โดย: -
วันที่: 09 มกราคม 2556
ชื่อผู้แต่ง: จันทกาญจน์ คล้อยสาย | ปีที่พิมพ์: 2553
ที่มา: กรุงเทพฯ: ซีร็อกซ์ กราฟฟิก
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 15 เม.ย. 2556;15-04-2014
ที่มา: ไทยโพสต์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 17 เมษายน 2557
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนคร
จากนักสะสมที่มีความสุขกับเรื่องราวที่ตนเองแสนประทับใจ แล้ววันหนึ่งได้มาแบ่งปันเรื่องราวความรู้ให้กับผู้อื่นด้วยการทำพิพิธภัณฑ์ ต่อมาได้มีโครงการ “ย้อนสยามกับ 3 พิพิธภัณฑ์” ที่จะนำผู้เข้าชมไปย้อนอดีตกับการเฉลิมฉลองความรุ่งเรืองของกรุงรัตนโกสินทร์และได้สัมผัสกับสิ่งของอันทรงคุณค่าภายในซอยลาดพร้าว 43 บ้านเลขที่ 15 บ้านหลังหนึ่งได้เก็บเรื่องราวของประเทศไทยได้อย่างภาคภูมิ มาที่นี่ครั้งเดียวได้ชมถึง 3 พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนครบอกเล่าเรื่องราวในช่วงการสมโภชกรุงครบรอบ 100 ปี 150 ปี 200 ปี พิพิธภัณฑ์กระบอกเสียงและหีบเสียงไทย จัดแสดงเครื่องเสียงโบราณสุดคลาสสิก พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย อธิบายเรื่องราวประวัติความเป็นมาของธงชาติไทยและของสะสมที่ดูแล้วเพลินตา
จุดเด่นของที่นี่คือ ผู้เข้าชมจะได้รับฟังคำบรรยายที่สมบูรณ์และสนุกไปกับเรื่องราวที่เจ้าของพิพิธภัณฑ์มีความยินดีที่จะถ่ายทอดเรื่องราวด้วยตนเอง อาจารย์พฤติพล ประชุมพล นายกสมาคมนักอนุรักษ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย คือผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทยและพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย เป็นเจ้าของพื้นที่จัดแสดงทั้งหมด ส่วนคุณจันทกาญจน์ คล้อยสาย คือ ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนคร
จากการได้เที่ยวงานสมโภช 200 ปีกรุงรัตนโกสินทร์ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้คุณจันทกาญจน์เริ่มสะสมของที่ระลึก หลายคนอาจคุ้นตาและเมื่อเวลาผ่านไปสักพักก็สูญหายไป ทั้งหมดนี้ผู้เข้าชมจะได้พบเห็นที่นี่อีกครั้ง และยังมีอีกหลายประเภทหลายชิ้นที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ของที่มีตราสัญลักษณ์งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ได้แก่ จานที่ระลึกรูปพระพักตร์แห่งราชวงศ์จักรี เหรียญกษาปณ์ เหรียญพระวัดต่างๆ สลากกินแบ่งรัฐบาล ตราไปรษณียากร เสื้อ ผ้าพันคอ ถาด แก้วน้ำ นาฬิกา ผลิตภัณฑ์โค้ก ฟิล์มโกดัก บะหมี่สำเร็จรูปยำยำ สมุดเครื่องเขียนแบบเรียน จักรเย็บผ้าของบริษัทซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด ออกรุ่นพิเศษมีตราสัญลักษณ์ที่ฐานจักร ปฏิทินสงกรานต์และกระปุกออมสินของธนาคารออมสิน แผ่นเสียงกรุงเทพฯ 200 ปีคณะสุนทราภรณ์ บริษัทการบินไทย จำกัดมหาชน ได้ออกแบบลำตัวเครื่องบินใหม่ เพื่อสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี
