ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 13,12 (ต.ค. 2535)
ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: คมกฤช ราชเวียง | ปีที่พิมพ์: 09-05-2549(หน้า 2)
ที่มา: ข่าวสด
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 16-06-2540
ที่มา: ข่าวสด
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: พสุธิดา ยอดแก้ว | ปีที่พิมพ์: 16-06-2540
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: พัฐอร พิจารณ์โสภณ | ปีที่พิมพ์: 30 มีนาคม 2556
ที่มา: คมชัดลึก
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 01 เมษายน 2556
ชื่อผู้แต่ง: วรรณา ชัยภูธร | ปีที่พิมพ์: 16 มกราคม 2555;16-01-2012
ที่มา: ผู้จัดการ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 06 ธันวาคม 2556
ชื่อผู้แต่ง: วีระ โพธาภิวัฒน์ | ปีที่พิมพ์: 29 มี.ค. 2556;29-03-2013
ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 14 กันยายน 2558
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
แต่เดิมนั้นพระตำหนักสวนจิตรลดา ผ่านการใช้งานในวาระต่างๆ อาทิ เป็นอาคารรับรองพระราชอาคันตุกะและจัดพระราชพิธีสำคัญๆ สืบมาจนถึงรัชกาลที่ 7 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ใช้เป็นสถานที่ทำการและที่พักของกลุ่มคณะราษฎร์ จากนั้นหน่วยงานราชการได้เข้ามาใช้พื้นที่อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเมื่อทำเป็นพิพิธภัณฑ์ตำรวจจึงได้รับการบูรณะกลับมางดงามดังเดิม อาคารพระตำหนักสวนจิตรลดาเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบ Stile Liberty หรืออาร์ตนูโวแบบอิตาเลียน ความโดดเด่นคือการประดับลวดลายปูนปั้นทั้งที่กรอบหน้าต่างและใต้ชายคา ออกแบบโดยนายมาริโอ ตามานโญ ก่อสร้างปี พ.ศ.2446 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2448
ด้วยความงดงามและความโดดเด่นของสถาปัตยกรรม นิทรรศการภายในจึงเป็นส่วนเสริม โดยในชั้นล่าง จะมีแบบจำลองพื้นที่ภายในทั้งหมดของวังปารุสกวัน แผนที่และผังบริเวณเดิมของปารุสกวัน ประวัติของผู้เป็นเจ้าของคือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ มีส่วนที่เป็นนิทรรศการหมุนเวียนในขณะนั้น คือนิทรรศการการสร้างชาติในสมัยรัชกาลที่ 6 ส่วนชั้นที่สองมีนิทรรศการเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่มีพระมหากรุณาธิคุณต่อตำรวจตระเวณชายแดน เช่น การเสด็จไปเยี่ยมตำรวจตระเวนชายแดน การเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดค่ายนเรศวร ซึ่งเป็นค่ายฝึกตำรวจพลร่ม ที่หัวหิน เมื่อปีพ.ศ. 2497 มีห้องเล็กๆ ห้องหนึ่งที่จัดแสดงแท่นติดตั้งปืนกลอากาศ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดำริให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ประดิษฐ์แท่นสำหรับติดตั้งปืนกลอากาศกับเฮลิคอปเตอร์ และพระราชทานให้แก่หน่วยตำรวจตระเวนชายแดนไว้ใช้ การจัดแสดงลักษณะนี้ทำให้ผู้เขียนอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบกับกรณีการวิพากษ์อย่างกว้างขวาง ของการจัดแสดงเครื่องบินอีโนลาเกย์(Enola Gay) ที่เคยใช้ทิ้งระเบิดเมืองฮิโรชิมา ในสงครามโลกครั้งที่สอง ของสถาบันสมิธโซเนียน
