่วยในการดูแลระบบการศึกษาของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย  ต่อมาในยุคเจ้าพระยาพระเสด็จซึ่งเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนนั้น ท่านเล็งเห็นว่าหลังจากที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบต้องเลิกไปเพราะต้องนำที่ดินในพระบรมมหาราชวัง ไปทำกิจการอย่างอื่น นักเรียนที่เรียนจบไปจากโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบก็กระจัดกระจายไปหมด จึงได้ทูลแก่พระพุทธเจ้าหลวงฯ ว่าจะขอมาเช่าที่ดินสร้างโรงเรียนใหม่ ณ บริเวณที่ดินของวัดเลียบ (วัดราชบูรณราชวรวิหาร) จึงทำให้โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบได้ย้ายมาอยู่ ณ ที่นี้จนถึงปัจจุบัน การสร้างอาคารเรียนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2454 โดย ตึกแรกของของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย คือ “ตึกยาว” หรือ “ตึกสวนกุหลาบ” ที่เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ฯในปัจจุบัน 

ปัจจุบันความยาวทั้งหมดของตึกยาว คือ 198.35 เมตร แต่เมื่อแรกสร้างนั้นจากปากคำของผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์  ตึกยาวนี้มีความยาวกว่านี้มาก แต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตึกส่วนแรกที่ยาวไปถึงร้านเพชรข้างหน้าถูกระเบิดเสียหายจึงเหลือความยาวอยู่เพียงเท่านี้ 

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นเพื่อเก็บของเก่าที่มีคุณค่าภายในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยไว้ และเพื่อแสดงให้นักเรียนรุ่นใหม่ๆ ที่เข้ามาได้รู้ว่านักเรียนรุ่นพี่ๆที่เรียนมาก่อนได้ทำความดี ทำชื่อเสียงอย่างไรให้กับโรงเรียนอย่างไรบ้าง 

ตึกยาวแห่งนี้อยู่คู่กับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมานานรวม 100 ปี ในช่วงปี พ.ศ.2525 -2535 ผู้อำนวยโรงเรียนในแต่ละช่วงเวลาได้ทำการบูรณะซ่อมแซมตึกยาวเรื่อยมา ต่อมากรมศิลปากรขึ้นทะเบียนตึกยาวเป็นโบราณสถาน  ในวาระที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมีอายุครบรอบ 120 ปี ในปีพ.ศ.2545 “พิพิธภัณฑ์การศึกษาแห่งชาติ: พิพิธภัณฑ์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย” จึงถือกำเนิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม 2545 โดยใช้ตึกยาวเป็นที่จัดแสดง

การจัดแสดงทั้งหมดของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดแบ่งห้องจัดแสดงออกเป็นทั้งหมด 14 ห้อง ดังนี้ 
1)  สถาบันกษัตริย์กับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย  
2)  จาก “วัง” สู่ “วัด” การกล่าวถึงความเป็นมาของโรงเรียนเมื่อต้องยุบโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ในพระบรมมหาราชวังไปแล้วแตกกระสานซ่านเซนไปไหนบ้าง จนกลายมาเป็นโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยในปัจจุบัน      
3)  ห้องบูรพคณาจารย์สวนกุหลาบวิทยาลัย จัดแสดงภาพของเหล่าอาจารย์ตั้งแต่ยุคก่อตั้งโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยจนถึงปัจจุบันที่ช่วยประสิทธิ์ประสาทวิชาให้แก่นักเรียนโรงเรียนนี้
4)  ภูมิปัญญาครูสวนกุหลาบ บอกถึงความเก่งกาจของครูอาจารย์ของโรงเรียนสวนกุหลาบที่ทำให้กับโรงเรียนสวนกุหลาบเป็นคนที่เก่งและดีของสังคม       
5)  หอเกียรติยศและเกียรติภูมิชาวสวนของโรงเรียน ศิษย์เก่าที่ดีและมีชื่อเสียงของโรงเรียน               
6)  เกียรติยศสวนกุหลาบ คือพลเอกเปรม ติณสานนท์ ที่ได้เป็นทั้งนายกรัฐมนตรี, ผบ.ทบ., ผบ.สูงสุด, องคมนตรีและรัฐบุรุษของไทย 
7)  เกียรติภูมิชาวสวนกุหลาบวิทยาลัย  ที่มีนักเรียนที่เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยทั้งหมด 8 คนตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย  
8)  ห้องจาริกานุสรณ์ นำเอาป้ายไม้ จารึกชื่อของนักเรียนผู้ที่ทำคุณงามความดี  เอากระดานที่ผู้บัญชาการโรงเรียนคือ นอร์แมน ซัตตั้น เป็นผู้ริเริ่มนำมาใช้ ได้ทำขึ้นในช่วงต่างๆ มาประดับไว้ รวมทั้งโล่ห์รางวัลต่างๆ ที่ได้มา จนในปัจจุบันไม่สามารถจารึกลงได้หมดสำหรับรายชื่อของศิษย์เก่าโรงเรียนฯ
9)  ห้องกิจกรรมนำเกียรติภูมิ (เข้าสู่ยุคปัจจุบัน) การที่โรงเรียนมีกิจกรรมและเป็นศูนย์กลางของด้านวิชาการและวัฒนธรรมหลายๆอย่าง ในประเทศไทย  
10)  กิจกรรมล่อหลอมความเป็นสวนกุหลาบฯ กิจกรรมทุกกิจกรรมภายในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ไม่ว่าจะด้านดนตรี กีฬา วิชาการ ทุกงานทุกกิจกรรมทำให้เด็กสวนกุหลาบรู้จักการบูรณาการเอาวิชาความรู้กับกิจกรรมที่ทำทุกอย่างเข้ามาไว้ในตัว    
11)  ห้องบูรณาการ วิชาการ พลานามัย ศิลปะ ดนตรี สุนทรียศาสตร์  การส่งเสริมวิชาการ กิจกรรมต่างๆ ที่นักเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยได้ปฏิบัติกัน 
12)  ห้องสวนกุหลาบฯ ในปัจจุบัน ผลงานที่รวบรวมเอาผลงานคุณภาพของโรงเรียน ถ้วยรางวัลทั้งหลายที่ได้มาในปัจจุบัน 
13)  ห้องสัญลักษณ์ชาวสวนกุหลาบวิทยาลัย 
14)  ห้องเอกสารโบราณและจดหมายเหตุสวนกุหลาบวิทยาลัย 
 