ส่วนงานสะสมที่เกี่ยวเนื่องกับการเฉลิมพระนคร 100 ปี ได้แก่ เหรียญดุษฎีมาลา หรือ เหรียญทรงยินดี (เข็มราชการในพระองค์) เฉลิมพระนคร 100 ปี พ.ศ. 2425 เหรียญสตพรรษมาลา หรือ เหรียญ 5 รัชกาล พ.ศ. 2425 เหรียญที่ระลึกในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อสมโภชกรุงเทพครบ 100 ปี พ.ศ. 2425 เหรียญที่ระลึกหอพระสมุดวชิรญาณ ฉลองพระนคร 100 ปี พ.ศ.2425
การเฉลิมพระนคร 150 ปี ได้แก่ เอกสารการจัดเตรียมโคมไฟประดับวัดพระแก้ว ฉลองพระนคร 150 ปี ของกรมพระราชพาหนะ ล๊อคเก็ตทองคำเฉลิมพระนคร 150 ปี พระรูปรัชกาลที่ 7
ภาพพิมพ์หินฉลองพระนคร 150 ปี ของบริษัทยาสูบซำมุ้ย ปฏิทินสงกรานต์เฉลิมพระนคร 150 ปี พิมพ์ที่บุญครองพานิชสถานพิมพ์หิน หลังวังบูรพา พระนคร ปฏิทินสงกรานต์ฉลองพระนคร 150 ปี โดยบริษัทยาสูบอังกฤษอเมริกัน ปฏิทินสงกรานต์สมโภชพระนคร หรืองานฉลองพระนคร 150 ปี พ.ศ. 2475 ภาพพิมพ์ที่ระลึกการสมโภชฉลองพระนคร 150 ปี อภินันทนาการจาก กรุงเทพเดลิเมล์ มีดพับเฉลิมพระนครครบรอบ 150 ปี พ.ศ. 2475 จี้ห้อยคอเฉลิมพระนคร 150 ปี พ.ศ. 2475 เข็มกลัดหน้าฟิล์มงานเฉลิมพระนครครบรอบ 150 ปี พ.ศ.2475 ถ้วยรางวัลพระราชทานสำหรับคณะมหรสพต่างๆที่มาแสดงในงานเฉลิมพระนคร 150 ปี ที่จัดบริเวณเชิงสะพานพุทธฯ
จากของสะสมนำไปสู่เรื่องราว อย่างตราสัญลักษณ์การสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี มีความหมายว่า กรุงรัตนโกสินทร์เป็นเมืองครบ 200 ปีที่งดงาม มีภาพวาดเหล่าเทวดามาร่วมยินดี การบรรยายและการนำเสนอของพิพิธภัณฑ์นี้เริ่มเล่าเรื่องตั้งแต่ยุครัชกาลที่ 1 แรกสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ มาจนอีก 100 ปี ในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการจัดงานเฉลิมฉลอง ยุคนี้ถือเป็นการบุกเบิกการจัดงานฉลองกรุง ถัดมามีการฉลองกรุงครบ 150 ปี ในสมัยรัชกาลที่ 7 ในสมัยนี้มีสิ่งก่อสร้างที่รัชกาลที่ 7 ทรงสร้างเพื่อให้รำลึกถึงกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 150 ปี นั่นคือ สะพานพุทธฯ ในสมัยนั้นถือเป็นสะพานแห่งแรกของกรุงสยามที่สามารถยกช่วงกลางสะพานให้เรือรบแล่นผ่านได้ หนึ่งในภาพสำคัญที่จัดแสดงที่นี่คือ ภาพขณะที่สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทางสถลมารคเพื่อเปิดสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ ซึ่งภาพต้นฉบับในยุคนั้นเป็นภาพขาวดำ แต่มีหนังสือพิมพ์ของอิตาลีใน พ.ศ.2475 นำภาพนี้ไปลงข่าวหน้าหนึ่งเป็นภาพสี การลงสีนั้นมาจากการจดจำรายละเอียดแล้วไประบายใส่ภาพ
