โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 09 มกราคม 2556
โดย: -
วันที่: 09 มกราคม 2556
โดย: -
วันที่: 09 มกราคม 2556
ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 17/02/2552
ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 28 มี.ค. 2557;28-03-2014
ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 01 เมษายน 2557
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย กรุงเทพฯ
พิพิธภัณฑ์เปลือกหอยกรุงเทพฯ ถนนสีลม เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ให้ทั้งความเพลิดเพลินและความรู้ แต่ละวันมีนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและชาวต่างชาติแวะเวียนกันเข้ามา ด้วยว่าที่นี่เที่ยวชมกันได้ทั้งครอบครัว พิพิธภัณฑ์เปลือกหอยกรุงเทพฯ เกิดขึ้นจากการเป็นนักสะสมเปลือกหอยต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยคุณสมนึก ปัทมคันธิน คุณพ่อของคุณสมหวัง ปัทมคันธิน (คุณจอม) แฟนพันธุ์แท้เปลือกหอยสองสมัย และคุณอรพิน ศิริรัตน์(คุณแดง) เจ้าของบริษัทโกลด์สวิสสถานที่จัดแสดงเป็นอาคาร 3 ชั้น ด้านหน้ามีมุมจำหน่ายของที่ระลึกทำจากเปลือกหอย คุณภาสุรี นาคนคร ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ เป็นผู้บรรยายและนำชม ทันทีที่มองเข้าไปในส่วนจัดแสดง ความใหญ่โตของเปลือกหอยสะดุดตามาเป็นอันดับแรก อันที่ใหญ่ที่สุดและแยกเดี่ยวไว้คือ หอยมือเสือยักษ์ ที่นี่มีการจัดแสดงเปลือกหอยเป็นหมื่นชิ้น มากกว่า 650 ชนิด การจัดแสดงเปลือกหอยของที่นี่ ผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดการดำเนินชีวิตในช่วงที่หอยวงศ์ต่างๆยังมีชีวิตอยู่ในทะเลได้จากบอร์ดที่ติดกับฝาผนังประกอบกันไป เปลือกหอยที่นี่ส่วนใหญ่ได้มาจากต่างประเทศแถบฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บางส่วนมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันระหว่างนักสะสม
คุณภาสุรีเริ่มนำชมตั้งแต่ชั้นแรก เริ่มจากหอยมือเสือ หอยมือแมว หอยจุกพราหมณ์หรือหอยสังข์ทะนาน หอยสังข์บิด หอยสังข์แตร หอยสังข์กบ หอยมะเฟือง หอยโข่งทะเล หอยรังนก หอยตีนช้าง หอยกระต่าย ชั้นนี้มีหอยที่น่าสนใจหลายตัว อย่างหอยมะเฟือง ดูสมชื่อภาษาไทย ลายของเปลือกหอยดูสวยงาม หอยชนิดเดียวกันนี้ฝรั่งมองว่าเหมือนพิณโบราณ (harp) ดูเรื่องราวก็น่าสนใจ หอยมะเฟืองเป็นสัตว์ล่าเนื้อ ได้มีการพบว่าปู box crab จู่โจมหอยมะเฟืองเพื่อกินเป็นอาหาร หอยมะเฟืองหนีผู้ล่าด้วยการสลัดเนื้อส่วนท้ายของเท้าทิ้ง ขณะที่ปูสาละวนกินเนื้อส่วนนั้น หอยมะเฟืองก็ตีโอบไปด้านหลังปูแล้วอัดทรายกับเมือกเหนียวที่ขับออกมาล็อคตัวปูไว้แล้วดูดกินเนื้อนุ่มของปู กลับกลายเป็นว่าปูกลายมาเป็นเหยื่อเสียเอง