ผู้เข้าชมที่สำคัญของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือ นักเรียนของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนั่นเอง ทุกๆปีนักเรียนมัธยมปีที่ 1 จะได้เข้ามาเรียนรู้วิถีของนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ทั้งประวัติความเป็นมา ความสำคัญของสิ่งต่างๆ ความภาคภูมิใจที่เกิดขึ้น ปีหนึ่งหลายร้อยคน การสนับสนุนของบรรดาศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงและรักความเป็นนักเรียนสวนกุหลาบยังมีอยู่มิได้ขาด นอกจากนี้โรงเรียนยังมีกลุ่มยุวมัคคุเทศก์ ซึ่งจะผลัดเปลี่ยนกันมาทำหน้าที่นำชมพิพิธภัณฑ์อยู่ตลอด


ข้อมูลจาก: สำรวจภาคสนามวันที่ 28 ธันวาคม 2550
ชื่อผู้แต่ง:
-

100 ปี “ตึกยาว” สวนกุหลาบ ตึกสร้างคน คนสร้างชาติ

“ตึกยาว” อาคารเรียนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย “โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย” หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่า(โรงเรียน)“สวนกุหลาบ” ถือเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของเมืองไทย ก่อตั้งในราวปี 2425 นับถึงปัจจุบันมีอายุถึง 129 ปีแล้ว โรงเรียนแห่งนี้นอกจากจะมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน สร้างบุคลากรสำคัญๆให้กับประเทศในหลากหลายวงการแล้ว สวนกุหลาบยังมีสิ่งก่อสร้างในโรงเรียนที่ถือเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติอีกด้วย นั่นก็คือ “อาคารสวนกุหลาบ” หรือ “ตึกยาว”
ชื่อผู้แต่ง:
-

ตึกยาวร้อยปี คนสร้างตึก ตึกสร้างคน คนสร้างชาติ

“เห็นเรือนเหลืองยาว ช่างงามอะคร้าว เด่นดู เหมือนดาว พราวสุกใส" “เรือนเหลืองยาว” ในท่อนสุดท้ายของเพลงฟ้า-ชมพู คุ่ใจ หนึ่งในเพลงประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ก็คือ “ ตึกยาว” หรือ อาคารสวนกุหลาบ ซึ่งทอดยาวไปตามแนวถนนตรีเพชร จากโรงเรียนเพาะช่าง ไปจรดเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ความยาวเกือบ 200 เมตร
ชื่อผู้แต่ง:
-

ตึกยาวสวนกุหลาบ ตึกเรียนยาวที่สุดในไทย "พิพิธภัณฑ์การศึกษา" แหล่งเรียนรู้ทรงคุณค่า

ใครรู้บ้างว่า...ตึกเรียนตึกไหนยาวที่สุดในประเทศไทย? ใครไม่รู้ไม่เป็นไร แต่ชาวสวนกุหลาบส่วนใหญ่ต่างรู้กันดีว่า"อาคารสวนกุหลาบ"หรือที่ชาวชมพู-ฟ้าเรียกสั้นๆว่า "ตึกยาว" ที่มีความกว้าง 11.35 เมตร และมีความยาวถึง 198.35 เมตร คืออาคารเรียนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ตึกยาวนี้เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2453 สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นสถาปัตยกรรมยุโรป แบบนีโอคลาสสิค ตัวตึกทอดยาวตามแนวถนนตรีเพชร ผนังอาคารด้านติดถนนชั้นล่างเป็นแนวหน้าต่างโค้ง ส่วนชั้นบนถอยร่นผนังเข้าไปอยู่หลังแนวซุ้มโค้งที่เป็นทางเดิน ช่องทางเข้าสู่โรงเรียนเป็นหลังคาจั่ว ตกแต่งด้วยปัลลาเดียนโมทิฟตามแบบของวิลล่าที่ออกแบบโดยปัลลาดิโอ ผนังด้านในโรงเรียนเป็นแนวทางเดินซุ้มโค้งยาวตลอดทั้งสองชั้น
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-