ภาพถ่ายในช่วงเวลาเดียวกันนี้ยังเล่าเหตุการณ์ได้ต่อเนื่องกัน ได้แก่ ภาพที่แสดงให้เห็นถึงผ้าแพรขณะถูกเปิดออกและเผยให้เห็นพระบรมรูปของรัชกาลที่ 1 อย่างสง่าผ่าเผย ภาพรัชกาลที่ 7 ทรงสักการะอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ภาพรัชกาลที่ 7 ทรงตรวจพลสวนสนามในพระราชพิธีเฉลิมพระนคร 150 ปี ภาพชาวสยามต่างแห่มาชื่นชมพระบารมีเมื่อรถยนต์พระที่นั่งแล่นผ่านอย่างเนืองแน่น ภาพข้าราชการ ทหารและตำรวจ ต่างแต่งเครื่องแบบเต็มยศเพื่อร่วมพิธีเฉลิมพระนคร 150 ปี ภาพมุมหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความพร้อมเพรียงของชาวสยามในพิธีเปิดสะพานพุทธฯ ภาพรัชกาลที่ 7 เสด็จลงเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ในการเสด็จพยุหยาตราทางชลมารค ภาพเรือในพระราชพิธีฯต่างเตรียมพร้อมเพื่อร่วมขบวนการเสด็จพยุหยาตราทางชลมารค ภาพสะพานพุทธฯถือเป็นสะพานแรกของกรุงสยามที่สามารถยกช่วงกลางสะพานให้เรือรบแล่นผ่านได้ ภาพหลังเสร็จสิ้นพระราชพิธีแล้ว ประชาชนชาวสยามที่รอคอยจะได้ข้ามสะพานต่างดีใจยกใหญ่ ภาพขบวนรถของผู้มีบรรดาศักดิ์หรือท่านขุนก็นัดหมายเข้าร่วมฉลองสะพานกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา ภาพแสดงให้เห็นว่านอกจากรถยนต์ของบรรดาท่านขุนแล้ว ชาวบ้านทั่วไปก็ไม่พลาดที่จะมาร่วมเปิดสะพานด้วย ภาพอีกมุมหนึ่งให้เห็นสะพานขณะกำลังยกขึ้นเพื่อให้เรือรบหลวงแล่นผ่านในงานเฉลิมพระนคร ภาพคณะเชิดสิงโตก็ไม่พลาดสำหรับพระราชพิธีมงคลเช่นนี้ ภาพวันที่ชาวสยามรู้สึกตื่นเต้นและดีใจอย่างมาก เพราะหลังจากนี้การข้ามไปฝั่งธนบุรีก็ไม่ต้องใช้เรือแล้ว ภาพชาวสยามในสมัยนั้นถือว่าการแต่งตัวแฟนซีเป็นของใหม่จึงได้ร่วมกันแต่งแฟนซีมาฉลองสะพานพุทธฯด้วย ภาพการแต่งกายของสโมสรสามัคคีจีนสยาม ในงานประกวดแฟนซี สมโภชพระนคร 150 ปี วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2475
ในแต่ละปีเมื่อมีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเฉลิมพระนคร คุณจันทกาญจน์ได้เข้าร่วมเสมอ อย่างงานเฉลิมพระนครลานคนเมือง งานรัตนโกสินทร์ สำหรับการย้อนสยามกับ 3 พิพิธภัณฑ์ ถ้าใครไม่มีเวลามากพอหรือไม่สะดวกเข้ามาชมด้วยตนเอง สามารถหาชมได้ทางออนไลน์ในเวปไซต์ของพิพิธภัณฑ์และใน Youtube ซึ่งได้มีการจัดทำไว้อย่างละเอียด
สาวิตรี ตลับแป้น /ผู้เขียน /ถ่ายภาพ
ข้อมูลจาก :
สำรวจภาคสนามเมื่อวันที่ 7 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2554
จันทกาญจน์ คล้อยสาย. เฉลิมพระนคร ย้อนฉลองกรุง. 2553.
http://www.bangkokmuseum.org/ [Accessed 14/04/2011]
http://th.wikipedia.org/wiki/[Accessed 14/04/2011]
การเดินทาง : มีรถเมล์ผ่านหลายสายได้แก่ รถธรรมดาสาย 8,44,73ก,92,96,143,156,178,191,502,514,550 รถปรับอากาศสาย ปอ.8,ปอ.44,ปอ.92
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ประวัติศาสตร์และโบราณคดี กรุงเทพฯ การสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การแพทย์ไทย อวย เกตุสิงห์
จ. กรุงเทพมหานคร
ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ไทย
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ
จ. กรุงเทพมหานคร