ตรงกลางห้องที่เป็นก้อนๆ ค่อนข้างกลมมีสีสันสวยงามนั่นคือ เม่นทะเล มีเม่นม่วง เม่นบอล เม่นระเบิดหนามใหญ่จากภูเก็ต เม่นยักษ์อังกฤษได้จากประเทศแคนาดา คุณภาสุรีบอกว่าการจัดแสดงเม่นทะเลเพื่อให้เห็นว่า เม่นทะเล ไม่ใช่หอย (เม่นทะเลอยู่ในไฟลัม Echinodermata กลุ่มเดียวกับดาวทะเล ส่วนหอยอยู่ในไฟลัม Mollusca กลุ่มเดียวกับปลาหมึก) การที่เม่นทะเลดูไม่มีหนามแหลมยาว เป็นเพราะว่าเมื่อตัวแห้งหนามจะหลุดออกหมด แล้วเม่นทะเลนี้เองที่เป็นอาหารของหอยตีนช้าง หอยกระต่าย
ถัดขึ้นมาชั้นสอง เราจะได้รู้จักหอยสังข์กันมากขึ้น หลังจากเริ่มได้เห็นตัวจากชั้นแรกมาบ้างแล้ว ที่นี่เราจะได้รู้จักหอยสังข์ต่างขนาด ต่างสี สังข์มงคลที่นิยมใช้ในพิธีกรรมของพราหมณ์ มีที่มาจากการที่ดินแดนสุวรรณภูมิแต่โบราณรับเอาวัฒนธรรมความเชื่อและจารีตปฏิบัติมาจากชมพูทวีป(อินเดียในปัจจุบัน) โดยหอยสังข์นั้นเปรียบเสมือนตัวแทนแห่งมหาเทพในตำนานปรัมปราฝ่ายฮินดู (ต่อมาพุทธก็รับมาปรับใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา) หอยสังข์ที่พบได้ยากที่สุดคือ สังข์สยามหรือสังข์สุวรรณภูมิ รูปทรงเป็นเกลียวยอดเวียนขวา พบมากทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย
จุดเด่นของการจัดแสดงชั้นสองอีกอย่างหนึ่งคือ เปลือกหอยสีสันสวยงามพวกหอยเชลล์ มีทั้งสีแดง ชมพู เหลือง ส้ม ขาวอมชมพู ขาวอมเหลือง เปลือกหอยที่คนชอบกันมากคือ หอยหัวใจหรือหอยแครงหัวใจ หอยสองฝาที่พอนำฝามาประกบกันแล้วกลายเป็นรูปหัวใจสีหวานหลากสี ที่น่าสนใจยังมีหอยงวงช้าง หอยปิ่นขาว หอยปิ่นปักผม หอยแต่งตัว หอยพระอาทิตย์ หอยเพรียงเจาะหินยักษ์ หอยเป๋าฮื้อในกลุ่มหอยดึกดำบรรพ์ ฟอสซิลหอยขนาดใหญ่อายุ 180 ล้านปี ค้นพบจากการสร้างถนนในประเทศเยอรมัน
เมื่อขึ้นมายังชั้นสาม เราได้พบว่าหอยน้ำจืดก็มีความน่าสนใจ คุณภาสุรีบอกว่า คุณพ่อของคุณจอมได้เริ่มศึกษาหอยน้ำจืดเป็นกลุ่มแรก ในแม่น้ำมีหอยน้ำจืดหลายชนิดเช่น หอยกล้วย หอยเรือบิน หอยเจดีย์หนามน้ำจืด หอยขมหนาม หอยกาบ เป็นต้น โดยเฉพาะหอยกาบน้ำจืด หอยสองฝาชนิดนี้สามารถให้มุกน้ำจืดที่มีความสวยงาม
เปลือกหอยในชั้นนี้ล้วนน่าสนใจไม่แพ้กัน อย่างหอยเต้าปูนหลากสีลวดลายสวยงาม รูปร่างคล้ายกรวยไอศกรีม หอยชนิดนี้มีเข็มพิษที่อันตรายถึงชีวิต ภาษาอังกฤษเรียก โคนเชลล์ (cone shell) ปกติอยู่บริเวณน้ำลึก หรือจะเป็นหอยชักตีนที่มีรดชาดอร่อยถูกปาก หอยชักตีนจะมีส่วนหางเอาไว้ดีด เนื่องจากอยู่ตามเลนดินโคลนตามป่าโกงกาง
ส่วนที่มีรูปร่างสวยงามน่าสนใจ ได้แก่ หอยสังข์หวีหรือหอยก้างปลา หอยจักรนารายณ์ หอยปีกนางฟ้า หอยแมงป่อง โดยเฉพาะหอยสังข์หวี คุณภาสุรีบอกว่าเด็กๆ รู้จักหอยชนิดนี้จากการดูหนังการ์ตูนเรื่องลิตเติ้ลเมอเมด หอยที่นางเงือกใช้แปรงผมคือหอยชนิดนี้ ปัจจุบันหายากเนื่องจากอยู่ในทะเลลึก ส่วนที่เป็นหอยขนาดเล็กเมื่อจับมาเรียงกันสีสันสวยงามคือหอยลูกกวาดคิวบาหรือหอยทากโพลีมิต้า หอยชนิดนี้ชนพื้นเมืองในเกาะคิวบาใช้ทำสร้อยคอเป็นเครื่องประดับ แล้วยังมีหอยเม็ดขนุน มีเนื้อเท้าที่กว้างใช้รัดเหยื่อ นอกจากนี้ยังมีหอยนกขมิ้น หอยลุ หอยน้ำพริก หอยทากต้นไม้ฟลอริด้า หอยทากยักษ์แอฟริกันและอเมริกาใต้ เป็นต้น
