พระราชวังเดิม (พระราชวังกรุงธนบุรี)


พระราชวังเดิม ปัจจุบันอยู่ภายในพื้นที่ทำการของกองทัพเรือ ถือเป็นพระราชวังแห่งเดียวที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อปี พ.ศ. 2311 โดยตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้ป้อมวิไชยประสิทธิ์ อาคารสำคัญที่เก่าแก่ที่สุดคือ ท้องพระโรงอายุ่กว่า 250 ปี เป็นที่ซึ่งพระเจ้าตากสินมหาราชทรงออกว่าราชการ แต่ก่อนอาคารนี้เป็นไม้ทั้งหมด แต่ปัจจุบันบูรณะซ่อมแซมด้วยการก่ออิฐถือปูน อาคารเก๋งจีนคู่หลังเล็ก ภายในจัดแสดงอาวุธจากสมัยกรุงธนบุรี อาทิ ปืนคาบศิลา ดาบญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีหมู่อาคารอื่นๆ ได้แก่ ที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ศาลศีรษะปลาวาฬ เรือนเขียว และป้อมวิไชยประสิทธิ์ ที่เคยใช้เป็นด่านเก็บภาษีปากเรือในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ที่อยู่:
กองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม ถ.อรุณอมรินทร์ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600
โทรศัพท์:
0-2475-4117, 0-2466-9355
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน เว้นวันหยุดราชการ 8.30-15.30 น.
ค่าเข้าชม:
ค่าเข้าชมบุคคลทั่วไป 60 บาท นักเรียน นักศึกษา 20 บาท การเข้าชมเป็นหมู่คณะควรทำจดหมายถึงประธานมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม
อีเมล:
info@wangdermpalace.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2539
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ทร.เดินหน้าสร้างพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระเจ้าตากฯ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 7/2/2539

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

สาระน่ารู้ กรุงธนบุรี

ชื่อผู้แต่ง: มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม | ปีที่พิมพ์: 2543

ที่มา: กรุงเทพฯ: มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พระราชวังเดิม โบราณสถานรางวัลยูเนสโก

ชื่อผู้แต่ง: ศิริรัตน์ สาโพธิ์สิงห์ | ปีที่พิมพ์: 12/23/2547

ที่มา: เดลินิวส์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พระราชวังเดิม สถานที่พระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ 3 พระองค์

ชื่อผู้แต่ง: สายสุนีย์ สิงหทัศน์ | ปีที่พิมพ์: Oct-48

ที่มา: อสท.

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

นำชมพระราชวังเดิม

ชื่อผู้แต่ง: มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม กองทัพเรือ | ปีที่พิมพ์: 2545

ที่มา:

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พระราชวังเดิม (พระราชวังกรุงธนบุรี)

ชื่อผู้แต่ง: มูลนิธิอนุรักษ์โบราณในพระราชวังเดิม | ปีที่พิมพ์: 2543

ที่มา:

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พระราชวังเดิม พ.ศ. ๒๕๔๑

ชื่อผู้แต่ง: มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม กองทัพเรือ | ปีที่พิมพ์: 2541

ที่มา:

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพระราชวังเดิม (พระราชวังกรุงธนบุรี)

พระราชวังเดิมหรือพระราชวังกรุงธนบุรีเป็นพระราชวังแห่งเดียวที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อปี พ.ศ. 2311 โดยตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้ป้อมวิไชยประสิทธิ์ พระราชวังแห่งนี้เคยเป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชสมภพ

พิพิธภัณฑ์พระราชวังเดิม ก่อตั้งขึ้นโดยมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานพระราชวังเดิม ที่จดทะเบียนเป็นมูลนิธิในวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2539โดยพลเรือเอกปัจเจก ศิริเดช ประธานกรรมการ โดยมีคุณหญิง พญ. นงนุช ศิริเดช เป็นรองประธาน และมีประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ ซึ่งตัวมูลนิธิเองไม่ได้ขึ้นตรงกับกองบัญชาการกองทัพเรือ เพียงแต่ตัวโบราณสถานที่มูลนิธิฯ เข้ามาทำการบูรณะซ่อมแซมอยู่ภายในเขตกองทัพเรือ 

วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์พระราชวังเดิม จากแรกเริ่มจนปัจจุบันยังคงยึดมั่นที่จะเปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โบราณสถาน พื้นที่ของวังเดิมสามารถย้อนเรื่องราวได้ถึงสมัยอยุธยา เนื่องจากเป็นที่ตั้งของป้อมวิไชยประสิทธิ์ เดิมเรียกว่า "ป้อมวิไชเยนทร์" สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเพื่อใช้เป็นป้อมปราการของเมืองบางกอก ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญ ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงปรับปรุงป้อมแห่งนี้ และพระราชทานนามใหม่ว่า "ป้อมวิไชยประสิทธิ์" ปัจจุบันใช้ยิงสลุตในพระราชพิธีสำคัญ และติดตั้งเสาธงเพื่อชักธงราชนาวีและธงผู้บัญชาการทหารเรือ

