ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร


แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร ถูกค้นพบโดยนายวิมล อุบล เจ้าของที่ดิน จากการขุดปรับหน้าดินเพื่อทำการเกษตร ในปี 2546 และได้แจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลหนองราชวัตรทราบ ทางองค์การบริหารส่วนตำบลหนองราชวัตรจึงได้แจ้งไปยังสำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี เข้าตรวจสอบและดำเนินการต่าง ๆ ต่อมาจึงได้ตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร เพื่อจัดแสดงโบราณวัตถุที่ขุดพบ เช่น โครงกระดูกมนุษย์โบราณ ชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ ขวานหินกะเทาะ ขวานหินขัด กำไลหิน และชิ้นส่วนภาชนะดินเผา

ที่อยู่:
บ้านหนองเปล้า ตำบลหนองราชวัตร อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรรณบุรี
โทรศัพท์:
0-3548-1016
วันและเวลาทำการ:
กรุณาติดต่อขอเข้าชมล่วงหน้า
ของเด่น:
โบราณวัตถุที่ขุดค้นพบบริเวณหนองราชวัตร
เนื้อหา:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์: แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร จังหวัดสุพรรณบุรี

ชื่อผู้แต่ง: ประเชิญ ชาวหน้าไม้ | ปีที่พิมพ์: 2554;2011

ที่มา: โครงการวิจัยการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 21 ธันวาคม 2558

รอยอดีตทรงคุณค่า หม้อสามขาทรงเสน่ห์ "แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร"

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 24 ส.ค. 2552;24-08-2009

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 21 ธันวาคม 2558


ไม่มีข้อมูล

รอยอดีตทรงคุณค่า หม้อสามขาทรงเสน่ห์ "แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร"

ในดินแดนสุวรรณภูมิ ดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ มีวัฒนธรรมต่อเนื่องกันมาตั้งแต่โบราณกาล ผ่านเวลามานับหมื่นนับพันปีจนมาถึงปัจจุบัน เรายังได้พบเห็นร่องรอยของอารยธรรมโบราณเหล่านั้นจากแหล่งโบราณคดีหลายๆแห่งในประเทศไทย โดยแหล่งโบราณคดีที่เรารู้จักกันดีนั้นก็เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท จังหวัดนครราชสีมา แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น ชื่อของ "แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร" ในอำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี อาจจะเป็นชื่อที่ไม่คุ้นหูใครต่อใครนัก และอาจถือเป็นแหล่งโบราณคดีน้องใหม่ เพราะเพิ่งมีการค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2546
ชื่อผู้แต่ง:
-

“หนองราชวัตร Missing Link“ การค้นพบรอยต่อที่สูญหาย หม้อสามขา และเคียวหิน

หากเราจะพูดถึงการค้นพบหลักฐานของมนุษย์โบราณ ที่เริ่มมี “วัฒนธรรม” เป็นครั้งแรกๆ ของประเทศไทย เราก็คงจะต้องพูดถึง ดร. เอช.อาร์.แวน เฮเกอเรน (Dr.H.R.Van Heekeren) ชาวฮอลันดา ที่ตกเป็นเชลยศึกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 2488 เขาได้พบเครื่องมือหินอายุเก่าแก่เป็นจำนวนมากบริเวณริมฝั่งแม่น้ำแควน้อย มันมากมายเสียจนทำให้เขารู้สึกว่า “ได้เดินทางย้อนกลับไปสู่โลกดึกดำบรรพ์ และได้พูดคุยกับเจ้าของเครื่องมือหินกะเทาะ
ชื่อผู้แต่ง:
-