ส่วนจัดแสดงจดหมายเหตุ มีเอกสารของกรมตำรวจจัดแสดงอยู่ไม่มาก ส่วนใหญ่ที่จัดแสดงเป็นหนังสือราชการต่างๆ อาทิ คำสั่งอธิบดีกรมตำรวจเรื่องการปกครองท้องถิ่นแผนใหม่และแผนกิจการภายในสถานีตำรวจนครบาล หนังสือราชการการขอกำลังตำรวจรักษาเหตุการณ์ของหน่วยงานอื่นๆ เป็นต้น อย่างไรก็ดีทางหน่วยงานของพิพิธภัณฑ์กำลังรวบรวมเอกสารสำคัญต่างๆ เพื่อขยายงานด้านจดหมายเหตุ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งภารกิจของพิพิธภัณฑ์ตำรวจที่อยู่ในระยะเริ่มแรก
อาคารหลังที่สองเป็นอาคารใหม่ที่สร้างภายในพื้นที่เขตวังปารุสกวัน ซึ่งเดิมเป็นที่ทำการของกองบัญชาการตรวจนครบาลและกองตำรวจสื่อสาร เนื่องจากอาคารของกองตำรวจสื่อสารมีสภาพทรุดโทรมมาก จึงให้รื้อออกและสร้างเป็นอาคารกระจกรูปแบบทันสมัย เพื่อใช้จัดแสดงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีพื้นที่จัดแสดงบริเวณชั้น 1 และ 2
ส่วนแรกเป็นห้องชมวีดิทัศน์ นำเสนอประวัติและพัฒนาการของพื้นที่วังปารุสกวัน เพื่อทำเป็นพิพิธภัณฑ์ตำรวจ จากนั้นแบ่งโซนการจัดแสดง 6 โซน โดยโซนแรก “จากอดีตถึงปัจจุบันของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์” นำเสนอประวัติความเป็นมาของตำรวจในหน้าที่ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ในยุคสมัยต่างๆ พร้อมกับจัดแสดงวัตถุประกอบ อาทิ เครื่องแต่งกายตำรวจในยุคสมัยต่างๆ เครื่องประดับยศ หมวก ตราหน้าหมวกตำรวจ นกหวีดตำรวจ แหวนอัศวิน ค้อนตอกหมุดธงชัยเฉลิมพล รถฮาร์เลย์เดวิดสัน ที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาท หุ่นจำลองพิธีถวายสัตปฏิญาณตนและสวนสนามของตำรวจ นอกจากนี้นำเสนอการเรียนการสอนของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ซึ่งผู้ชมสามารถชมวิดีโอเพื่อให้เห็นบรรยาศจริงของการฝึก
โซนที่สอง นำเสนอให้เห็นว่าตำรวจคอยดูแลทุกข์สุขประชาชนตลอด 24 ชม. โดยแสดงถึงภารกิจอันหลากหลายของตำรวจในบทบาทหน้าที่ต่างๆ อาทิ ตำรวจท่องเที่ยว หน่วยอรินธราช ตำรวจจราจร ตำรวจม้า ตำรวจตระเวณชายแดน
โซนที่สาม เป็นการสดุดีและเชิดชูวีรกรรมของตำรวจไทย โดยผนังทางเดินทั้งสองด้าน เต็มไปด้วยภาพถ่ายเหตุการณ์สำคัญๆ และภาพถ่ายนายตำรวจที่สละชีพเพื่อพิทักษ์สันติราษฎร์ เช่น หมวดตี้ วีรบุรุษพลร่มบนสมรภูมิใต้
โซนที่สี่ จำลองบรรยากาศของการกระทำผิดและมีจุดรับแจ้งเหตุ พยายามให้ผู้ชมมีส่วนร่วมกับการจัดแสดง โดยจำลองการแจ้งเหตุร้ายให้ผู้ชมสามารถยกหูโทรศัพท์เพื่อเรียนรูลักษณะการการรับแจ้งเหตุ ตวมถึงคำถามของตำรวจเมื่อประชาชนแจ้งเบาะแส ถือเป็นการสร้างให้ผู้ชมตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย
