พิพิธภัณฑ์กะเหรี่ยงโปว์


ชื่อเรียกอื่น:
ศูนย์วัฒนธรรมชาวเขาบ้านอีมาดอีทราย
ที่อยู่:
ภายในศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชนบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี หมู่ที่ 4 ตำบลแก่นมะกรูด อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี
โทรศัพท์:
056 511 523, 086 445 7370 (ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดอุทัยธานี)
วันและเวลาทำการ:
วัน-เวลาราชการ (โปรดติดต่อก่อนการเข้าชม)
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2558
ของเด่น:
บ้านจำลองกะเหรี่ยงโปว์, ข้อมูลวิถีชีวิต, เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์กะเหรี่ยงโปว์

นภัสวรรณ์ บุญกมุติ เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคม ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี กับวินัย กรึงไกร ตัวแทนชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมของหน่วยราชการ และพ่อวัด ปัญญา ผู้อาวุโสของชุมชน ร่วมต้อนรับผู้เข้าสำรวจพิพิธภัณฑ์กะเหรี่ยงโปว์ ในอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี สถานที่ดังกล่าวมีชื่อเรียกดั้งเดิมว่า ศูนย์วัฒนธรรมชาวเขาบ้านอีมาดอีทราย คุณนภัสวรรณ์หรือ “การ์ตูน” กล่าวถึงบทบาทของหน่วยงานต่อการทำงานร่วมกับชุมชนในการพัฒนาพื้นที่ศูนย์วัฒนธรรมให้สอดรับกับแผนการพัฒนาพื้นที่บนฐานวัฒนธรรม 

บนพื้นที่สูงมีทุนทางสังคม มีการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม และสามารถก่อให้เกิดรายได้ต่อชุมชน โดยไม่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต นั่นคือเขาสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่และการสืบสานประเพณีดั้งเดิม 

ทั้งนี้ข้อมูลในเอกสารข้อมูลการท่องเที่ยว ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงอุทัยธานี ระบุถึงประชากรกะเหรี่ยงโปว์ที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของจังหวัดอุทัยธานี ในตำบลแก่นมะกรูด อำเภอบ้านไร่ ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต ตำบลระบำ อำเภอลานสัก และของจังหวัดสุพรรณบุรี ในตำบลวังยาว ตำบลองค์พระ อำเภอด่านช้าง เป็นจำนวน 18,778 คน คุณการ์ตูนกล่าวถึงตัวเลขประชากรกะเหรี่ยงโปว์ในเฉพาะในตำบลแก่นมะกรูด ราว 2,000 กว่าราย 

พี่วินัยให้คำอธิบายถึงชีวิตความเป็นของชนกะเหรี่ยงที่พึ่งพาการทำไร่หมุนเวียน และให้ข้อมูลว่าชุมชนกะเหรี่ยงที่ตั้งรกรากในตำบลแก่นมะกรูดนั้นเคลื่อนย้ายจากอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เนื่องจากการก่อสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ การทำไร่ในปัจจุบันนี้ ได้แก่ ข้าวโพด มัน และการปลูกข้าวไร่เพื่อการบริโภคภายในครอบครัว คุณการ์ตูนกล่าวเสริมถึงบทบาทในระหว่างการสนทนา “เราจึงมุ่งส่งเสริมสวัสดิการด้านต่าง ๆ ทั้งการศึกษา ที่อยู่อาศัย อาชีพที่สร้างรายได้ บริการสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ และความยุติธรรม” แม้จะมีความพยายามในการชูวัฒนธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างรายได้มาโดยตลอด แต่คงไม่เป็นรูปธรรม จนเมื่อ พ.ศ. 2558 

จนปี 2558 เริ่มตากที่ศูนย์เราเริ่มเก็บวัตถุศิลป์ ที่เขาใช้ประกอบอาชีพของชนเผ่า โดยมีงบประมาณมามากนัก เราลงไปในชุมชน เจอสิ่งที่มีคุณ จะเก็บย่างไรให้คนได้เรียนรู้ โดยมาอยู่รวมกันที่หนึ่ง แล้วสามารถถ่ายทอดได้ 

พ่อวัด กล่าวเสริมถึงการเก็บสิ่งของว่าบางอย่างเป็นสิ่งที่ไม่ได้ใช้งานอีกแล้ว เมื่อเก็บไว้นาน ๆ ไป ก็ผุพัง จึงเห็นควรนำมารวมไว้ “เมื่อก่อน เราเข้าป่า ใช้หน้าไม้ยิ่งกระรอกกระแต แต่เดี๋ยวนี้หายากมาก”  

ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมแห่งนี้จึงกำเนิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว และอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างตัวแทนของศูนย์พัฒนาราษฏรบนพื้นที่สูงกับตัวแทนของชุมชน หวังให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมเยือนพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงปีใหม่ที่มีอากาศเย็นสบาย มีโอกาสได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านแก่นมะกรูด พี่วินัยให้ข้อมูลถึงบทบาทของศูนย์เรียนรู้แห่งนี้กับคนในด้วยเช่นกัน  

หวังให้เป็นสถานที่สร้างกระบวนการเรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณี และการแสดงให้กับเด็กและเยาวชน เพื่อเผยแพร่และสาธิตให้กับคนทั่วไปได้มาศึกษาดูงาน ...เพราะแม้เราจะเคยสร้างความร่วมมือกับสถานศึกษา โดยจัดกิจกรรมในวันเสาร์ แต่ต้องหยุดไป เพราะความไม่แน่นอนของผู้บริหารสถานศึกษาและการไม่ให้ความใส่ใจกับภูมิปัญญาท้องถิ่น โอกาสที่เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้จำกัดด้วยเช่นกัน อย่างปัจจุบันเด็ก ๆ ไม่ค่อยพูดภาษากะเหรี่ยงแล้ว เราเคยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากศูนย์มานุษฯ แต่เมื่อหมดงบประมาณ เราไม่สามารถทำงานวัฒนธรรมต่อได้เช่นกัน 

ภายในศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชนบนพื้นที่สูงและพิพิธภัณฑ์กะเหรี่ยงโปว์ 

&a
ชื่อผู้แต่ง:
ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