ภายในบริเวณของพระราชวังเดิมยังประกอบด้วย กลุ่มอาคารหลายหลังด้วยกัน อาคารหลังแรกคือ อาคารท้องพระโรง เป็นอาคารที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี เป็นอาคารที่เชื่อมต่อกันสองหลังคือ พระที่นั่งองค์ทิศเหนือ เรียกว่า ท้องพระโรง หรือ วินิจฉัย ใช้เป็นที่เสด็จออกขุนนาง กับพระที่นั่งองค์ทิศใต้เรียกกันว่าพระที่นั่งขวาง เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ ปัจจุบันกองทัพเรือใช้อาคารส่วนนี้เป็นอาคารจัดงานหรือประกอบพิธีสำคัญต่างๆ

ด้านหลังของอาคารท้องพระโรงคือ พระตำหนักของสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระตำหนักที่สร้างขึ้นในรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก เคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสมัยที่ยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ชั้นบนจัดแสดงเล่าเรื่องสมเด็จพระปิ่นเกล้า และเป็นที่ตั้งมูลนิธิฯ พร้อมมีห้องสมุดไว้ให้ศึกษาหาความรู้ ส่วนชั้นล่างเป็นการจัดแสดงเครื่องถ้วยโบราณ และเงินตราโบราณ

ด้านหน้าของอาคารท้องพระโรง คือ พระตำหนักเก๋งคู่หลังเล็กและพระตำหนักเก๋งคู่หลังใหญ่ ทั้งสองกลุ่มอาคารนี้ก่อสร้างด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมจีน ปัจจุบันอาคารหลังนี้ใช้เป็นที่จัดแสดงเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจทางด้านการรบของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ส่วนพระตำหนักเก๋งคู่หลังใหญ่จัดแสดงภาพนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจในด้านการ ทำนุบำรุงบ้านเมืองในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ถัดจากพระตำหนักเก๋งคู่หลังเล็ก คือ ศาลศีรษะปลาวาฬ ในช่วงที่มีการบูรณะพระราชวังเดิมครั้งใหญ่ได้ขุดพบฐานเดิมของอาคารที่คาดว่าน่าจะเป็นศาลศีรษะปลาวาฬเดิม ทางมูลนิธิฯจึงได้บูรณะขึ้นมาใหม่ เมื่อเข้าไปชมใกล้ๆ บริเวณฐานของอาคารศาลหลังใหม่ยังสามารถเห็นรากฐานอาคารเดิมอยู่ ในอาคารจัดแสดงกระดูกศีรษะปลาวาฬที่ขุดพบอยู่ใต้ถุนศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในคราวสำรวจพื้นที่ทางโบราณคดี ในช่วงการบูรณะครั้งล่าสุด รูปแบบของอาคารหลังปัจจุบันได้ ประยุกต์ให้เข้ากับอาคารโบราณสถานโดยรอบ โดยยังคงรูปแบบเก๋งจีน และติดกันนั้นเป็น ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภายในประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในท่าประทับยืนและถือพระแสงดาบในมือ

เรือนเขียว เดิมเป็นโรงพยาบาลเก่า เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ยกพื้นสูงจำนวน 2 หลัง ตั้งอยู่บริเวณ "เขาดิน" ซึ่งเป็นเนินดินตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ ภายในเขตกำแพงชั้นในของพระราชวังเดิม อาคารเรือนเขียวสร้างขึ้นในช่วงเวลาที่มีการปรับปรุงพระราชวังเดิม ให้เป็นโรงเรียนนายเรือและได้ใช้เป็นสถานพยาบาลของโรงเรียนนายเรือ ปัจจุบันใช้เป็นห้องฉายมัลติมีเดีย เพื่ออธิบายภาพรวมของพระราชวังเดิมก่อนที่จะเดินชมในส่วนอื่นๆ 

เนื่องจากพื้นที่พิพิธภัณฑ์อยู่ภายในบริเวณกองทัพเรือ การเข้ามาภายในบริเวณกองบัญชาการกองทัพเรือต้องปฏิบัติตามระเบียบ เนื่องจากไม่สามารถเปิดให้ผ่านเข้าออกได้ตลอดเวลา การเข้าชมพิพิธภัณฑ์จึงต้องขอให้มีการนัดหมายล่วงหน้า

เรื่อง/ภาพ เสาวลักษณ์ วรายุ

ชื่อผู้แต่ง:
-