อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สร้างขึ้นสนองกระแสพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ที่จะให้อนุรักษ์อาคารเก่าในย่านนิวาสสถานเดิม ครั้งทรงพระเยาว์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ให้เป็นพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ และเพื่อพัฒนาพื้นที่เป็นสวนสาธารณะระดับชุมชน ใช้พักผ่อนหย่อนใจ ฟื้นฟูสุขภาพ และเป็นแหล่งศึกษาพันธุ์ไม้ รวมถึงเป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการ อบรมศิลปะ และงานฝีมือ โดยจัดให้ผสมกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: กัลยาณิวัฒนา, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า | ปีที่พิมพ์: 2525
ที่มา: กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 13 ธ.ค. 2555;13-12-2012
ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 27 มีนาคม 2558
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
คงไม่มีการชมพิพิธภัณฑ์ครั้งใดที่ร่มรื่นเท่ากับการได้มาเยือนอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ตั้งแต่ทางเข้าเราก็พบกับไม้ใหญ่ที่เขียวสดชื่นตัดกับบรรยากาศของเมืองกรุงที่อยู่ด้านนอกยิ่งนัก เมื่อเดินเข้าไปด้านในดูนิทรรศการด้วยแล้วก็ยิ่งทำให้เราได้รู้จักกับเรื่องราวอันทรงคุณค่ามากมายอาคารจัดแสดงหลังแรกแบ่งเป็นสองห้อง ห้องแรกเป็นเรื่องราวพระราชประวัติของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีตั้งแต่ครั้งประสูติจนถึงสวรรคต เริ่มตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ มีนิวาสถานเดิมอยู่ที่เขตคลองสานโดยที่ครอบครัวของพระองค์เช่าบ้านอยู่บริเวณนี้ และต่อมาพระองค์เสด็จไปเรียนวิชาพยาบาลที่โรงพยาบาลศิริราช และได้รับทุนไปเรียนยังต่างประเทศจึงได้พบกับสมเด็จพระชนก แต่งงานและมีพระธิดาพระโอรส 3 พระองค์ซึ่งต่อมาได้เป็นพระมหากษัตริย์ถึง 2 พระองค์ เรื่องราวในช่วงแรกสิ่งที่โดดเด่นคือภาพถ่ายที่จัดแสดง มีความสวยงามและคมชัดตลอดจนเรื่องราวที่ถ่ายทอดก็สามารถเข้าใจได้ง่าย ส่วนต่อมาเป็นลำดับของราชวงศ์เริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ทรงเป็นพระบิดาของสมเด็จพระชนกและมีลำดับความสำคัญอย่างไรพระโอรสของพระองค์จึงได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ จนถึงส่วนต่อมาเป็นบังเพลิง และเทวดาที่ใช้ประกอบในพระราชพิธีถวายพระเพลิงศพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเมื่อ พ.ศ. 2538 ซึ่งเทวดาเป็นสัญลักษณ์ของการถวายพระเกียรติสูงสุดในพระราชวงศ์ และมีข้าวของที่ประชาชนซึ่งเดินทางมาไว้อาลัยต่อการจากไปของพระองค์นำมาถวาย มีมากมายจนต้องหมุนเวียนจัดแสดงเพราะไม่สามารถจัดแสดงได้หมด
ส่วนต่อมาจะเป็นแผนที่ของเขตคลองสานในอดีตและปัจุบัน เทียบจุดสำคัญๆ 4 จุด คือ1.วัดอนงคารามซึ่งอยู่ใกล้บริเวณบ้านเดิมของสมเด็จย่า 2.วัดพิชัยญาติ 3.อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ 4. นิวาสถานเดิมของสมเด็จย่า เทียบความแตกต่างของบ้านเมือง 2 ยุค นอกจากนี้ยังจัดแสดงเหรียญที่ระลึกที่จัดสร้างเพื่อหารายได้มาสร้างอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ แห่งนี้ ซึ่งเหรียญที่ระลึกเหล่านี้ปัจจุบันหาไม่ได้แล้ว เหลือแต่เหรียญทองแดงที่ยังมีจำหน่ายอยู่ และที่โดดเด่นที่สุดในห้องนี้ก็คือพระบรมสาทิสลักษณ์ฉลองพระองค์สีแดงของสมเด็จย่า ซึ่งผู้นำชมกล่าวว่าสีแดงเป็นสีโปรดของพระองค์
