หอประวัติศาสตร์เกียรติยศ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ที่อยู่:
อาคารโดม ชั้น 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ
โทรศัพท์:
0-2613-3880 0-2613-3840-1
วันและเวลาทำการ:
จันทร์- ศุกร์ ในช่วงเวลา 10.00 น.-15.30 น
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
อีเมล:
archives@tu.ac.th , archives@yahoo.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2549
จัดการโดย:

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของหอประวัติศาสตร์เกียรติยศ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

“ฉันรักธรรมศาสตร์เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน” วาทะสำคัญจากบทความของอาจารย์กุหลาบ สายประดิษฐ์ ที่สะท้อนชัดถึงหลักการของประชาคมธรรมศาสตร์ 

หอประวัติศาสตร์เกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดสร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ตัวตน จิตวิญญาณของสถาบันเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และเพื่อเป็นแหล่งสืบค้นและศูนย์รวมข้อมูลของประชาคมธรรมศาสตร์

คุณสิริวุฒิ บุญชื่น นักสารสนเทศของหอประวัติศาสตร์เกียรติยศได้พาชมและอธิบายเรื่องราวของหอประวัติศาสตร์แห่งนี้ให้เราฟังว่า หอประวัติฯ แห่งนี้ได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2548 มีพื้นที่ในการจัดแสดงภายในแบ่งออกเป็น8 พื้นที่ด้วยกันในแต่ละพื้นที่ก็จัดแบ่งเรื่องราวตามแต่ละยุคของมหาวิทยาลัย 

ในพื้นที่ที่1 เป็นช่วงของการพัฒนาการพื้นที่ท่าพระจันทร์ก่อนก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต้นรัตนโกสินทร์จนถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พื้นที่นี้จะบอกเล่าเรื่องราวว่าทำไมถึงเลือกพื้นที่นี้ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ตั้งแต่การจัดหาพื้นที่ในการสร้างมหาวิทยาลัยที่บริเวณ “วังหน้า”ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพระนคร นักศึกษาจะได้เดินทางไป-มา เรียนหนังสือได้โดยง่าย อีกด้านหนึ่งจัดแสดงเสื้อเชียร์งานบอลประเพณีของมหาวิทยาลัยที่ได้รับบริจาคจากศิษย์เก่า จนถึงปีปัจจุบัน และยังจัดแสดงแถบครุยของคณะต่างๆ ซึ่งมีทั้งหมดถึง 18 คณะด้วยกัน

เมื่อเราเดินเข้าไปสู้พื้นที่ที่ 2 จะได้ยินเสียงเพลงของมหาวิทยาลัยในยุคเริ่มต้น ชื่อเพลง“เพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาว” ซึ่งจะบอกความหมายของสีประจำมหาวิทยาลัยคือ“เหลือง-แดง” ว่าหมายถึงอะไร ห้องนี้นำเสนอเรื่องราวยุคสถาปนามหาวิทยาลัย ปีพ.ศ.2477-2491 โดยในช่วงนี้ชื่อมหาวิทยาลัยยังเป็นชื่อที่ใช้ในช่วงก่อตั้ง คือ “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” 

“รัฐจะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร” คือ 1 ใน 6 หลักการปกครองประเทศของคณะราษฎรและ 1 ในคณะราษฎร คืออาจารย์ปรีดี พนมยงค์ จึงได้สถาปนามหาวิทยาลัยแห่งนี้ขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว ในปี พ.ศ.2477 ปีแห่งการก่อตั้ง การเรียนการสอนเป็นระบบตลาดวิชา คนทั่วไปสามารถเข้าเรียนได้ตามหลักการปกครองประเทศของคณะราษฎรในสมัยนั้น เรายังได้เห็นเครื่องพิมพ์ตำราเรียนเครื่องแรกของมหาวิทยาลัยที่ซื้อมาโดยอาจารย์ปรีดี เพื่อพิมพ์ประกาศของคณะราษฎรฉบับที่ 1 หลังจากนั้นอาจารย์ปรีดีได้บริจาคให้กับทางมหาวิทยาลัยเพื่อพิมพ์ตำราเรียนให้นักศึกษาได้ซื้อเพื่อนำไปอ่านด้วยตัวเองและมาสอบ เพราะนักศึกษามีจำนวนมาก แต่พื้นที่มีจำกัด

อีกด้านหนึ่งเราจะได้เห็นภาพของท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ภาพของอาจารย์ในฐานะผู้ประศาสน์การของมหาวิทยาลัย พลิกไปอีกด้านหนึ่งของรูป คือภาพของอาจารย์ปรีดีที่ถูกมองว่าเป็นกบฏ ทำให้ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ

เข้าสู่ในยุคที่ 3 ยุคเปลี่ยนสภาพการศึกษาก่อนปิดตลาดวิชา พ.ศ.2492-2502 และเปลี่ยนแปลงการปกครอง กลุ่มทหารได้เข้ามาควบคุมมหาวิทยาลัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เข้ามาเป็นอธิการบดี ไม่ต้องการให้มหาวิทยาลัยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง ชื่อของมหาวิทยาลัยจึงได้เปลี่ยนเป็น “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ทำให้นักศึกษาถูกกดดัน จึงผลิตวารสารออกมามากมาย มีวลีสำคัญๆ อย่างเช่นจากวารสารเหล่านั้น เช่น “นักศึกษาธรรมศาสตร์รักมหาวิทยาลัยของเขา เพราะมหาวิทยาลัยของเขาสอนให้รู้จักรักคนอื่นด้วย” เป็นที่มาของวลี “ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน” นั่นเอง

