พิพิธภัณฑ์พระอุบาลีมหาเถระ


ที่อยู่:
วัดธรรมาราม ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โทรศัพท์:
082-6805337 ติดต่อ อาจารย์สามิต อยู่วัฒนา
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน เวลา 10.00-16.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2556
ของเด่น:
สมณกิจของพระอุบาลีมหาเถระในการเผยแพร่พุทธศาสนานิกายสยามวงศ์ในแผ่นดินลังกาสมัยกรุงศรีอยุธยา
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

เมื่อแผ่นดินสิ้นสูญ...พระศาสนา !

ชื่อผู้แต่ง: ศรัณย์ ทองปาน | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: วารสารเมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 22 มกราคม 2557


ไม่มีข้อมูล

ครบรอบ 260 ปี นิกายสยามวงศ์ในแผ่นดินลังกา ที่พิพิธภัณฑ์พระอุบาลีมหาเถระ

พิพิธภัณฑ์พระอุบาลีมหาเถระ ตั้งอยู่ภายในวัดธรรมาราม ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฟากตะวันตกนอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา  ก่อตั้งขึ้นเพื่อรำลึกถึงพระอุบาลีมหาเถระและเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 260 ปี แห่งการฟื้นฟูพระพระพุทธศาสนานิกายสยามวงศ์ในแผ่นดินลังกา โดยทำพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการเมื่อ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

พระอุบาลีมหาเถระ เป็นพระสงฆ์ที่มีชีวิตอยู่ในรัชสมัยรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในยุคนั้นเป็นช่วงเวลาที่พระพุทธศาสนาภายในศรีลังกาเสื่อมสิ้น ไม่มีสมณะเพศให้เห็น ขาดแคลนพระสงฆ์ที่จะสืบทอด กษัตริย์ศรีลังกาจึงส่งคณะทูตานุทูตเข้ามาเจริญพระราชไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา และขอพระราชทานคณะสงฆ์จากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เพื่อไปบำรุงพุทธศาสนาในศรีลังกา

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ โปรดคัดเลือกพระสงฆ์ที่มีความรู้ความสามารถทั้งในด้านวัตรปฏิบัติและเชี่ยวชาญท้องพระไตรปิฏก คือพระอุบาลีมหาเถระ ซึ่งขณะนั้นจำพรรษาอยู่วัดธรรมาราม โดยจัดคณะสมณทูตมีพระอุบาลีเป็นหัวหน้า พร้อมด้วยพระอริยมุนี  พระสงฆ์อีก18 รูป และสามเณร 8 รูป เดินทางมุ่งหน้าไปสืบพระพุทธศาสนายังศรีลังกา เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 1 ค่ำ เดือนยี่ ปี พ.ศ. 2294 อย่างไรก็ดีการเดินทางครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จเรือประสบเหตุเกยตื้นที่เมืองนครศรีธรรมราช  การเดินทางครั้งที่สองโดยสารเรือพ่อค้าฮอลันดา ชื่อเรือเซซิเลีย พระอุบาลีมหาเถระ พระอริยมุนีพร้อมกับพระสงฆ์ 16 รูป ใช้เวลาเดินทางรอนแรมกว่า 5 เดือน 4 วัน  จึงถึงจุดหมาย

เมื่อเดินทางถึงศรีลังกาท่านได้พำนักอยู่ ณ วัดบุบผารามวิหาร  โดยคณะสงฆ์ไทยได้สืบทอดพระพุทธศาสนาในศรีลังกา โดยได้บวชกุลบุตรลังกาอายุ 20 ปี ขึ้นไปเป็นพระกว่า 700 รูป และบวชสามเณรที่อายุต่ำกว่า 20 ปี ราว 3,000 รูป  ท่านได้วางรากฐานพระพุทธศาสนาในศรีลังกาจนพระพุทธศาสนาหยั่งรากลึก ใช้เวลากว่า 3 ปี และท่านได้มรณภาพ ณ ศรีลังกา เมื่อปี พ.ศ. 2298  พระเจ้ากีรติศรีราชสิงหะโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานเพลิงศพของสมพระเกียรติ รวมระยะเวลา 2 ปี 9 เดือน ที่ท่านได้ปฏิบัติศาสนกิจฟื้นฟูพระพุทธศาสนาบนแผ่นดินลังกา

