พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสังกัดกรมศิลปากร แต่เดิมนั้นคือพิพิธภัณฑ์เขื่อนขุนด่านปราการชล ที่ก่อตั้งขึ้นจากแนวพระราชดําริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาพิพิธภัณฑ์มีสภาพทรุดโทรม สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ หรือ กปร. และกรมศิลปากรได้ดำเนินการปรับปรุงอาคารและการจัดแสดงภายใน ต่อมาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานนามพิพิธภัณฑ์ใหม่ว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนก ชลพัฒน์” มีความหมายว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจําจังหวัดนครนายก ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พัฒนาการ ชลประทานของจังหวัด ปัจจุบันพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ แบ่งนิทรรศการออกเป็น 4 ส่วน ตามอาคารจัดแสดง 4 อาคาร ได้แก่ อาคาร 1 ปฐมบทการสร้างเขื่อนขุนด่าน อาคาร 2 อดีตชลประทานถึงเขื่อนขุนด่านปราการชล อาคาร 3 พระบารมีปกเกล้าชาวนครนายก อาคาร 4 น้อมสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ แต่เดิมคือพิพิธภัณฑ์เขื่อนขุนด่านปราการชล ซึ่งเกิดขึ้นจากแนวพระราชดําริในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
โดยตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ทรงมีพระราชดําริกับคุณหญิงจรัสศรี ทีปรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายกขณะนั้น เพื่อให้ดําเนินการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์เขื่อนคลองท่าด่าน โดยจัดแสดงประวัติความเป็นมาของเขื่อนและหลักฐานทางศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านและโบราณคดีในพื้นที่จังหวัดนครนายก ในการนี้กรมศิลปากรเป็นหน่วยงานที่ออกแบบอาคารพิพิธภัณฑ์และรูปแบบการจัดแสดงนิทรรศการภายในพิพิธภัณฑ์
ต่อมาพ.ศ. 2547 สํานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ หรือ กปร. ได้จัดสรรงบประมาณประจําปีจํานวน 50,000,000 บาท สําหรับการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ การจัด แสดงนิทรรศการ และระบบสาธารณูปโภคที่จําเป็น อาคารพิพิธภัณฑ์เขื่อนขุนด่านปราการชลสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2550 ประกอบด้วยกลุ่มอาคาร 5 หลัง อาคารมีพื้นที่รวม 2,800 ตารางเมตร บนพื้นที่รวม 10 ไร่
ต่อมาอาคารพิพิธภัณฑ์เขื่อนขุนด่านปราการชลได้รับความเสียหายจากพายุฝน ประกอบกับสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดําริกับหม่อมหลวงจิรพันธุ์ ทวีวงศ์ เลขาธิการกปร. เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559 โดยให้สํานักงานกปร. ประสานกับกรมศิลปากร กรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ที่จัดตั้งภายในโครงการพัฒนาแหล่งน้ําอันเนื่องมาจากพระราชดําริให้เหมาะสม กรมศิลปากรโดยสํานักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ได้จัดทํา โครงการปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายกขึ้น เพื่อซ่อมแซมอาคารพิพิธภัณฑ์ และ ปรับปรุงนิทรรศการที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ให้สอดคล้องกับการใช้งานใหม่
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานนามพิพิธภัณฑ์ใหม่ว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนก ชลพัฒน์” มีความหมายว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจําจังหวัดนครนายก ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พัฒนาการ ชลประทานของจังหวัด
ปัจจุบันพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ แบ่งนิทรรศการออกเป็น 4 ส่วน ตาม อาคารจัดแสดง 4 อาคาร ได้แก่
อาคาร 1 ปฐมบทการสร้างเขื่อนขุนด่าน จัดแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาสภาพแวดล้อมภัยแล้ง และ อุทกภัยที่จังหวัดนครนายกประสบ รวมถึงข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทําให้เกิดปัญหาและนํามาสู่การ จัดตั้งโครงการจัดการน้ําในพระราชดําริหลายโครงการเพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
อาคาร 2 อดีตชลประทานถึงเขื่อนขุนด่านปราการชล จัดแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติของระบบ ชลประทานโลกรวมไปถึงภายในประเทศ ข้อมูลและหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ภายในจังหวัดนครนายก รวมถึงประวัติความเป็นมาของเขื่อนขุนด่านปราการชล
อาคาร 3 พระบารมีปกเกล้าชาวนครนายก จัดแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในส่วนของการเสด็จพระราชดําเนินเยี่ยมราษฎร การแก้ไขปัญหาความเป็นอยู่ของราษฎรด้วยพระอัจฉริยภาพในการบริหารจัดการน้ํา และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริอื่นๆอีกด้วย
อาคาร 4 น้อมสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ จัดแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร โครงการพระราชดําริที่โดดเด่น รวมไปถึงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพทั้งภายในจังหวัดนครนายก และกรุงเทพมหานคร
ข้อมูลจาก: https://www.facebook.com/Phraboromchanokchonlaphat
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
รัชกาลที่ 9 การจัดการน้ำ เขื่อน เขื่อนขุนด่านปราการชล
หอวัฒนธรรมนิทัศน์เมืองดงละคร
จ. นครนายก
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครนายก โรงเรียนนครนายกวิทยาคม
จ. นครนายก
พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน โรงเรียนวัดเลขธรรมกิตติ์
จ. นครนายก