พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ค่ายรามสูร


ที่อยู่:
ค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดา(ค่ายรามสูร) หมู่บ้านโนนสูง ต.โนนสูง อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี 41330
โทรศัพท์:
042-295-159
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 9.00-17.00 น.
ปีที่ก่อตั้ง:
2561
ของเด่น:
อาคารและสิ่งปลูกสร้างสมัยสงครามเย็น อาทิ โรงภาพยนตร์, สถานีเรดาร์, อุโมงค์ใต้ดินในสถานีเรดาร์
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ค่ายรามสูร

พันโทรัชกฤษ แดงไธสง ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 13 ให้ข้อมูลว่า ปี พ.ศ. 2507 มีทหารอเมริกัน มากางเต้นท์ และพักอาศัยจำนวนมากในพื้นที่ ต.โนนสูง อ.เมือง จ.อุดรธานี ซึ่งขณะนั้นอยู่ในห้วงสงครามเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และต่อมาได้ขอซื้อที่ดินจาก นางสาฯ ในราคา 400 เหรียญดอลล่าสหรัฐฯ และสร้างสำนักงาน ที่พักอาศัยถาวร มีทั้งสนามกีฬา สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมถึงสถานีเรดาร์ ตั้งเป็นวงกลม มีจำนวน 48 เสา แต่เดิมมี 3 วง ปัจจุบันเหลือวงเดียว แต่ยังมีร่องรอยอีก 2 วงอยู่

จากการสอบถามชาวบ้าน ที่เคยทำงานเป็นคนงานก่อสร้าง และพนักงานประจำแคมป์ ทราบว่า ได้มีล่ามชาวไทยเป็นผู้เสนอชื่อค่ายแห่งนี้ โดยอ้างอิงเอาตำนานโบราณของไทย คือ เมขลา-รามสูร มาเป็นเหตุผล โดยการสมมติการล่อแก้วของเมขลา และการขว้างขวานของราสูร ซึ่งเปรียบได้กับการรับ-ส่ง ของสัญญาณวิทยุในสถานีเรดาร์ ตั้งแต่นั้นมา จึงพากันเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า “ค่ายรามสูร”

ต่อมาเมื่อปี 2519 ทหารอเมริกัน ได้นำกำลังพลพร้อมยุทโธปกรณ์บางส่วน ย้ายออกจากค่ายรามสูรไป ซึ่งทำให้ยังเหลือสำนักงาน อาคารบ้านพัก และยุทโธปกรณ์ ต่างๆ รวมถึงสถานีเรดาร์ให้กับคนไทยได้ดูแลรักษา ซึ่งในขณะนั้นหน่วยกองบัญชาการทหารสูงสุด โดยผู้บัญชาการทหารสูงสุด มีนโยบายให้กองทัพบกได้ดูแลรักษา จึงปรับโอนค่ายรามสูรให้กับกองทัพบก ดูแลพื้นที่ 800 ไร่ 3 งาน 23 ตารางวา พร้อมตาข่ายเหล็กล้อมรอบ

โดยเนื้อที่ ทิศเหนือ ติดกับศูนย์พัฒนาที่ดินอุดรธานี  ทิศใต้ ติดกับบ้านโพธิ์ชัย หมู่ 9 ต.โนนสูง อ.เมือง จ.อุดรธานี  ทิศตะวันออก ติดกับทางรถไฟ สายกรุงเทพฯ-หนองคาย ทิศตะวันตก ติดกับถนนมิตรภาพทางหลวงหมายเลข 2 อุดรฯ-ขอนแก่น

จนกระทั่งเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2521 กองทัพบก ได้มีหนังสือสั่งการให้หน่วยทหารในพื้นที่ผลัดเปลี่ยนเข้ามาดูแล รักษาสิ่งปลูกสร้าง อาคาร สถานที่ และยุทโธปกรณ์ ต่างๆ ภายในค่ายฯ และปี 2526 มีคำสั่งให้ ร.13 พัน.1 เคลื่อนย้ายจากที่ตั้งปกติที่เดิม ค่ายประจักษ์ศิลปาคม มาเข้าที่ตั้งแห่งใหม่ที่ค่ายรามสูร และ ร.13 พัน.1 ได้ทำการเคลื่อนย้ายกำลังพล พร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ เข้าที่ตั้งแห่งใหม่ค่ายรามสูร

และเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2540 ได้มีประกาศ สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานชื่อค่ายทหาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อค่าย กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 13 ซึ่งมีที่ตั้งปกติถาวร อยู่ที่ บ้านหนองสร้างคำ ต.โนนสูง อ.เมือง จ.อุดรธานี ว่า “ค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดา”