เข้าสู่ยุคที่ 4 ยุคปิดตลาดวิชา พ.ศ.2503-2516 เมื่อนักศึกษาเริ่มมีจำนวนมากขึ้น ทางมหาวิทยาลัยรองรับได้ไม่ไหวจึงมีการคัดเลือกเพื่อเข้ามาเรียน ซึ่งคุณสิริวุฒิได้บอกเล่าว่าเป็นยุคที่นักศึกษาเริ่มสนใจแต่ตัวเองไม่สนใจประชาชนเหมือนในยุคก่อน อาจารย์หลายท่านเรียกว่า “ยุคสายลมแสงแดด” และในยุคนี้เป็นช่วงที่มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ขึ้นมา 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาที่มหาวิทยาลัย และทรงปลูกต้นหางนกยูง ณ บริเวณหน้าหอประชุม ได้พระราชทานทำนองเพลงให้กับมหาวิทยาลัย ทางมหาวิทยาลัยจึงเปลี่ยนเพลงมหาวิทยาลัยมาเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ “ยูงทอง” ตามชื่อต้นไม้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกและถือว่าเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ยุคที่ 5 ยุคการต่อสู้ทางอุดมการณ์และการฟื้นฟูมหาวิทยาลัย พ.ศ.2517-2528 เป็นยุคที่นักศึกษาเริ่มออกมาทำกิจกรรมนอกเหนือจากการแสดงความคิดเห็นผ่านทางวารสาร ทำให้เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งในยุคนี้เป็นยุคที่มหาวิทยาลัยบอบช้ำมาก เมื่อเดินขึ้นบนชั้น 2 ความมีชีวิตชีวาก็ได้กลับมาอีกครั้ง โดยการงดกิจกรรมทางการเมือง และส่งเสริมจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น ประเพณีกีฬาฟุตบอล ด้านดนตรี ศิลปวัฒนธรรม การสัมมนาวิชาการตลอดทั้งปี และการสร้างภาพลักษณ์ของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ การสร้างอนุสาวรีย์ปรีดี พนมยงค์ และอีกครั้งกับเหตุการณ์สำคัญคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเททองหล่อพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัยและพระราชทานนามว่า “พระพุทธธรรมทิฐิศาสดา” ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการสถาปนาครบ 50 ปี

ในห้องนี้ยังแสดงจดหมายฉบับสุดท้ายจากอาจารย์ปรีดีถึงชาวธรรมศาสตร์ที่ได้แสดงข้อความกินใจในการแปรอักษรเป็นภาพอาจารย์ และข้อความ คือ 

“พ่อนำชาติด้วยสมองและสองแขน พ่อสร้างแคว้นธรรมศาสตร์ประกาศศรี

พ่อของข้านามระบือชื่อปรีดี แต่คนดีเมืองไทยไม่ต้องการ”

ในยุคถัดไปคือยุคขยายการศึกษา พ.ศ.2529-ปัจจุบัน โดยแนวคิดของท่านอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เริ่มขยายการศึกษาออกไปที่ศูนย์รังสิต โดยให้ที่ธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์เป็นการเรียนการสอนสายสังคมศาสตร์ โดยที่ศูนย์รังสิตเป็นการเรียนการสอนในสายวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ยังขยายไปที่จังหวัดลำปาง และที่พัทยา ปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีทั้ง 4 ศูนย์ด้วยกัน ซึ่งที่ศูนย์รังสิตยังได้จัดเป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ และกับเหตุการณ์สำคัญอีกเหตุการณ์หนึ่งก็คือ เป็นศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์สึนามิอีกด้วย 

ในห้องที่ 7 เป็นห้องเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งในห้องนี้ได้รวบรวมความทรงจำอันน่าภาคภูมิใจของชาวธรรมศาสตร์ คุณสิริวุฒิได้บอกกับเราว่าตลอดตั้งแต่ห้องที่ 1 จนถึงห้องที่ 6 เกิดจากคุณูปการของทั้ง 3 ท่าน คือ อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ และอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในห้องนี้ยังแสดงรายชื่อศิษย์เก่าดีเด่น และภาพศิษย์เก่าอย่าง พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา นอกจากนี้จะได้เห็นถ้วยฟุตบอลประเพณี ถ้วยจะผลัดเปลี่ยนกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย6 เดือน แล้วจึงจะนำมาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีก 6 เดือนถัดไป

ส่วนห้องสุดท้ายห้องที่ 8 เป็นห้องปิดท้าย และห้องนิทรรศการชั่วคราว ซึ่งในปัจจุบันกำลังจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับท่านอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ และยังมีพื้นที่สำหรับถ่ายทอดความรู้สึก ความทรงจำที่น่าประทับใจ ควรค่าแก่การบันทึก รวมทั้งความคิดเห็นต่างๆ ของผู้เข้าเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้

ในอาคารเดียวกันนี้ยังมีห้องอนุสรณ์สถานของท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ สามัญชนผู้ยิ่งใหญ่กับ “แนวคิดสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ประชาธิปไตย” อีกทั้งยังเป็นผู้ประศาสน์การและอาจารย์ของชาวธรรมศาสตร์ เพื่อให้เราได้ศึกษาประวัติและแนวคิดของท่านอีกด้วย

เรื่อง/ภาพ : ณัฐพัชร์ ทองคำ

สำรวจ : 20 พฤษภาคม 2551
ชื่อผู้แต่ง:
-