ห้องที่สอง เป็นห้องเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจและงานอดิเรก ห้องนี้มีความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรม คือได้ทำกระจกบานใหญ่ไว้ให้มองทะลุออกไปเห็นรากของต้นไกรอายุ 100 ปีที่ปกคลุมอาคารเก่าของบ้านเจ้าพระยาอยู่ เพราะสถาปนิกต้องการให้มีความสอดคล้องกับต้นไม้และอาคารเดิมด้วยซึ่งมองแล้วทั้งสวยงามแปลกตา
นิทรรศการจัดแสดงเป็นเรื่องราวพระราชกรณียกิจของสมเด็จย่า งานอดิเรกของพระองค์ เช่นโปรดกีฬาแบดมินตัน หรือถ้าเสด็จต่างประเทศจะทรงสกี หรือช่วงที่พระวรกายไม่ค่อยแข็งแรงจะทรงเปตอง อีกด้านหนึ่งแสดงงานฝีพระหัตถ์บางส่วนของพระองค์ เช่นที่คั่นหนังสือทำจากดอกไม้แห้ง งานปักครอสติส การทำตุ๊กตากระเบื้องและเครื่องถ้วยชามซึ่งของจัดแสดงส่วนใหญ่เป็นของจำลอง ยกเว้นชุดน้ำชาในตู้จัดแสดงกลางห้องที่เป็นของจริงมีอักษรย่อพระนามเดิมว่า ส ว หรือ สังวาลย์ เป็นตัวหนังสือสีทองติดอยู่ เจ้าหน้าที่เล่าว่าพระองค์ทรงตรัสไว้ว่า “เวลาเป็นของมีค่า” ดังนั้นเราจะเห็นพระองค์ทรงงานตลอดเวลาไม่ปล่อยเวลาให้ว่างเปล่า แม้แต่ขณะทรงเฮลิคอปเตอร์ไปแจกสิ่งของกับมูลนิธิชัยพัฒนายังทรงปักผ้าครอสติสไปด้วย หรือเสด็จไปตามถิ่นทุรกันดารก็จะทรงเก็บดอกไม้เล็กๆ ข้างทางมาทับกระดาษหรือทำให้แห้งเพื่อประดิษฐ์เป็นงานต่างๆ แจกผู้ใกล้ชิดที่พระองค์ทรงงานด้วยเสมอ ถ้าใครอยากทราบว่าพระองค์ทำอะไรบ้างทางอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ มีหนังสือเรื่อง “เวลาเป็นของมีค่า” ของสมเด็จย่า จำหน่ายด้วย
ส่วนอีกด้านเราจะเห็นฉลองพระองค์ตำรวจตระเวนชายแดนของสมเด็จย่า เวลาพระองค์เสด็จออกเยี่ยมเยือนราษฎรในถิ่นทุรกันดาร พระราชกรณียกิจในการแจกเครื่องยังชีพให้ราษฎร พระองค์ทรงเป็นประธานมูลนิธิชัยพัฒนาจึงเสด็จออกแจกสิ่งของยังชีพให้ทหารและประชาชนบริเวณชายแดน ด้านข้างห้องมีตู้จัดแสดงของภายในถุงบรรเทาทุกข์ว่ามีอะไรบ้างทั้งเสื้อผ้า ผ้าห่มกันหนาว ยารักษาโรค ส่วนเด็กๆ พระองค์ก็มีของเล่นที่ดีต่อพัฒนาการของเด็กแจก
อีกด้านจะเห็นฉลองพระองค์ผ้าไหมแสดงอยู่ เจ้าหน้าที่เล่าว่าตู้นี้จะมีแท่นยืนด้านข้างให้เด็กๆ ที่มาเข้าชมได้ลองเทียบขนาดตัวเองกับพระวรกายของสมเด็จย่าว่าต่างกันแค่ไหน พระองค์มีพระวรกายเล็กแต่ทรงงานที่มีคุณค่ามากมาย เพื่อให้เด็กๆ ได้นำไปเป็นแบบอย่าง หลังห้องมีภาพวาดของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่แฝงเรื่องราวของพระองค์ไว้ตลอดชีวิตตั้งแต่ประสูติจนถึงสวรรคต