ปัจจุบันค่ายรามสูร เหลือเพียงแค่ความทรงจำเท่านั้น โดยเหลือไว้เพียงแค่อาคาร สถานที่ ที่ยังคงร่องรอย ได้แก่ สนามเทนนิส, อาคารสระว่ายน้ำ, โรงยิมเนเซี่ยม, โรงภาพยนตร์, สถานีเรดาร์, ตัวอาคารกลางเรดาร์, อุโมงค์ใต้ดินในสถานีเรดาร์, เสาไฟสปอร์ตไลท์ จำนวน 3 เสา, ที่เก็บน้ำใช้ภายในฐานทัพอเมริกัน จำนวน 2 ถัง, ถังเก็บน้ำมัน ความจุ 600,000 แกลลอน จำนวน 2 ถัง, คลังมูลดินเก็บกระสุนวัตถุระเบิด, อาคารโรงผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งอาคารและสิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ ยังคงเหลืออยู่

หน่วย ร.13 พัน.1 จึงได้เขียนแผนงาน/ โครงการฯ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ใช้ชื่อ โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ค่ายรามสูร ต.โนนสูง อ.เมือง จ.อุดรธานี เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่กำหนดให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางในการท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของโลก จึงได้ให้ทุกหน่วยงานดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และให้ถือได้ว่าเป็นงานหลักที่สำคัญอย่างหนึ่ง รวมทั้งกองทัพบก โดยผู้บัญชาการทหารบก มีนโยบายด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวในหน่วยทหารให้ทุกหน่วยในสังกัดกองทัพบก จัดสถานที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในหน่วยทหารขึ้น

มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1.เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในหน่วยทหาร

2.เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์จังหวัดอุดรธานี

3.เพื่อเป็นการส่งเสริมการขายให้แก่ผู้ประกอบการ ร้านค้า หน่วยงานชุมชนต่างๆ ที่นำผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์พื้นเมือง ที่มาจำหน่ายในงานให้มียอดขายเพิ่มมากขึ้น

4.เพื่อเป็นการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น ให้แก่นักท่องเที่ยว ให้กับประชาชนในพื้นที่ และเพิ่มรายได้ในภาพรวมของจังหวัดอุดรธานี

5.เพื่อเป็นการสร้างรายได้อันเกิดจากการท่องเที่ยว ให้กับประชาชนในพื้นที่และเพิ่มรายได้ในภาพรวมของจังหวัดอุดรธานี

มีเป้าหมาย คือ ประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี นักท่องเที่ยวจากต่างจังหวัด รวมทั้งนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้อย่างต่อเนื่อง ประมาณ 3,000 คน และเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ และคาดว่าในเชิงปริมาณ มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศปีละประมาณ 3,000-4,000 คน เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับกำลังพล/ ครอบครัวบางส่วน เฉลี่ย 20,000 บาท/ปี  ในเชิงคุณภาพ ร.13 พัน.1 ค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดา เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทหารเชิงประวัติศาสตร์ สำหรับประชาชนทั่วไป ตลอดจนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ  เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดอุดรธานี ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสู่ประชาคมอาเซียน  เป็นการประชาสัมพันธ์สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์(ค่ายรามสูร) นำไปสู่แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของกองทัพบก และเป็นการอนุรักษ์สถานที่พิพิธภัณฑ์ทหารค่ายรามสูรในอดีต

โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ค่ายรามสูร มีการดำเนินการวางแผนออกแบบเพื่อปรับปรุงพื้นที่ และภูมิทัศน์โดยรอบในพื้นที่กว่า 400 ไร่ โดยมีรายละเอียดการดำเนินการ ดังนี้