ส่วยหอยเบี้ยนั้นได้เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทย ได้มีการใช้หอยเบี้ยแทนเงินในสมัยสุโขทัย จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2405 ได้มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ราคาต่ำกว่าหนึ่งเฟื้องลงมาใช้แทนหอยเบี้ย เรียกว่า กะแปะอัฐ และกะแปะโสฬส แต่เบี้ยหอยก็ยังคงใช้ต่อมาอีกระยะหนึ่ง สำหรับสิ่งของที่มีราคาต่ำกว่าห้าสิบเบี้ยลงมา จนกระทั่งค่าครองชีพสูงขึ้น ราคาสินค้าต่ำกว่าหนึ่งโสฬสมีน้อยลง เบี้ยหอยจึงเลิกใช้
อีกส่วนหนึ่งที่แยกจัดแสดงไว้เป็นนิทรรศการหมุนเวียน ตรงนี้จัดแสดงหอยนมสาวน้ำลึก ที่มีริ้วลายสวยงามเป็นเส้นโค้งต่อเนื่องกันในแต่ละชั้น
ในการให้แสงไฟกับเปลือกหอยได้สร้างปัญหาให้กับหอยที่มีสีสัน ซึ่งจะทำให้สีซีดลงเมื่อจัดแสดงไปนานๆ ทางพิพิธภัณฑ์ได้พยายามไม่ใช้ไฟส่องสว่างมาก ทันทีที่ไม่มีผู้เข้าชมจะปิดไฟทันที ส่วนหอยตัวไหนที่ไม่ค่อยสวยแล้วจะมีการเปลี่ยนออกไป บางส่วนเก็บไว้ในคลังของคุณจอม บางส่วนนำไปทำของที่ระลึกและนำมาให้นักเรียนได้จับสัมผัสหรือเป็นรางวัล
การที่หอยจะมีสีใดนั้น คุณภาสุรีอธิบายว่า เกิดมาจากสิ่งที่เขากินเข้าไปและสีของสิ่งแวดล้อมอย่างปะการังหรือดอกไม้ทะเล เพราะเขาจะต้องพรางตัวเพื่อหลบหลีกศตรูและหาเหยื่อ
พิพิธภัณฑ์หอยกรุงเทพฯ เคยได้ประสานและร่วมงานกับหลายหน่วยงาน อาทิ องค์การวิทยาศาสตร์ ศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SPAFA) ในกรณีลูกค้าอยากได้ข้อมูลว่าหอยที่เขาสะสมหรือลูกปัดเปลือกหอยที่เขามีมาจากที่ไหน ทางพิพิธภัณฑ์ได้มีการขอข้อมูลไปทางมหาวิทยาลัยบูรพา
สำหรับการได้มาเยี่ยมชมที่นี่ สิ่งที่ได้รับกลับไปมีทั้งความเพลิดเพลิน และยังได้จินตนาการถึงท้องทะเลถิ่นที่อยู่ของหอยหลากขนาดลวดลายสีสัน เราได้รู้ว่าเปลือกหอยมีความใกล้ชิดกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีของมนุษย์ เป็นได้ทั้งเครื่องประดับ ส่วนประกอบในพิธีกรรมความเชื่อ และการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า
หมายเหตุ: พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย จ.ภูเก็ต เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกที่คุณสมนึก และคุณสมหวัง ปัทมคันธิน ก่อตั้งขึ้น เมื่อปี 2540 จากนั้นจึงขยายมาเปิดพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย กรุงเทพฯ ในเวลาต่อไป
สาวิตรี ตลับแป้น /ผู้เขียน /ถ่ายภาพ
ข้อมูลจาก :
สำรวจภาคสนามเมื่อวันที่ 27 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2554
หอสมุดสมเด็จ ว.ผ.ต. วัดพระเชตุพน. กรุงเทพฯ : อมรินทรพริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน),2545.
