เดิมเป็นอู่เรือเก่าหรือโรงเก็บเรือรบและเรือพระที่นั่ง อยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวังและกองทัพเรือ ในปี พ.ศ.2490 รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้ กรมศิลปากร ทำการซ่อมแซมดูแลรักษาเรือพระราชพิธีที่ใช้ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค รวมทั้งเรืออื่น ๆ ที่ใช้ในพระราชพิธี ซึ่งล้วนแต่เป็นเรือที่มีประวัติความสำคัญมาแต่โบราณ ซึ่งยังคงความสวยงามจากฝีมือช่างอันล้ำเลิศ และทรงคุณค่าในงานศิลปกรรม การปรับปรุงขึ้นเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2517 จัดแสดงเรือพระที่นั่ง 4 ลำ ประกอบด้วยเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ พร้อมทั้งเรือที่มีโขนเรือ 4 ลำ ประกอบด้วย เรือเอกชัยเหินหาว เรือครุฑเหินเห็จ เรือกระบี่ปราบเมืองมาร และเรืออสุรวายุภักษ์
ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 02-08-2549 (หน้า36);02-08-2006
ที่มา: ผู้จัดการรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 11 ต.ค. 2554;11-10-2011
ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 16 กรกฎาคม 2558
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี จัดแสดงเรือต่างๆ ที่ใช้ในพระราชพิธี ซึ่งมีประวัติความสำคัญมาแต่โบราณ และยังคงความงดงามในฝีมือช่างอันล้ำเลิศ และทรงคุณค่ายิ่งในงานศิลปกรรม และประการสำคัญยังสามารถนำมาใช้ในการพระราชพิธีต่างๆ สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเรือพระที่นั่งต่างๆไว้เป็นมรดกของชาติ เรือพระราชพิธีสำคัญที่นำมาจัดแสดง 8 ลำคือ1.เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
2.เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
3.เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์
4.เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ
5.เรือครุฑเหินเห็จ
6.เรือกระบี่ปราบเมืองมาร
7.เรืออสุรวายุภักษ์
8.เรือเอกชัยเหินหาว
นอกจากนี้ยังมีเครื่องประกอบและสิ่งของเครื่องใช้ในพระราชพิธีต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่นบัลลังก์บุษบก บัลลังก์กัญญา พายชนิดต่างๆ และเครื่องแต่งกายของเหล่าฝีพาย เป็นต้น
ข้อมูลจาก : สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ.“เที่ยว ท่อง ย่ำ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” : สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.กรุงเทพฯ, มปป. หน้า 10-11
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
ยลสุดยอดแห่งเรือสยาม ที่ “พิพิธภัณฑ์ฯเรือพระราชพิธี”
ถ้าใครยังจำได้ถึงงานประชุมระดับโลก การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่าการประชุมเอเปก ก็คงจะจำได้ว่ามีการแสดงอยู่ชุดหนึ่งที่ทางรัฐบาลไทยจัดมานำเสนอความเป็นไทยให้ชาวโลกได้รับรู้ นั่นก็คือการจำลองเอากระบวนพยุหยาตราทางชลมารคมาแสดงให้แขกจากต่างประเทศได้ชมกัน ฉันยังจำได้ว่า วันนั้นฉันเห็นกระบวนเรือผ่านทางจอโทรทัศน์ ต้องยอมรับว่าแม้จะไม่ได้เห็นในบรรยากาศจริงๆ แต่ภาพความสวยงามในวันนั้นก็ยังติดใจฉันอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะเรือพระที่นั่งแต่ละลำที่แสดงความเป็นไทยอย่างชัดเจน แต่กระบวนเรือพระพระราชพิธีอย่างนี้ก็ไม่ได้มีให้เห็นกันบ่อยๆ เสียด้วยสิ ฉันก็เลยคิดว่าจะไปดูด้วยตนเองเลยดีกว่า ที่ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี” ตรงเชิงสะพานอรุณอมรินทร์นี่เองตามรอยเรือไทย ใน“พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง” และ “พิพิธภัณฑ์ฯเรือพระราชพิธี”
ปัญหาน้ำท่วมใหญ่ใน่วงนี้ทำให้การจัดงานขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในงานพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ที่เดิมมีหมายกำหนดการจัดขึ้นในวันที่ 22 ตุลาคม 2554 มีความจำเป็นต้องเลือนการจัดงานไปในปีหน้า อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงขบวนเรือพระราชพิธีแล้ว ก็ทำให้ฉันอยากที่จะรู้ถึงความเป็นมาของเรือต่างๆของเรา ฉันจึงเดินทางไปบุกยังถิ่นทัพเรือ ฝั่งธนบุรี และมุ่งตรงไปยัง “พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง” เพื่อมาเรียนรู้เกี่ยวกับเจ้าพาหนะทางน้ำให้มากยิ่งขึ้นแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ยานพาหนะ เรือ พระราชพิธีทางชลมารค
พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตร
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์การศึกษาไทย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
จ. กรุงเทพมหานคร
หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
จ. กรุงเทพมหานคร