ออกไปด้านนอกหลังอาคารที่ 1 จะมีบ้านหลังเล็กๆ อยูใต้ร่มเงาต้นไม้น้อยใหญ่ เจ้าหน้าที่บอกว่านี่คือบ้านของสมเด็จย่าเมื่อยังพระเยาว์ พระองค์ย้ายบ้านมาจากเมืองนนทบุรี พ่อของท่านชื่อพระชนกชูเป็นช่างทองมาเช่าบ้านอยู่ที่นี่และทำทองส่งวังหลวง สมเด็จย่าก็ย้ายตามมาด้วย จากหนังสือเรื่องหนังสือ “แม่เล่าให้ฟัง” พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเล่าว่าบ้านของสมเด็จย่าอยู่หลังวัดอนงคาราม เป็นบ้านเช่า เมื่อครั้งริเริ่มทำอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ นั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ตามหาบ้านเดิมของสมเด็จย่า แต่เมื่อสำรวจแล้วปรากฏว่าบริเวณเดิมนั้นมีอาคารพาณิชย์สมัยใหม่สร้างทับไปแล้ว จึงหาที่ๆ เหมาะสมใหม่ เมื่อนายแดง นานา และนายเล็ก นานา เจ้าของที่ดินบริเวณนี้ได้ทราบเรื่อง จึงน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายที่ดินแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นจำนวน 4 ไร่ ซึ่งมีกลุ่มอาคารตั้งอยู่ และตอนกลางของพื้นที่เป็นที่ตั้งของบ้านเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (แพ บุนนาค) อธิบดีกรมพระคลังสินค้าในสมัยรัชกาลที่ 5
เมื่อได้สถานที่แล้วจึงได้เริ่มก่อสร้างอาคารต่างๆรวมทั้งอาคารหลังนี้ซึ่งแบบในการสร้างได้เคยทูลเกล้าฯให้สมเด็จย่าทรงตรวจเองถึง 3 ครั้งกว่าจะได้ขนาดที่เหมาะสมและใกล้เคียงของจริงมากที่สุด ด้านหน้าอาคารเป็นระเบียงมีตุ่มน้ำวางอยู่ และภายในได้ออกแบบเป็นกระจกแทนฝาผนังด้านหนึ่งเพื่อให้เป็นด้านในห้อง ห้องแรกจะเป็นห้องทำทองของพระชนกชู มีเตาไฟ คีมหนีบ ฯลฯซึ่งเป็นอุปกรณ์การทำทองต่างๆ วางอยู่ ห้องถัดไปเป็นห้องนอน และด้านหลังสุดเป็นห้องครัว การจัดวางข้าวของได้มีเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากรมาดูแลตรวจสอบแล้วว่าเป็นของที่ตรงยุคสมัยจริงๆ และจัดแสดงให้ใกล้เคียงของจริงที่สุด และมีแผนที่ที่ตั้งจริงๆ ของบ้านในชุมชนหลังวัดอนงคารามจัดแสดงอยู่ด้วย
ในอาคารหลังนี้มีความน่าสนใจอีกอย่างคือการสร้างที่สอดคล้องกับธรรมชาติ เดิมก่อนจะมาสร้างอาคารนี้มีต้นมะขามเทศใหญ่สถาปนิกจึงเว้นช่องหลังคาเป็นช่องให้ต้นไม้อยู่ร่วมกับบ้านได้อย่างสวยงามลงตัว และมีข้าวของเครื่องใช้ของชาวบ้านเช่นเครื่องฝัดข้าวโบราณ และครกไม้แสดงอยู่ด้วย
เดินต่อมามีประตูเก่าแก่ และพื้นที่ปูด้วยอิฐสีแดงเจ้าหน้าที่เล่าว่านี่คือประตูทางเข้าบ้านของท่านเจ้าพระยา เรียกว่าประตู 9 โมงบ้าง 10 โมงบ้าง เพราะเรียกตามเวลาเปิด เนื่องจากรอบๆ บ้านท่านมีทางเข้าหลายทางจึงต้องเปิดปิดเป็นเวลาสำหรับผู้ที่มาเข้าพบ ซึ่งอิฐและโครงประตูเป็นของจริงทั้งหมดแต่จะอยู่ต่ำกว่าพื้นดินปัจจุบันเพราะได้มีการถมที่ใหม่จึงทำให้ดูต่ำลง
กลางลานกิจกรรมมีแท่นหินทรายสีเขียวขนาดใหญ่หนัก 32 ตัน ด้านหนึ่งแกะสลักเรื่องราวพระราชกรณียกิจและความเป็นอยู่ของราษฎร ส่วนอีกด้านแกะสลักเรื่องพิธีไหว้สาแม่ฟ้าหลวงที่พระตำหนักดอยตุงซึ่งจัดขึ้นทุกปี ภายในลานยังมีศาลา 8 เหลี่ยมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จมาประทับเมื่อครั้งเปิดอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ อย่างเป็นทางการ
