โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 284 (ธ.ค. 2548)หน้า134-136
ที่มา: วารสารการเงินธนาคาร
แหล่งค้นคว้า: หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ภุชชงค์ จันทวิช | ปีที่พิมพ์: 2549
ที่มา: กรุงเทพฯ : บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)
แหล่งค้นคว้า: หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์กรุงเทพประกันภัย
บนถนนสาทรใต้ ย่านใจกลางเมืองธุรกิจของประเทศ แวดล้อมไปด้วยโรงเรียน โรงพยาบาล ธนาคาร สถานทูต บริษัท และห้างสรรพสินค้าต่างๆ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ก็เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่อยู่ในย่านนี้บริษัทกรุงเทพประกันภัยได้ให้บริการด้านการประกันภัยต่างๆ เช่น ประกันภัยยานยนต์ ประกันภัยบุคคล และประกันภัยด้านอื่นๆ มาช้านาน ได้ตระหนักถึงการมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคม มีนโยบายสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ทั้งด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จึงได้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์กรุงเทพประกันภัยขึ้นในปี พ.ศ. 2548 โดยมีมูลนิธิกรุงเทพประกันภัยเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ และจัดแสดงงานศิลปะโบราณวัตถุให้เยาวชนรุ่นหลัง ได้เรียนรู้และตระหนักถึงคุณค่าทางโบราณคดี
คุณอภิญญา จิตรประดับ ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ได้ให้สัมภาษณ์ว่า พิพิธภัณฑ์จัดตั้งขึ้นโดยนายชัย โสภณพนิช ประธานกรรมการและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ จัดแสดงงานศิลปะโบราณวัตถุที่สะสมไว้ โดยโบราณวัตถุที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์นั้น คุณชัย ได้ใช้เวลาสะสมมานานกว่า 30 ปี มีจำนวนทั้งสิ้นกว่า 1,000 ชิ้น โดยจัดแสดงแบ่งออกไปตามยุคต่าง ทั้งหมดกว่า 30 ตู้จัดแสดง
ตู้ที่ 1 ถึงตู้ที่ 3 จัดแสดง“เครื่องปั้นดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์” ค้นพบภาชนะเขียนลายสีแดง ที่ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุราว 10,000 ปีทีเดียว แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่ บ้านเก่า และบ้านดอนตาล จังหวัดเพชรบุรี, โคกพนมดี จังหวัดชลบุรี, อำเภอเมือง และอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี, บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี และที่บ้านเมืองบัว จังหวัดร้อยเอ็ด
ตู้จัดแสดงที่ 4 ถึงตู้ที่ 17 จัดแสดง “เครื่องถ้วยสุโขทัย” ผลิตจากเตาในจังหวัดสุโขทัย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19-22 อาทิ เครื่องถ้วยเคลือบสีน้ำตาล ไม่ว่าจะเป็นกระปุก หรือคนโท, จาน ชาม โถ คนที พานเคลือบสีเขียว จากเตาเกาะน้อย จังหวัดสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่ 20 และในราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 พบเครื่องถ้วยที่ผลิตจากเตาศรีสัชนาลัย กลุ่มเตาป่ายาง เป็นเครื่องเคลือบสีเขียว เคลือบสีน้ำตาล เคลือบสีขาว เคลือบสองสี และเขียนลายสีดำใต้เคลือบ มีลักษณะที่สวยงามมาก
