พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวน บ้านดงกระทงยาม


พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวนบ้านดงกระทงยาม ตั้งอยู่ในวัดบ้านใหม่ อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี ริเริ่มโดยคุณลุงวิบูลย์ งามวงศ์ โดยใช้กุฏิพระสงฆ์เดิม ซึ่งเคยเป็นบ้านของคนไทยพวนที่รื้อแล้วยกมาถวายวัดเป็นสถานที่จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ท้องถิ่นของชาวบ้านเชื้อสายไทยพวนในหมู่บ้าน  อาทิ อุปกรณ์การเกษตร อุปกรณ์ดักจับสัตว์น้ำ ที่แสดงถึงวิถีชีวิตชาวบ้านที่สัมพันธ์กับสภาพสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงในฤดูน้ำหลาก และข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ชาวบ้านบริจาค อาทิ เตียงฟากไม้ไผ่สำหรับให้หญิงคลอดนอนอยู่ไฟ โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ คือ พระพุทธรูปจำนวนสามองค์ ที่เล่าสืบกันมาว่าได้อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์พร้อมการอพยพลงมาอยู่ที่บ้านดงกระทงยาม เป็นพระพุทธรูปประทับยืนปางเปิดโลกสลักไม้หนึ่งองค์ และพระพุทธรูปปางมารวิชัยสำริดขนาดเล็กสององค์ มีพุทธลักษณะแบบศิลปะล้านช้าง นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์ใบลานจำนวนหนึ่งเป็นเรื่องทางพุทธศาสนาและตำรายาโบราณ ที่จารด้วยอักษรธรรม

ที่อยู่:
วัดบ้านใหม่ดงกระทงยาม ถนนอบต. ปจ. 2052 (เกาะสมอ-ดงกระทงยาม) ต.ดงกระทงยาม อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี
โทรศัพท์:
081-9777849 (ร.ต.ต.วิบูลย์ งามวงศ์)
วันและเวลาทำการ:
โปรดติดต่อล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ของเด่น:
พระพุทธรูปโบราณศิลปะล้านช้าง, เครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตร, อุปกรณ์ดักจับสัตว์น้ำ
จัดการโดย:
เนื้อหา:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวน บ้านดงกระทงยาม

คนลาวพวน ไทพวน หรือไทยพวน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่ถูกกวาดต้อนอพยพมาจากแถบเมืองพวน แขวงเชียงขวาง ประเทศลาว เมื่อครั้งสมัยกรุงธนบุรี  หลังจากปี พ.ศ.  2322 กองทัพกรุงธนบุรีโดยการนำทัพของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์สามารถยึดเวียงจันทน์ได้สำเร็จ และทั้งสองได้นำทัพไปตีเมืองพวนและสามารถยึดเอาเมืองพวนไว้ได้ ในคราวนั้นยังไม่มีการกวาดต้อนชาวลาวพวนให้เข้ามาอยู่ในเขตพระนครและในพื้นที่อาณาจักรกรุงธนบุรี แต่การกวาดต้อนครัวชาวลาวเวียงและลาวพวนเกิดขึ้นครั้งใหญ่ในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ภายหลังการปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ในปี พ.ศ. 2369 เป็นต้นมา ทำให้เกิดการกวาดต้อนครัวชาวลาวเข้มาในเขตพระนครหลายครั้ง มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ไว้ในปีพุทธศักราชที่ 2370, 2371, 2372, 2373, 2378, และ 2380 เพราะสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง มีพระราชประสงค์จะมิให้เมืองเวียงจันทน์ตั้งเป็นบ้านเมืองได้อีกต่อไป ทำให้ชาวลาวเวียงและลาวพวนจำนวนมากถูกกวาดต้อนเข้ามาในไทยและกระจายไปตั้งถิ่นฐานตามที่ต่างๆ อาทิ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก

ทั้งชาวลาวเวียงและลาวพวนถูกบันทึกไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์หลายฉบับว่า เป็นกำลังสำคัญในการทำส่วยเร่ว ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และส่วนทองคำที่ส่งให้รัฐ ทองคำเป็นส่วนอีกประเภทหนึ่งที่รัฐต้องการเป็นอย่างมาก เพราะเป็นวัสดุที่สำคัญในการซ่อมแซมปฏิสังขรณ์วัด รวมถึงหล่อพระพุทธรูป โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวลาวพวนผู้มีความชำนาญในการทำส่วยทอง เพราะภูมิประเทศเดิมที่เมืองพวน ประเทศลาวนั้นมีแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ ทั้งทองคำ เงินและเหลือ ทำให้ชาวลาวพวนมีความชำนาญในด้านการทำส่วยทองคำเป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นชาวลาวพวนจึงมีหน้าที่สำคัญคือทำส่วยทองคำให้แก่รัฐ กล่าวได้ว่าชาวลาวเวียงและลาวพวนนั้นมีบทบาทสำคัญอย่างมากทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและการทำนุบำรุงศาสนา มากไปกว่านั้นชาวลาวพวนเองในปัจจุบันสามารถธำรงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของตนเองไว้ได้เป็นอย่างดี ทั้งในเรื่องภาษา และธรรมเนียมประเพณีความเชื่อ

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวนบ้านดงกระทงยาม ตั้งอยู่ในวัดบ้านใหม่ อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี ริเริ่มโดยคุณลุงวิบูลย์ งามวงศ์ โดยใช้กุฏิพระสงฆ์เดิม ซึ่งเคยเป็นบ้านของคนไทยพวนที่รื้อแล้วยกมาถวายวัดเป็นสถานที่จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ท้องถิ่นของชาวบ้านเชื้อสายไทยพวนในหมู่บ้าน  อาทิ อุปกรณ์การเกษตร อุปกรณ์ดักจับสัตว์น้ำ ที่แสดงถึงวิถีชีวิตชาวบ้านที่สัมพันธ์กับสภาพสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงในฤดูน้ำหลาก และข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ชาวบ้านบริจาค อาทิ เตียงฟากไม้ไผ่สำหรับให้หญิงคลอดนอนอยู่ไฟ

โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ คือ พระพุทธรูปจำนวนสามองค์ ที่เล่าสืบกันมาว่าได้อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์พร้อมการอพยพลงมาอยู่ที่บ้านดงกระทงยาม เป็นพระพุทธรูปประทับยืนปางเปิดโลกสลักไม้หนึ่งองค์ และพระพุทธรูปปางมารวิชัยสำริดขนาดเล็กสององค์ มีพุทธลักษณะแบบศิลปะล้านช้าง นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์ใบลานจำนวนหนึ่งเป็นเรื่องทางพุทธศาสนาและตำรายาโบราณ ที่จารด้วยอักษรธรรม

ปณิตา สระวาสี เรียบเรียง

ข้อมูลจาก:
http://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/83
https://www.ldm.in.th/cases/6280
 
ชื่อผู้แต่ง:
-