พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดหัวเตย


วัดหัวเตย เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดพัทลุง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มริมฝั่งคลองกั้นเขตระหว่างพัทลุงกับสงขลา คลองสายนี้เป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญในอดีต มีชุมชนจีนตั้งอยู่ริมน้ำไม่ไกล ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ทั้งที่มีคนถวายและสมบัติวัดแต่เดิมมีจำนวนมากในวัด อาทิ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องทองเหลือง สำริด ภายหลังวัดลดความสำคัญลง บางช่วงขาดเจ้าอาวาส เป็นเหตุให้สิ่งของดังกล่าวสูญหายไปเป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2546 พระปลัดสันทัด ปภสฺสโร (พระครูประภัสร์ธรรมวาที) เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ให้ความสำคัญกับสมบัติเก่าแก่ของวัดมาก จึงได้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้นในปี พ.ศ. 2555 ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 ทางสถาบันทักษิณคดีศึกษา จังหวัดสงขลา ได้เข้ามาช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ เช่น การลงทะเบียนวัตถุโบราณ การจัดแสดงวัตถุโบราณ การอนุรักษ์วัตถุโบราณ การให้ความรู้ ข้อมูลวัตถุโบราณ การจัดอบรมมัคคุเทศก์ ทำให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีความสมบูรณ์พร้อมที่จะรองรับผู้เยี่ยมชมมากขึ้น เมื่อชาวบ้านเห็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนของวัดมีความมั่นคง จึงได้นำวัตถุโบราณที่ตนเก็บรักษาอยู่มาถวายไว้ในพิพิธภัณฑ์ของวัดเพิ่มมากขึ้น ทำให้วัตถุที่มีจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์มีจำนวนมากขึ้นและน่าสนใจในการศึกษาต่อไป

ที่อยู่:
วัดหัวเตย เลขที่ 33 หมู่ 3 ตำบลดอนทราย อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง 93120
โทรศัพท์:
086-297-3285 พระครูประภัศร์ธรรมวาที
วันและเวลาทำการ:
ทุกวันสำคัญทางศาสนา และวันที่ทางผู้เยี่ยมชมติดต่อขอเข้าชม
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2555
ของเด่น:
หลวงพ่อแก่นจันทน์ พระพุทธรูปจำหลักด้วยไม้จันทน์, ขันสาครสมัยก่อนไว้สำหรับย้อมจีวร ปัจจุบันใช้ประกอบในพิธีกรรมตัดจุกผูกผ้าโนราโรงครู, ผ้าประดับพนมพระ
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล

ผังจัดแสดง

โดย: ศมส.

วันที่: 31 มกราคม 2565

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดหัวเตย

            วัดหัวเตย เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดพัทลุง มีหลักฐานทางกรมศาสนาว่าได้สร้างขึ้นเป็นวัดในปี พ.ศ. 2255  และได้รับวิสุงคามสีมา ในปี พ.ศ. 2285 ซึ่งตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี สภาพวัดอยู่ในที่ราบลุ่มตั้งอยู่ริมฝั่งคลองกั้นเขตระหว่างจังหวัดพัทลุงกับจังหวัดสงขลา ซึ่งคลองสายนี้เป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญในอดีต เลยวัดหัวเตยขึ้นไปตามสายน้ำประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของชุมชนชาวจีนชื่อว่าบ้านหนองจีน หนองจีนชื่อนี้เคยเป็นชื่อตำบลในอดีตก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นตำบลโครกทราย และถูกแยกจัดตั้งเป็นตำบลใหม่คือตำบลดอนทรายในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้เองข้าวของเครื่องใช้มากรูปแบบหลายแบบไม่ว่าจะเป็นเครื่องปั้นดินเผา เครื่องถ้วยทองเหลือ  สำริด ได้ตกทอดอยู่ในวัดหัวเตยเป็นจำนวนมาก ต่อมาภายหลังวัดได้ซบเซาลง บางช่วงบางตอนก็ขาดเจ้าอาวาสดูแลรักษาวัด เป็นเหตุให้สิ่งของดังกล่าวสูญหายไปเป็นจำนวนมาก

            ในปี พ.ศ. 2546 พระปลัดสันทัด ปภสฺสโร (พระครูประภัสร์ธรรมวาที) เป็นเจ้าอาวาส  พระคุณท่านได้ให้ความสำคัญในเรื่องวัตถุโบราณส่วนที่เหลืออันเป็นสมบัติเก่าแก่ของวัดมาก จึงได้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้นในปี พ.ศ. 2555 ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 ทางสถาบันทักษิณคดีศึกษา จังหวัดสงขลา ได้เข้ามาช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ เช่น การลงทะเบียนวัตถุโบราณ   การจัดแสดงวัตถุโบราณ  การอนุรักษ์วัตถุโบราณ การให้ความรู้ ข้อมูลวัตถุโบราณ  การจัดอบรมมัคคุเทศก์ ทำให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีความสมบูรณ์พร้อมที่จะรองรับผู้เยี่ยมชมมากขึ้น ต่อมาชาวบ้านเห็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนของวัดมีความมั่นคงจึงได้นำวัตถุโบราณที่ตนเก็บรักษาอยู่มาถวายไว้ในพิพิธภัณฑ์ของวัดเพิ่มมากขึ้น  จึงทำให้วัตถุที่มีจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์มีจำนวนมาก และรูปแบบหลากหลาย เป็นที่น่าสนใจของผู้มาเยี่ยมชมเป็นอย่างยิ่ง

ข้อมูลจาก: รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจัดทำข้อมูลพิพิธภัณฑ์ภาคใต้ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคใต้ สนับสนุนโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) 2564.

ชื่อผู้แต่ง:
ประเสริฐ รักษ์วงศ์