พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เดิมอยู่ในกำกับดูแลของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านหน้าอาคารรัฐสภา จัดเป็นพิพิธภัณฑ์พระมหากษัตริย์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 พระราชทานสิ่งของส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนำมาจัดแสดง และเปิดให้ประชาชนเข้าชมในปี พ.ศ. 2523 ต่อมาเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2544 สถาบันพระปกเกล้าได้รับโอนอำนาจการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ฯ มาอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของสถาบันพระปกเกล้า และได้รับความอนุเคราะห์จากกรมโยธาธิการให้ใช้อาคารอนุรักษ์ 3 ชั้น จัดตั้งพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้น แต่เดิมอาคารดังกล่าวคือที่ทำการของห้างยอน แซมป์สัน แอนด์ ซัน (John Sampson & Son Limited) ต่อมากรมศิลปากรจึงได้ขึ้นทะเบียน และกำหนดเขตที่ดินและอาคารเป็นพื้นที่โบราณสถาน กรมโยธาธิการได้เช่าอาคารแห่งนี้จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จนถึง พ.ศ. 2544 จึงได้มอบสิทธิการเช่าให้แก่สถาบันพระปกเกล้า เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2544 เพื่อใช้เป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงตกแต่งอาคารแล้วเสร็จในปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ภายในจัดแสดงพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจด้านต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 5/25/2546
ที่มา: ไทยรัฐ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 12/7/2545
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 10/17/2544
ที่มา: ไทยรัฐ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 12/8/2545
ที่มา: ไทยรัฐ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 12/12/2545
ที่มา: ผู้จัดการ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 8/30/2546
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 11/12/2544
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: บัณฑิต จุลาสัย | ปีที่พิมพ์: 2548
ที่มา: กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ประภัสสร โพธิ์ศรีทอง | ปีที่พิมพ์: 2536
ที่มา: พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการพิพิธภัณฑ์ไทย. กรมศิลปากร
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: บัณฑิต จุลาสัย,พีรพงศ์ จันทรา | ปีที่พิมพ์: 2545
ที่มา: นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า
แหล่งค้นคว้า: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 28 มิ.ย. 2556;28-06-2013
ที่มา: ผู้จัดการ
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 01 กรกฎาคม 2556
ชื่อผู้แต่ง: โยธิน อยู่จงดี | ปีที่พิมพ์: 4 ส.ค. 2556;04-08-2013
ที่มา: โพสต์ทูเดย์
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 05 สิงหาคม 2556
ชื่อผู้แต่ง: ยุรชัฏ ชาติสุทธิชัย | ปีที่พิมพ์: 13 มิ.ย. 2554;13-06-2011
ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 06 มิถุนายน 2557
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เดิมอยู่ในกำกับดูแลของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านหน้าอาคารรัฐสภา จัดเป็นพิพิธภัณฑ์พระมหากษัตริย์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 พระราชทานสิ่งของส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนำมาจัดแสดง และเปิดให้ประชาชนเข้าชมในปี พ.ศ. 2523
ต่อมาเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2544 สถาบันพระปกเกล้าได้รับโอนอำนาจการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ฯ มาอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของสถาบันพระปกเกล้า และได้รับความอนุเคราะห์จากกรมโยธาธิการให้ใช้อาคารอนุรักษ์ 3 ชั้น จัดตั้งพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้น
แต่เดิมอาคารดังกล่าวคือที่ทำการของห้างยอน แซมป์สัน แอนด์ ซัน (John Sampson & Son Limited) ต่อมากรมศิลปากรจึงได้ขึ้นทะเบียน และกำหนดเขตที่ดินและอาคารเป็นพื้นที่โบราณสถาน กรมโยธาธิการได้เช่าอาคารแห่งนี้จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จนถึง พ.ศ. 2544 จึงได้มอบสิทธิการเช่าให้แก่สถาบันพระปกเกล้า เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2544 เพื่อใช้เป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงตกแต่งอาคารแล้วเสร็จในปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการให้วันที่ 7 ธันวาคม 2545
พื้นที่พิพิธภัณฑ์ฯ ประกอบด้วยอาคาร 2 อาคารหลัก คือ
1.อาคารอนุรักษ์ (จัดแสดงนิทรรศการถาวรที่เกี่ยวกับพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ พระจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7)
2.อาคารรำไพพรรณี (จัดแสดงนิทรรศถาวร และนิทรรศการหมุนเวียนโดยศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองและพัฒนาการพระชาธิปไตยไทย)
รีวิวของพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ภาพถ่าย ข้าวของเครื่องใช้ อันเกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมใช้ข้อมูลและเรื่องราวของเหตุการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองเพื่อเป็นบริบทในการสร้างความเข้าใจ ความคิด ความรู้สึกและวิถีชีวิตของพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์นี้ จนถึงเรื่องการดำรงพระชนม์ชีพหลังจากทรงสละราชสมบัติและเสด็จสวรรคต ณ ประเทศอังกฤษพระราชกรณียกิจที่สำคัญ อาทิ ด้านการปกครอง ด้านการพัฒนาประเทศ การศาสนา การศึกษา การทหาร การสื่อสาร และคมนาคม ตลอดจนการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ การสร้างระบบราชการให้เป็นระบบคุณธรรม (ก.พ.) มีการวางระเบียบกำหนดให้เป็นข้าราชการอาชีพไม่แสวงหาประโยชน์ด้านอื่นๆ มีระบบสรรหาที่โปร่งใส การเตรียมความพร้อมของประชาชนสำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น (เทศบาล) รวมทั้งพระราชจริยวัตร และพระราชนิยมส่วนพระองค์ด้านการภาพยนตร์ การดนตรี การกีฬา และการทรงพระอักษร โดยเฉพาะความสนพระทัยเรื่องเยาวชนดังข้อความตอนหนึ่งของนิทรรศการที่ว่า "ทรงสอนให้ประหยัด มีระเบียบวินัย ประพฤติดี รักษาเกียรติยศวงศ์ตระกูล รู้จักนำสิ่งที่เห็นมาประยุกต์ใช้ในชีวิต ทรงสนับสนุนให้เล่นกีฬา เพื่อสุขภาพ ให้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา
อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นผลงานการออกแบบของนายชาร์ล เบเกอร์แลง อิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบนีโอคลาสสิค ก่อสร้างปี พ.ศ.2449 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 5) ปัจจุบันกรมศิลปากร ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติแล้ว
ทางพิพิธภัณฑ์มีบริการนำชมสำหรับหมู่คณะ ทุกอังคาร ศุกร์ อาทิตย์ เวลา 14.00 น. ร้านจำหน่ายหนังสือและของที่ระลึก ศูนย์ข้อมูลพระปกเกล้าศึกษาและจดหมายเหตุ กิจกรรมการศึกษา บริการรถเข็นสำหรับผ้าสูงอายุและผู้พิการ (ติดต่อประชาสัมพันธ์) มีการฉายภาพยนตร์ฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเดือนละ 4 ครั้ง
ข้อมูลจาก : แปลน รีดเดอร์ส. 100 พิพิธภัณฑ์กรุงเทพฯ-ปริมณฑล: โลกกว้างอยู่ไม่ไกล. กรุงเทพฯ : แปลนพริ้นติ้งแอนด์พับลิงชิ่ง, 2546. หน้า 22.
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระปกเกล้าฯ...แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์การเมืองไทย
การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 มีเรื่องราว บุคคล และสถานที่ ที่น่าสนใจเรียนรู้ ในยุคที่คนไทยรุ่นใหม่ไม่รู้ประวัติศาสตร์ชาติตัวเอง เด็กไทยไม่ได้เรียนประวัติศาสตร์ คนในชาติไม่มีสำนึกประวัติศาสตร์ ไม่เห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์ ไม่รู้ความเป็นมาของชาติบ้านเมือง ไม่รู้ที่มาของตัวตนในวันนี้ ไม่รู้ว่าวันนี้ เป็นผลจากอดีตและประวัติศาสตร์อย่างไร หลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ มีหลายแหล่งหลายรูปแบบ แม้แต่ตามถนนพินิจเมืองไทย ผ่านพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระปกเกล้าฯ
เด็กรุ่นใหม่มักตั้งคำถามว่าเราเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไปเพื่ออะไร เรื่องราวที่ผ่านมาในอดีตไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไข เรื่องราวในอดีตทำให้เราได้เรียนรู้ว่าโลกก็เป็นอย่างนี้มานานแล้ว และจะเป็นเช่นนี้ต่อไปซ้ำซากหากเราไม่นำเอาบทเรียนในอดีตมาปรับปรุงสิ่งใหม่ๆ ในอนาคต โดยเฉพาะเรื่องราวเหตุบ้านการเมืองที่เป็นอยู่ เราจึงเดินทางไปที่ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือที่คนทั่วไปเรียกกันสั้นๆ ว่า พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า นั้นตั้งอยู่ที่เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เราเลือกเดินทางด้วยเส้นทางเรือแสนแสบจะได้ไม่กังวลเรื่องรถติด อาจจะเหม็นน้ำนิดแต่ก็ถือว่าคลองแสนแสบนั้นดีกว่าแต่ก่อนมากมายสัมผัสวีถีชาวบางกอกผ่าน “พิพิธภัณฑ์” รอบเกาะรัตนโกสินทร์
ประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์ดีๆน่าสนใจมากมาย แต่น่าแปลกที่พฤติกรรมคนไทยกับไม่ค่อยนิยมเข้าพิพิธภัณฑ์สักเท่าไหร่ อย่างไรก็ดีการเที่ยวชมสำหรับคนชอบเที่ยวพิพิธภัณฑ์หรือคนที่สนใจจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆนั้น มันมีเสน่ห์และความเพลิดเพลินที่น่าสนใจไม่น้อย สำหรับทริปนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ฉันเลือกเที่ยวพิพิธภัณฑ์เป็นหลักร่วมไปกับสิ่งน่าสนใจรอบๆเกาะรัตนนโกสินทร์ เพื่อเที่ยว-ชม แหล่งเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ที่อยู่บริเวณรอบๆ เกาะรัตนโกสินทร์แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ประวัติศาสตร์และโบราณคดี บุคคลสำคัญ
พิพิธภัณฑ์สัตววิทยา
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์บ้านขุนศึก
จ. กรุงเทพมหานคร