โซนที่ห้า เรียกว่าสน.ราชดำเนิน นำเสนอการปฏิบัติงานสืบสวนสอบสวน เพื่อคลี่คลายคดีต่างๆ แสดงให้เห็นส่วนงานต่างๆ ภายในสถานีตำรวจ และจัดแสดงข้าวของต่างๆ ที่ยึดได้จากการกระทำความผิด อาทิ ไพ่ เตาหลอมโลหะทำสตางค์ปลอม แผ่นหน้ากากสำหรับใช้โจรกรรม บล็อกพิมพ์ทำธนบัตรปลอม สนับมือ มีดพกปลายแหลม ปืนคาร์ไบน์ที่ยึดได้จากโจรปล้นตลาดท่าเรือเมื่อปี พ.ศ. 2508 เป็นต้น
โซนที่หก เป็นสถานีทดสอบสำหรับผู้เยี่ยมชม มีมุมเล่นเกมทดสอบทักษะความรู้และการจดจำรูปพรรณสันฐานของคนร้ายเพื่อที่จะแจ้งตำรวจได้ถูกต้อง
อย่างไรก็ดีจริงๆ แล้วพิพิธภัณฑ์ตำรวจก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2473 เมื่อกระทรวงมหาดไทยจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ตำรวจเป็นครั้งแรกโดยขึ้นกับกรมตำรวจภูบาล มีวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมวัตถุของกลางทุกชนิด เพื่อให้ตำรวจใช้ในการศึกษาค้นคว้า ไม่ได้เปิดให้คนทั่วไปได้เข้าชม แต่มาเปิดให้คนทั่วไปเข้าชมจริงๆ เมื่อราวปี พ.ศ. 2496 ในสมัย พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นอธิบดีตำรวจ โดยย้ายที่ทำการไปรวมกับกองทะเบียนรถยนต์ใกล้กับสนามมวยราชดำเนิน และ ราวปี พ.ศ. 2499 ได้ย้ายที่ทำการไปที่กรมตำรวจ ปทุมวัน มีการปรับปรุงลักษณะงานพิพิธภัณฑ์ให้ก้าวหน้าขึ้น มีการจัดแสดงงานอาชญากรรมที่บริเวณกรมตำรวจ ปทุมวัน จัดประกวดภาพถ่ายเกี่ยวกับคดีอาชญากรรม เป็นต้น จนปี พ.ศ. 2533 พิพิธภัณฑ์ตำรวจได้ย้ายจากอาคาร 18 กรมตำรวจ ปทุมวัน ไปอยู่ที่วังปารุสกวัน โดยขึ้นกับสำนักงานสารนิเทศ กรมตำรวจ
ความก้าวหน้าของพิพิธภัณฑ์ตำรวจ ขึ้นลงตามความสนใจและยุคสมัยของผู้บังคับบัญชา จนปี พ.ศ. 2550 พิพิธภัณฑ์ได้รับอนุมัติงบประมาณให้ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์สำนักงานตำรวจแห่งชาติหลังใหญ่ และปรับปรุงซ่อมแซมตำหนักจิตรลดา และงานภูมิทัศน์ภายในพื้นที่เขตวังปารุสกวัน
การเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ตำรวจนอกเหนือการได้รู้จักบทบาทผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ของตำรวจแล้ว ยังเห็นอีกบทบาทของตำรวจที่ไม่ใช่หน้าที่จับโจรผู้ร้าย แต่เป็นหน้าที่การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม ส่งต่อประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของตำรวจให้ประชาชนได้ระลึกถึงและจดจำคุณงามความดี ท่ามกลางเรื่องราวด้านลบของตำรวจที่ปรากฎในหน้าข่าวอยู่เนืองๆ
ปณิตา สระวาสี /เขียน
ข้อมูลจาก:
การสำรวจภาคสนามเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2558
พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ตำรวจ,มปป.