http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=121&post_id=52813[Accessed 18/04/2011]
http://www.edtguide.com/ShellMuseumBangkok_490117[Accessed 18/04/2011]
การเดินทาง : พิพิธภัณฑ์หอยกรุงเทพฯอยู่ตรงซอยสีลม 23 (เยื้องโรงพยาบาลเลิศสิน) มีรถประจำทางสาย 1, 15 และ 77 ผ่าน และสามารถนั่งรถไฟฟ้ามาลงที่สถานีสุรศักดิ์ หรือสถานีสะพานตากสิน หรือนั่งเรือด่วนเจ้าพระยามาขึ้นที่ท่าสะพานตากสิน แล้วเดินมายังซอยสีลม 23 ได้เช่นกัน
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
“พพ.เปลือกหอย กรุงเทพฯ” ทั้งหอยเล็ก-ใหญ่ รวมไว้ที่เดียวกัน
ฉันจำได้ว่าเมื่อสมัยเด็กๆ เวลาปิดเทอมหน้าร้อนทีไร เพื่อนฝูงที่ไปเที่ยวทะเลกับครอบครัว พอกลับมาถึงบ้านก็จะรีบวิ่งเอาของฝากจากทะเลมาให้ทันที ไม่ใช่ของแห้ง ปลาหมึก หรือโมบายสวยๆ แต่เป็นเปลือกหอย ที่เพื่อนลงทุนวิ่งเก็บตามชายหาดด้วยตัวเอง ในสมัยนั้นฉันก็รู้สึกดีใจมาก เพราะว่าเปลือกหอยเหล่านั้นรูปร่างแปลกตา สีสันสวยงาม จนต้องเก็บเอาไว้ชื่นชมนานๆ พอโตขึ้นมา ฉันก็เริ่มเรียนรู้ว่าหากว่าเราไปเที่ยวก็ไม่ควรจะเก็บสิ่งของจากธรรมชาติกลับมาชื่นชมที่บ้าน เพราะหากว่าต่างคนต่างเก็บ เปลือกหอยสวยๆ ก็จะไม่ได้อยู่เคียงคู่กับทะเลให้คนอื่นได้เห็นเยือน"พิพิธภัณฑ์เปลือกหอยกรุงเทพฯ" เสพความมหัศจรรย์แห่งเปลือกหอย
ช่วงนี้รายการแฟนพันธ์แท้ที่เฟ้นหาสุดยอดแฟนพันธ์แท้แห่งปีกำลังเข้มข้น สำหรับผู้ที่เป็นแฟนพันธ์แท้รายการนี้ หากเอ่ยชื่อ "จอม : สมหวัง ปัทมคันธิน" คงจะคุ้นเคยกับเขาเป็นอย่างดี เพราะนี่คือ สุดยอดแฟนพันธุ์แท้เปลือกหอย 2 สมัย (ปี 2007 และปี 2008) ผู้คว้ารางวัลคะแนนโหวตสูงสุดปี 2008 ทายาทของคุณสมนึก ปัทมคันธิน เจ้าของพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย ที่หาดราไวย์ จังหวัดภูเก็ตอีกด้วย อนึ่งด้วยความรัก ความรอบรู้ และความเชี่ยวชาญในเปลือกหอย คุณจอมจึงเจริญรอยตามคุณพ่อด้วยการสร้างสรรค์ "พิพิธภัณฑ์เปลือกหอยกรุงเทพฯ"แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย กรุงเทพ มหัศจรรย์แห่งสีสันจากธรรมชาติ
ตอนเด็กๆ เวลาที่เราได้มีโอกาสไปเที่ยวทะเล หลายๆ คนคงเคยเก็บเปลือกหอยสีสวยๆ กลับมาเป็นที่ระลึกด้วยทุกครั้ง แล้วเราเคยนึกสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่า เปลือกหอยแต่ละชนิดที่เราพบเห็นนั้นมีชื่อว่าอะไร มันมีถิ่นกำเนิดมาจากที่ไหน เป็นเครือญาติกับหอยตัวใดบ้าง และเป็นหอยมีพิษหรือไม่ ฯลฯ เรามีสถานที่หนึ่งที่จะให้คำตอบสำหรับข้อสงสัยต่างๆ เหล่านี้ได้ นั่นคือ “พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย กรุงเทพ” นี่เองแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ทรัพยากรธรรมชาติ ธรรมชาติวิทยา หอย เปลือกหอย สัตว์ทะเล
พิพิธภัณฑ์การฝึกหัดครูไทย
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์สินค้าปลอมและเลียนแบบติลลีกี แอนด์กิบบินส์
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย
จ. กรุงเทพมหานคร