พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา กรุงรัตนโกสินทร์


พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยากรุงรัตนโกสินทร์ ก่อตั้งโดยคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายในพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วยตู้จำลองสภาพของธรรมชาติที่เคยปรากฏในบริเวณพระนคร สภาพป่า ความเป็นอยู่ในยุคต้น ๆ ของกรุงรัตนโกสินทร์ และได้รวบรวมตัวอย่างพืชและสัตว์ที่มีหลักฐานว่าเคยพบในบริเวณกรุงเทพมหานครไว้ให้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้า มีการรวบรวมสิ่งของบริจาค เช่น เขาสัตว์ กระโหลกสัตว์ หนังสัตว์ที่หายากและสิ่งของธรรมชาติอื่น ๆ

ที่อยู่:
ตึกเทียมคมกฤส คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์:
0-2579-0170
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์ -ศุกร์ 8:30-16:00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
prateep.du@ku.ac.th
ปีที่ก่อตั้ง:
2525
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ชมพันธุ์ไม้และสัตว์ป่าที่ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ”

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 15 ธันวาคม 2552

ที่มา: ผู้จัดการ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ชม-เรียนรู้ วิถีธรรมชาติกลางกรุงฯ ณ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา” ม.เกษตร บางเขน

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 9 ม.ค. 2559;09-01-2016

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 04 มีนาคม 2559


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา กรุงรัตนโกสินทร์

สภาพป่าธรรมชาติในประเทศไทยมีจุดเด่นอยู่ที่ความหลากหลายทางชีวภาพ ปัจจุบันจุดเด่นนี้เริ่มจะเลือนราง เพราะพื้นที่ป่ากระจายเป็นผืนเล็กๆ ไม่ต่อเนื่องเหมือนอย่างแต่ก่อน ส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่าตลอดจนแมลงที่อยู่อาศัย ถ้าต้องการรู้จักป่าและสัตว์ป่าที่อาศัยในประเทศไทยให้มากยิ่งขึ้น ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยากรุงรัตนโกสินทร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นแหล่งเรียนรู้แห่งหนึ่งซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับป่าไว้หลายด้าน 

ถ้าเดินเข้ามาจากชั้นล่างของอาคารตามทางลาดขึ้นไปจะได้เห็นป่าทุกประเภทที่มีอยู่ในประเทศไทยจำลองมาไว้ในที่เดียว เริ่มตั้งแต่ระดับต่ำสุด คือป่าบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลไล่ขึ้นไปจนถึงป่าบนภูเขา ได้แก่ ป่าพรุ ป่าชายเลน ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา และป่าดิบชื้น ในแต่ละพื้นที่จัดแสดงป่าจะมีสัตว์สตัฟฟ์หรือสัตว์จำลองชนิดที่อาศัยอยู่ในป่านั้นประกอบอยู่เพื่อสร้างบรรยากาศให้ใกล้เคียงของจริง ส่วนหนึ่งจำลองป่าไทยในอดีตและชีวิตของคนสมัยก่อนที่ยังพึ่งพิงธรรมชาติ โดยเห็นได้จากวัสดุที่นำมาสร้างบ้าน เครื่องมือเครื่องใช้ อาหารการกิน และยารักษาโรค อีกส่วนหนึ่งจัดแสดงเขาสัตว์ป่าที่พบในประเทศไทย เช่น กระทิง ควายป่า สมัน ละมั่ง เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีนกสตัฟฟ์พันธุ์ต่างๆจัดแสดงอยู่ในตู้กระจกสี่ด้านเดินดูได้รอบ

ตรงกลางห้องมีบอร์ดนิทรรศการขนาดใหญ่เรียงกันเป็นแนวเฉียง เนื้อหาอธิบายถึงประเภทของป่าในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ ป่าดงดิบ และ ป่าผลัดใบ สำหรับป่าดงดิบแบ่งย่อยออกเป็น ป่าโกงกาง ป่าพรุน้ำจืด ป่าชายหาด ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง ป่าสนเขา และป่าดงดิบเขา ส่วนป่าผลัดใบแบ่งเป็น ป่าเบญจพรรณหรือป่าผสมผลัดใบ ป่าเต็งรัง ป่าทุ่ง และทุ่งหญ้าเขตร้อน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ป่าแต่ละประเภทมีพืชพันธุ์ที่แตกต่างกันได้แก่ ปริมาณน้ำฝน สภาพอากาศ และชนิดของดิน

นอกจากเรื่องราวเกี่ยวกับป่าแล้ว ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ยังมีห้องนิทรรศการหมุนเวียนและบอร์ดนิทรรศการหมุนเวียนกลางห้องด้วย บอร์ดหนึ่งเป็นเรื่องการปลูกสวนป่า จุดประสงค์หลักเพื่อเศรษฐกิจและการอนุรักษ์ ส่วนอีกบอร์ดหนึ่งเป็นเรื่องราวของนกแอ่น ชนิดของนกแอ่น การสร้างรัง และประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 

ส่วนห้องนิทรรศการหมุนเวียนจัดแสดงเรื่องราวของสัตว์บางชนิด มีสัตว์สตัฟฟ์และคำอธิบายประกอบ บนผนังมีบอร์ดอธิบายเรื่องราวของเขาสัตว์และขนสัตว์ อาจารย์ประทีป ด้วงแค อาจารย์ประจำคณะวนศาสตร์เล่าว่าบางครั้งหน่วยงานของรัฐ เช่น เจ้าหน้าที่ป่าไม้จะส่งหลักฐาน เช่นชิ้นเนื้อที่จับได้จากพวกลักลอบล่าสัตว์ป่ามาให้ช่วยดูว่าเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองหรือไม่ ถ้าเป็นชิ้นเนื้อติดขนก็จะพิสูจน์ได้จากลักษณะของขนที่แตกต่างกันในสัตว์แต่ละชนิด

เรื่อง/ภาพ เกสรา จาติกวนิช

สำรวจ : 7 มีนาคม 2551

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชม-เรียนรู้ วิถีธรรมชาติกลางกรุงฯ ณ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา” ม.เกษตร บางเขน

ใครๆ ก็รู้ว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่และมีบรรยากาศร่มรื่น และนอกจากจะเป็นสถานศึกษาแล้ว มหาวิทยาลัยแห่งนี้ก็นับเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวด้วยเหมือนกัน เนื่องจากเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์มากมายให้ได้เข้ามาท่องเที่ยวและศึกษาหาความรู้ อีกทั้งยังมีงานเทศกาลประจำปี อาทิ งานเกษตรแฟร์ งานเทศกาลลอยกระทง ที่กลายมาเป็นจุดท่องเที่ยวน่าสนใจของทุกปีอีกด้วย
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชมพันธุ์ไม้และสัตว์ป่าที่ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ”

เราเคยเรียนเคยท่องกันมาตอนเด็กๆใช่ไหมว่าป่าของแต่ละภาคในประเทศไทยเป็นอย่างไร ป่าพรุ ป่าเต็งรัง ป่าชายเลน และอีกหลายๆป่าในประเทศล้วนแล้วแต่มีลักษณะที่ไม่เหมือนกันรวมทั้งสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ก็ไม่เหมือนกันด้วย จำกันได้หรือยัง..ถ้ายังฉันจะพาไปย้อนระลึกนึกถึงสิ่งที่เคยจำๆท่องๆกันมาเมื่อสมัยประถมกันที่ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา กรุงรัตนโกสินทร์” พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ชั้นล่างของตึกเทียมคมกฤส คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-