“ตุ๊กตาเสียกบาล” พบอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 แต่เดิมเป็นตุ๊กตาที่ผลิตขึ้นเพื่อเป็นของเล่น แต่ด้วยการประกอบของตัวตุ๊กตาคือ นำหัวมาต่อกับตัวติดกันภายหลังทำให้เสี่ยงต่อการหักได้ง่าย ทำให้พบตุ๊กตาที่ไม่มีศีรษะมากมายจึงเกิดความเชื่อว่าเป็นตุ๊กตาที่ใช้ในการสะเดาะเคราะห์เพื่อกำจัดสิ่งชั่วร้าย
ตู้ที่ 18-21 จัดแสดง “เครื่องประดับสถาปัตยกรรม” จากเตาสุโขทัย และเตาศรีสัชนาลัย เช่น ช่อฟ้า หางหงส์ บราลี กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องเชิงชาย กระเบื้องปูพื้น และรูปทวารบาล เป็นต้น มีอายุราวกลางพุทธศตวรรษที่ 21
ตู้ที่ 22-25 จัดแสดง “ไห” ที่ผลิตจากเตาในประเทศไทย เช่น เตาสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่, เตาเวียงกาหลง จังหวัดเชียงราย ส่วนใหญ่ใช้บรรจุอัฏฐิ, เตาศรีสัชนาลัย และเตาบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งมีทั้งชนิดเคลือบ และไม่เคลือบ
ตู้ที่ 26-29 จัดแสดง “เครื่องถ้วยล้านนา” มีแหล่งเตากระจัดกระจายตามพื้นที่ต่างๆ ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย เช่น เตาโป่งแดง จังหวัดเชียงราย, เตาวังเหนือ จังหวัดลำปาง, เตาเวียงบัว จังหวัดพะเยา, เตาบ่อสวก จังหวัดน่าน เป็นต้น ซึ่งเครื่องถ้วยล้านนาที่ผลิตจากเตาแต่ละแห่งจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน
ตู้ที่ 30-34 จัดแสดง “เครื่องถ้วยในประเทศเพื่อนบ้าน” อาทิ เครื่องถ้วยจีน, เครื่องถ้วยจากเวียดนาม, เครื่องถ้วยเขมร และเครื่องถ้วยจากเมียนมาร์
บริเวณส่วนกลางของห้องจัดแสดง ได้จัดแสดงเครื่องชั่ง และลูกชั่ง เช่น ลูกชั่งรูปสัตว์หิมพนาต์ ปัญจรูป และนวรูป ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 22-24 ลูกชั่งรูปสัตว์ในสิบสองนักษัตร ศิลปะล้านนา ราวพุทธศตวรรษที่ 24-25 และลูกชั่งรูปเป็ด จากพม่า ราวพุทธศตวรรษที่ 24-25 และชุดเครื่องชั่งฝิ่น ลายแจกัน และช่อดอกไม้ก้านขด ศิลปะล้านนา
ถัดไปด้านขวาเป็นทวารบาลรูปยักษ์ จากเตาศรีสัชนาลัย กลุ่มเตาป่ายาง จังหวัดสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่ 21 ดูน่าเกรงขาม ถัดไปจะเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 2 กร และด้านตรงข้าม คือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ซึ่งยังคงสมบูรณ์อยู่
ที่น่าประทับใจคือเครื่องประดับราชยานรูปครุฑยุดนาค ศิลปะเขมรแบบบายน พุทธศตวรรษที่18 ซึ่งสวยงามมาก ไหทรงแบนขนาดใหญ่ ซึ่งทำมาจากสำริด ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์ ยุคโลหะ ส่วนเครื่องสำริดอื่นๆ เช่น กำไลข้อมือสำริด, ขวานสำริด, เบ็ดตกปลาสำริด และแม่พิมพ์ และกระดึงสำริดสำหรับผูกคอวัวต่าง สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคโลหะ วัฒนธรรมดองซอน ที่มีอายุราว 2,500-1,500 ปีทีเดียว
บนชั้น 32 ของอาคารกรุงเทพประกันภัย “พิพิธภัณฑ์กรุงเทพประกันภัย” ได้เปิดให้ผู้ที่สนใจทั้งไทยและต่างประเทศเข้าชมโดยไม่คิดค่าบริการ เพื่อเปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้เรียนรู้ถึงประวัติ ความเป็นมาของโบราณวัตถุเหล่านั้น ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายรับใช้สังคมขององค์กร
เรื่อง/ภาพ : ณัฐพัชร์ ทองคำ
สำรวจภาคสนาม : 14 สิงหาคม 2551
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
เครื่องปั้นดินเผา เครื่องถ้วย แหล่งเตาเผา เครื่องชั่ง รูปเคารพ
สถาบันคึกฤทธิ์
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย
จ. กรุงเทพมหานคร