ส่วนอาคารศูนย์ศิลป์ศรีพิพัฒน์นั้น เป็นอาคารเก่าของบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ปรับปรุงให้เป็นสถานที่จัดงานแสดงศิลปะ ด้านล่างเป็นห้องสมุดและห้องน้ำซึ่งเดิมเคยเป็นห้องครัวของบ้านท่านเจ้าพระยามาก่อน เดินเล่นไปด้านหลังเราจะพบกับแนวกำแพงและประตูทางเข้าซึ่งโดนรากของต้นไกรปกคลุมและกลายเป็นส่วนหนึ่งของประตูเหมือนเป็นคานไม้ เจ้าหน้าที่เล่าว่าเด็กๆ จะชอบจุดนี้มากเพราะสามารถโหนเล่นได้ และเป็นสิ่งบอกเล่าความเก่าแก่ของที่นี่ได้เป็นอย่างดี ถัดมาจะมีร่องรอยของบ้านท่านเจ้าพระยาก็คือบ่อน้ำเก่าแก่ และอาคารทิมบริวารซึ่งเหลือแต่โครงสร้าง เรียกได้ว่านอกจากจะได้รู้เรื่องราวพระราชกรณียกิจและพระราชประวัติของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีแล้ว ยังได้รู้จักประวัติศาสตร์ของพื้นที่นี้อีกด้วย
ถ้าใครเดินจนเหนื่อยและเริ่มกระหายน้ำด้านข้างมีอาคารเรียกว่า ปานะศาลา ขายเครื่องดื่ม และของที่ระลึกที่มาจากโครงการหลวงด้วย สามารถนั่งดื่มและชื่นชมกับบรรยากาศความร่มรื่นได้
เมื่อเดินออกมาด้านหน้าเรียกว่าสวนส่วนหน้า มีพระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ใต้ฐานของรูปปั้นจะมีดินจากที่ต่างๆที่เคยประทับ ทั้งพระตำหนักวังสระปทุม พระตำหนักดอยตุง และทุกที่ที่หน่วยแพทย์อาสาสมัครฯ ของมูลนิธิชัยพัฒนาเคยไปปฏิบัติงานมารวมอยู่ เป็นตัวแทนว่าพระองค์ประทับอยู่ในทุกๆ ที่ นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังแนะนำให้ชมต้นโพธิ์ ไทร ไกร กร่าง อายุเป็นร้อยปีไม้ใหญ่ที่ปกคลุมบริเวณนี้อยู่ให้ความร่มรื่น ซึ่งจะเปลี่ยนสีผลัดเปลี่ยนใบไปตามฤดูกาล นอกจากได้รับความรู้แล้วยังได้มาพักผ่อนในสถานที่อันร่มรื่น นอกจากนิทรรศการต่างๆ แล้วทางอุทยานยังมีกิจกรรมหมุนเวียน เช่นอบรมมัคคุเทศก์น้อย อบรมทำขนมหรือวิชาชีพต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้รู้จัก อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ มากขึ้นด้วย
การเดินเข้ามาในสถานที่อันสงบและร่มรื่น รับรู้เรื่องราวทางประวัติของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีผู้เป็นที่เคารพรักยิ่งของคนไทย และประวัติศาสตร์ของสถานที่ นับเป็นการไม่เสียเวลาไปเปล่าๆ ดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่ว่า “เวลาเป็นของมีค่า” จริงๆ
มัณฑนา ชอุ่มผล : เขียน/วิรวรรณ์ คำดาวเรือง : ถ่ายภาพ
สำรวจ: 22 มกราคม 2551
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
อุทยานสมเด็จย่า วันแห่งความปีติ
นับเป็นความปลื้มปีติของพสกนิกรชาวไทยอีกครั้ง โดยเฉพาะชาวชุมชนสวนสมเด็จย่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จลงจากที่ประทับชั้น 16 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช เพื่อประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซอยสมเด็จเจ้าพระยา 3 เขตคลองสาน กทม.แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
บุคคลสำคัญ บ้านประวัติศาสตร์ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง แม่เล่าให้ฟัง งานฝีพระหัตถ์ สมเด็จย่า สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พิพิธภัณฑ์สมเด็จย่า
พิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์ตลาดน้ำคลองลัดมะยม
จ. กรุงเทพมหานคร
ศูนย์การเรียนรู้อาหารไทย
จ. กรุงเทพมหานคร