1.ทางเข้าหลักสำหรับนักท่องเที่ยว

2.อาคารติดต่อสอบถาม ประชาสัมพันธ์ ขายของที่ระลึก

3.อาคารสำนักงาน ห้องประชุม โรงภาพยนตร์ จำหน่ายอาหารว่าง เครื่องดื่ม

4.อาคารจัดแสดงพิพิธภัณฑ์

5.ลานอเนกประสงค์ จัดการแสดง กิจกรรม ประเพณี

6.ปรับปรุงภูมิทัศน์ สวนสาธารณะ ทางเดิน-วิ่ง กิจกรรมทางน้ำ

7.ศูนย์ฝึกภาคสนาม

8.บ่อเลี้ยงปลา กิจกรรมตกปลา ร้านอาหาร

9.แปลงเกษตรปลอดสารพิษ

10.ปรับปรุงภูมิทัศน์ สวนป่า

โดยได้รับงบประมาณ จำนวน 14,300,000 บาท จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี แบ่งเป็น 1.งานซุ้มประตูทางเข้าโครงการ งบประมาณ 2.6 ล้านบาท เพื่อเป็นเส้นทาง เข้า-ออก พิพิธภัณฑ์ สำหรับนักท่องเที่ยว และเยาวชน นักศึกษา 2.งานปรับปรุงอาคารนายสิบ เป็นอาคารบริการข้อมูลข่าวสาร และพิพิธภัณฑ์ชั่วคราว งบประมาณ 4 ล้านบาท 3.งานก่อสร้างถนนภายในโครงการฯ งบประมาณ 7.7 ล้านบาท

พันโทรัชกฤษ แดงไธสง ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 13 เล่าให้ฟังอีกว่า พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ค่ายรามสูร ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองอุดรธานี มายังถนนมิตรภาพอุดรธานี-ขอนแก่น ประมาณ 15 กิโลเมตร โดยสถานีเรดาห์แห่งนี้มีรหัสว่า 7th RRFS คือ เป็นอันดับที่ 7 ซึ่งทั่วโลก สหรัฐอเมริกาได้สร้างสถานีเรดาร์ไว้จำนวน 7 แห่ง จึงสันนิษฐานว่า ที่จังหวัดอุดรธานี เป็นแห่งสุดท้าย

ปัจจุบันได้เปิดให้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ฯ เป็นหมู่คณะแล้วกว่า 50 คณะฯ ส่วนผู้สนใจอยากเข้าชมรายบุคคล ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำซุ้มประตูทางเข้าหลัก และปรับปรุงอาคารนายสิบเดิม เพื่อเปิดรองรับนักท่องเที่ยวโดยตรง คาดว่าจะสามารถเปิดอย่างเป็นทางการได้ในเดือนพฤษภาคม 2562 นี้ จึงจะสามารถให้เข้าชมได้ อนาคตก็อาจมีการเก็บค่าเข้าชมไม่มาก ทั้งแบบรายบุคคล และเป็นหมู่คณะฯ ซึ่งการมาเข้าชมครั้งนี้ หลักๆ จะเปิดอาคารนิทรรศการให้เข้าชม ภาพถ่ายประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่ได้มาจากประชาชนรอบๆ ค่ายฯ รวบรวมมาจัดเป็นนิทรรศการ ชมวีดีทัศน์ภาพเคลื่อนไหว พร้อมบรรยายประวัติความเป็นมา จากนั้นพาชมอุโมงค์ ที่ลึกลงไปจากพื้นดินประมาณ 2 เมตร ขนาดความกว้าง 3 เมตร ยาว 300 เมตร และจะมีการจัดกิจกรรมเสริม สำหรับผู้ที่ชื่นชอบกีฬาเอ็กซ์สตรีมมีทั้งแบบครึ่งวัน และ 1 วัน อาทิ ยิงปืนพก เรือแคนนู ยิงธนู ดื่มกาแฟสด รับประทานอาหารเที่ยง ชมภาพยนตร์ ว่ายน้ำ และยังมีศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงที่จะเปิดให้เข้าชมอีกด้วย อนาคตอาจจะมีรถนำเที่ยว หรือรถรางนำเที่ยว หรือรถจิ๊บทหารนำเที่ยวมาไว้บริการด้วย 

 

ที่มา

ข่าวอุดรออนไลน์ https://www.facebook.com/KhaoUdonOnline/posts/d41d8cd9/1845507652415081/

ชื่อผู้แต่ง:
ปณิตา สระวาสี

งานศิลปะเสี้ยวประวัติศาสตร์สงครามเวียดนามที่เลือนหายในค่ายทหารจีไอ อุดรฯ [photo essay]

เปิดตัวนิทรรศการ “PARALLEL : The Ramasun Station Art Trail” ในค่ายรามสูร ซึ่งจัดแสดงระหว่างวันที่ 8-30 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ณ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 13 ค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดา ต.โนนสูง อ.เมือง จ.อุดรธานี เพื่อตามหาประวัติศาสตร์สงครามเวียดนามที่เลือนหาย โดยศิลปินทั้งในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีและศิลปินจาก สปป.ลาว เวียดนาม รวมไปถึงศิลปินจากกรุงเทพฯ​ มาร่วมแสดงงาน 
ชื่อผู้แต่ง:
เดอะอีสานเรคคอร์ด