พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย


ที่อยู่:
เลขที่ 15 ลาดพร้าว 43 ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
โทรศัพท์:
0-2939- 9552,0-2939-9920, 08-1944-9449
วันและเวลาทำการ:
เปิดเฉพาะวันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 15.00 น. การเข้าชมโปรดโทรจองล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
ท่านละ 100 บาท
อีเมล:
siamflag@hotmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2549
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ธ ธง คนนิยม

ชื่อผู้แต่ง: ศรัณย์ ทองปาน | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 22 ฉบับที่ 263 (ม.ค. 2550)

ที่มา: สารคดี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ค้นปารีส หาความจริง เมื่อ"ธงช้าง" ร.5 เสด็จประพาสยุโรป กลายเป็นเรื่อง "กลับตาลปัตร"

ชื่อผู้แต่ง: ไกรฤกษ์ นานา | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 26 ฉบับที่ 11 (ก.ย. 2548)

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ธงชาติ เพลงชาติ สร้าง(รัฐ)ชาติไทย เรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส และแผ่ขยายมหาอาณาจักรไทย Pan-Thai-ism

ชื่อผู้แต่ง: ชนิดา พรหมพยัคฆ์ เผือกสม | ปีที่พิมพ์: 24, 5(มีนาคม 2546); 130-145.

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

การเมืองในประวัติศาสตร์ธงชาติไทย

ชื่อผู้แต่ง: ชนิดา พรหมพยัคฆ์ เผือกสม | ปีที่พิมพ์: 2546

ที่มา: กรุงเทพฯ: มติชน

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ธงสยาม

ชื่อผู้แต่ง: ศรัณย์ ทองปาน | ปีที่พิมพ์: มกราคม-มีนาคม 2550

ที่มา: เมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ธงสยาม ไทย...เมิน ฝรั่ง...มอง

ชื่อผู้แต่ง: พฤฒิพล ประชุมผล | ปีที่พิมพ์: 2553

ที่มา: กรุงเทพฯ: ซีร็อกซ์ กราฟฟิก

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย บ่งบอกความเป็นไทยในผืนธง

ชื่อผู้แต่ง: ชาธิป สุวรรณทอง | ปีที่พิมพ์: 12 ม.ค. 2555;12-01-2013

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 20 พฤศจิกายน 2556

จดหมายเหตุธงชาติสยาม กับการค้นพบแรกมีธงช้างเผือกบนกำปั่นหลวง

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 19 ก.พ. 2556;19-02-2013

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 22 เมษายน 2558


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ธงสยาม

ถ้าตอบคำถามชวนคิดเหล่านี้ได้ คุณพฤฒิพล ประชุมผล ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ธงสยาม บอกว่าแสดงว่าคุณมีความรู้เรื่องธงสยามดีมาก แต่ถ้าไม่รู้คำตอบ รับรองว่าหลังจากเข้าชมพิพิธภัณฑ์ธงสยามแล้ว คุณจะได้รับความรู้พร้อมความเพลิดเพลินกลับบ้านไปอย่างเอมใจ

1. ทำไมธงสยามจึงใช้พื้นธงเป็นสีแดง?

2. ช้างเผือกที่อยู่ตรงกลางธงสยามมีที่มาอย่างไร?

3. พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยามออกเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันเดือนปีและตรงกับ พ.ศ. อะไร?

4. ช้างเผือกที่อยู่ตรงกลางธงสยามหันหน้าเข้าหรือหันหน้าออกจากเสาธง?

5. รูปแบบตัวพิมพ์ไทย (Font) ที่ใช้พิมพ์ในพระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยามได้กลายเป็นหนึ่งในรูปแบบตัวพิมพ์ไทยที่สำคัญและเป็นอมตะของชาติ ถามว่าเราเรียกแบบตัวพิมพ์นี้ว่าอะไร และมีจุดเด่นที่แตกต่างจากรูปแบบตัวพิมพ์ไทยอื่นๆ อย่างไร?

พิพิธภัณฑ์ธงสยาม อยู่ภายในบริเวณเดียวกับพื้นที่จัดแสดงพิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย และมีเจ้าของคนเดียวกันคือ คุณพฤฒิพล ประชุมผล ซึ่งเริ่มเก็บสะสมสิ่งของที่เกี่ยวกับธงสยาม มากว่า 20 ปี พร้อม ๆ กับของสะสมอื่น ๆ ในหมวดของเครื่องเล่นกระบอกเสียง โดยเริ่มนำออกมาอวดโฉมจัดแสดงต่อสาธารณชน เมื่อปี 2549 ที่ผ่านมา นอกเหนือไปจากธงชาติสยามพื้นที่สีแสงสดตรงกลางเป็นรูปช้างเผือกแล้ว วัตถุอันเกี่ยวเนื่องกับธงสยามส่วนใหญ่ที่จัดแสดงเป็นสิ่งของขนาดเล็กที่ล้วนแต่มีธงรูปช้างประดับไว้ วางแสดงไว้ในตู้กระจก 4-5 ตู้ อาทิ บัตรสะสมบุหรี่ ผ้าสักหลาดที่แถมมากับบุหรี่ ผ้าเช็ดหน้า โปสการ์ด ไปรษณียบัตร เข็มกลัด ฉลากหน้ากล่องไม้ขีดไฟ ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่5 อาทิ ภาพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประทับบนหลังม้าพระที่นั่งก่อนการเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก ปะรำพิธีตกแต่งด้วยธงช้างจำนวนมาก ภาพพิธีเปิดการเดินรถรางในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีธงชาติประดับประดาตามซุ้มข้างทาง เป็นต้น 