รีวิวของพิพิธภัณฑ์ตำรวจ
วังปารุสกวัน ประกอบด้วยอาคารสำคัญ 2 หลัง ได้แก่ พระตำหนักสวนปารุสกวัน เป็นสถาปัตยกรรมแบบโรแมนติก เดิมเป็นอาคาร 2 ชั้น ต่อมาต่อเติมเป็นอาคาร 3 ชั้น การใช้สอยแต่เดิมชั้นล่างเป็นห้องโถงใหญ่ ใช้เป็นท้องพระโรง มีห้องรับแขก ห้องเสวย และห้องชุดสำหรับรับรองแขก มีเฉลียงใหญ่สำหรับเป็นที่ประทับพักผ่อน ชั้น 2 และ 3 เป็นที่ประทับพระตำหนักสวนปารุสกวัน เป็นพระตำหนักที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ในวโรกาสที่ทรงสำเร็จวิชาการทหารจากประเทศรัสเซียและเสด็จนิวัติประเทศไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามแก่พระตำหนักใหม่นี้ว่า "พระตำหนักสวนปารุสกวัน" (แปลว่า "สวนมะปราง") และจัดการพิธีขึ้นพระตำหนักใหม่ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2449
พระตำหนักอีกหลังหนึ่งคือ พระตำหนักสวนจิตรลดา เดิมเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ เพื่อแลกเปลี่ยนกันที่ดินบริเวณท่าวาสุกรี พระตำหนักนี้เป็นอาคาร 2 ชั้น รูปแบบสถาปัตยกรรม Stile liberty หรืออาร์ตนูโวแบบอิตาลี ผนังด้านนอกประดับลวดลายปูนปั้นอย่างงดงาม หลังคาทรงปั้นหยาหลายระนาบมุงกระเบื้องว่าว กันสาดหน้าต่างเป็นรูปโค้ง หน้าต่างตอนบนเป็นช่องแสงไม้ฉลุลายทุกบาน พระตำหนักนี้นอกจากการตกแต่งที่ละเอียดประณีตแล้ว ยังมีลักษณะเด่นคือมีมุขสำหรับเทียบรถยนต์ ซึ่งเป็นพาหนะที่เริ่มมีใช้ กันในยุคนั้น ส่วนการใช้สอยดั้งเดิมนั้น ชั้นล่างเป็นท้องพระโรง ชั้นบนเป็นที่ประทับ
จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ได้ประทับ ณ วังปารุสกวันจนตลอดพระชนมายุ ต่อมา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 ทางการได้เวนคืนวังปารุสกวันเพื่อเป็นที่ทำการของทางราชการ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยพระตำหนักสวนปารุสกวันใช้ เป็นที่ทำการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และพระตำหนักสวนจิตรลดาใช้เป็นพิพิธภัณฑ์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ข้อมูลจาก : สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์. 174 มรดกสถาปัตยกรรมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับบลิชชิ่งจำกัด (มหาชน), 2547.
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
พาทัวร์ "พิพิธภัณฑ์ตำรวจ" บันทึกประวัติศาสตร์ตำรวจไทย
นับเป็นพระกรุณาธิคุณในการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด "พิพิธภัณฑ์ตำรวจ" วังปารุสกวัน เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา โดยมี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) กราบบังคมทูลรายงาน และผู้บริหารสำนักงานตำรวจแห่งชาติร่วมพิธี พิพิธภัณฑ์ตำรวจแห่งนี้ บันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ตำรวจไทย อันควรค่าแก่การศึกษา หลังพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เหยี่ยวข่าว "มติชน" ขันอาสาเป็นแถวหน้าพาชมย้อนตำนานผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ เที่ยวชม"พิพิธภัณฑ์ตำรวจไทย"
พิพิธภัณฑ์ตำรวจไทย บริเวณวังปารุสกวัน ที่ตั้งอยู่ถนนราชดำเนินนอก ภายในกองบัญชาการตำรวจนครบาล ถือเป็นจุดศูนย์รวมของประวัติศาสตร์ความเป็นมาของการตำรวจไทยตั้งแต่สมัยการก่อตั้งกรมตำรวจในอดีต จนถึงปัจจุบัน โดยพิพิธภัณฑ์ดังกล่าวตั้งอยู่ภายในบริเวณวังปารุสกวัน ถนนราชดำเนินนอก ซึ่งตั้งอยู่ภายในกองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติในปัจจุบันมีประวัติศาสตร์ความเป็นมา พิพิธภัณฑ์ตำรวจไทย เริ่มมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5'พิพิธภัณฑ์ตำรวจ'รากเหง้าตร.ไทย
"พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน" แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ตำรวจไทย !! เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ที่ผ่านมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมเสด็จฯ ทอดพระเนตรสิ่งของจัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ โดยมี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รองผบ.ตร. และพล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามเสด็จแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
วังปารุสกวัน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ตำรวจ
พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณ
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
จ. กรุงเทพมหานคร