นอกจากนี้ยังมีกระดานเล่นเกมส์ ที่สันนิษฐานว่าอยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 มีรูปธงสยามติดไว้ร่วมกับธงอีกหลายๆ ชาติอยู่ในกระดานเกมส์ ภาพพิมพ์หินตัวอย่างธงสยามที่พิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างธงสำหรับกองทัพเรืออเมริกัน ข้าวของที่จัดแสดงคุณพฤฒิพลเสาะหามาได้จากทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่ของชิ้นที่เจ้าของภาคภูมิใจที่สุดเห็นจะเป็น พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม ร.ศ.110 เล่มสีแดงเพลิงพิม์อย่างประณีต จากเมืองไลพ์ซิก เมืองอุตสาหกรรมการพิมพ์ของโลก ประเทศเยอรมันนี พิมพ์ 4 ภาษา คือ ไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมัน มีเพียง 1,000 เล่มทั่วโลก ด้วยการที่มีธงชาติไม่น้อยที่ผลิตในต่างประเทศ หลายครั้งที่ขนาดของธงไม่ได้มาตรฐาน รูปร่างช้างผิดเพี้ยน เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดพระราชบัญญัตินี้มา

แม้พื้นที่จัดแสดงของพิพิธภัณฑ์ธงสยามจะ เป็นเพียงมุมเล็ก ๆ มุมหนึ่งภายในพิพิธภัณฑ์กระบอกเสียงและหีบเสียงไทย แต่คงไม่สำคัญเท่าความตั้งใจของคนทำพิพิธภัณฑ์ที่ต้องการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับธงสยามกับผู้สนใจ ทั้งจากการทำงานเผยแพร่ร่วมกับพิพิธภัณฑ์ช้างต้น การทำนิทรรศการเคลื่อนที่ การทำกิจกรรมกับเยาวชนร่วมกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ 

คลิกอ่านคำตอบจากคำถาม 5 ข้อข้างบน

ข้อมูลจาก: 

การสำรวจภาคสนามวันที่ 28 พฤศจิกายน 2549

ศรัณย์ ทองปาน. 'ธ ธง คนนิยม.' สารคดี. 22: 263 (มกราคม 2550); 54-89.

http://www.siamflag.org/ [accessed 20070206]
ชื่อผู้แต่ง:
-

จดหมายเหตุธงชาติสยาม กับการค้นพบแรกมีธงช้างเผือกบนกำปั่นหลวง

“ธงชาติไทยถือเป็นสัญลักษณ์ของชาติและแสดงความเป็นเอกราชของไทย” ทุกเช้าและเย็นคนไทยต่างไม่ลืมที่จะยืนตรงเคารพธงชาติ เพราะเมื่อเรามองผ่านผืนธงชาติเราจะเห็นความเสียสละของบรรพบุรุษ ที่ร่วมปกปักษ์และปกป้องผืนแผ่นดินสยามให้ดำรงความเป็นเอกราชจนมาถึงทุกวันนี้ เมื่อมองย้อนกลับไป 230 ปี เมื่อสยามสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ธงชาติสยามจึงเริ่มมีบทบาทในฐานะสัญลักษณ์แทนความเป็นชาติมาตั้งแต่บัดนั้น
ชื่อผู้แต่ง:
-

ธ ธง คนนิยม

ไม่มีใครรู้ว่าธงผืนแรกในโลกมีกำเนิดจากที่ใด หรือมีรูปร่างหน้าตาอย่างไรแน่ การศึกษาหลักฐานจากแหล่งอารยธรรมดึกดำบรรพ์ของโลก เช่น อียิปต์ โรมัน อินเดีย หรือจีน พบว่าตั้งแต่เมื่อหลายพันปีก่อนเคยมีธรรมเนียมการตั้งเสาสูงประดับเครื่องหมายบางอย่างเช่นรูปแทนองค์เทพเจ้าไว้ด้านบน ปักเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ ตัวแทนของราชา หรือใช้ถือนำหน้ากองทัพ ในภาษาละตินเรียกเสานี้ว่า เฝ็กซิลอยด์ (vexiloid) ซึ่งก็คงตรงกับภาษาสันสกฤตว่า ธวัช (dhvaj)
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย บ่งบอกความเป็นไทยในผืนธง

"ธงชาติไทย" เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย บ่งบอกถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความเป็นไทยซึ่งมีความหมายแสดง ความเป็นเอกราช อธิปไตยของชาติ รวมทั้งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แต่...คนไทยจำนวนไม่น้อยที่เกิดบนแผ่นดินไทย ถือบัตรประชาชนคนไทย เห็นธงชาติไทยอัญเชิญขึ้นเสากันเกือบทุกวัน กลับไม่รู้ประวัติความเป็นมาของธงชาติไทย ธงของชาติตนเองว่ามีที่มาอย่างไร ด้วยความต้องการที่จะผลักดันให้ "ธงชาติไทย" คงความหมายถึงความรักชาติยังคงอยู่ในจิตใจของลูกหลานไทยภายภาคหน้า
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-