ปี พ.ศ. 2556  เป็นปีที่ครบรอบ 260 ปี ความสัมพันธ์ทางพุทธศาสนาระหว่างสยามกับศรีลังกา เนื่องจากวัดธรรมาราม เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์พุทธศาสนา คือเป็นที่จำพรรษาของพระอุบาลีมหาเถระ กับพระอริยมุนีมหาเถระ จึงได้รับงบประมาณจากสำนักงานพระพุทธศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อก่อตั้งพิพิธภัณฑ์พระอุบาลีมหาเถระ  โดยดัดแปลงศาลาการเปรียญหลังเก่าจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ 

พื้นที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์เป็นไปอย่างกะทัดรัดและจัดแสดงแบบเรียบง่าย โดยแบ่งส่วนการนำเสนออย่างชัดเจน เมื่อก้าวเข้าไปภายในจะพบกับรูปสลักไม้ของพระอุบาลีสูง 180 ซม. ที่ทางรัฐบาลศรีลังกาส่งมอบถวายวัด โดยประดิษฐานด้านหน้าธรรมาสน์เก่าแก่ของวัด พร้อมบทอธิฐานบูชา  ส่วนต่อมาเป็นนิทรรศการสองภาษา(ไทย-อังกฤษ) ให้ความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนา การปฏิสังขรณ์ การสร้างวัดวาอาราม และเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับพุทธศาสนาในรัชสมัยกษัตริย์ต่างๆ ของกรุงศรีอยุธยา    ส่วนต่อมาว่าด้วยเรื่องวิกฤตพุทธศาสนาบนแผ่นดินลังกา  จากแผ่นดินที่เป็นบ่อเกิดพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท แบบลังกาวงศ์ มีพระสงฆ์จากสยาม มอญ พม่า ล้านนา กัมพูชา ต่างพากันไปรับพิธีอุปสมบทจากมหาเถระลังกาวงศ์ นำมาประดิษฐานในแผ่นดินตนเอง แล้วเหตุใดเล่าจึงเกิดวิกฤตการณ์ที่เหลือสามเณรเพียงไม่กี่สิบรูป ส่วนพระสงฆ์ไม่เหลืออยู่เลย  ซึ่งมีเหตุหลายประการ ได้แก่ การรุกรานของพวกทมิฬและนักล่าอาณานิคมตะวันตก ที่เผาทำลายพระไตรปิฏก บังคับให้พระสึก  รวมถึงราชสำนักเองที่แย่งชิงราชสมบัติ และคณิณนานเส ฆราวาสนุ่งขาวห่มขาว ที่ทำพิธีกรรมแทนสงฆ์ สร้างความสับสนให้ผู้คน

จากนั้นก็เล่าถึงภารกิจสมณทูตของพระอุบาลีมหาเถระและพระอริยมุนีมหาเถระด้วยนิทรรศการ และเล่าผ่านการฉายวีดิทัศน์ในห้องมัลติมีเดียขนาดเล็ก จำลองเรือที่พระอุบาลีโดยสารพร้อมจอภาพขนาดใหญ่ประกอบแสงสีเสียงขนาดย่อม เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพและจดจำเรื่องราวอย่างง่ายๆ ซึ่งอาจถือว่าเป็นไฮไลท์ของพิพิธภัณฑ์

หลังออกมาจากห้องฉายวีดิทัศน์  เป็นส่วนจัดแสดงที่ว่าด้วยเรื่องการประดิษฐานสยามวงศ์ในแผ่นดินลังกา หรือการภารกิจเผยแพร่พุทธศาสนาของพระอุบาลีมหาเถระในแผ่นดินลังกานั่นเอง หากใครไม่สันทัดการอ่าน ก็สามารถยืนชมการเล่าผ่านแอนนิเมชั่นในหน้าจอทีวีได้   อีกมุมหนึ่งใกล้กันจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้(จำลอง)ของพระอุบาลีมหาเถระ อาทิ  ย่าม พัดสมณศักดิ์พระสังฆราชาสรณังกร บาตร เสลี่ยงคานหาม รวมถึงผอบจำลองบรรจุพระเขี้ยวแก้ว 

พิพิธภัณฑ์พระอุบาลีมหาเถระ มีอดีตข้าราชการครู 2 ท่าน เป็นอาสาสมัครมาช่วยงานพิพิธภัณฑ์ ทั้งนำชม และเปิดปิดพิพิธภัณฑ์  แม้จะมีพื้นที่จัดแสดงไม่มากนัก แต่การออกแบบและผังการจัดแสดงที่จัดเป็นสัดเป็นส่วน มีการค้นคว้าเนื้อหาที่นำเสนอในสื่อหลายประเภท ทำให้การชมพิพิธภัณฑ์ไม่น่าเบื่อ ใช้เวลาไม่มากแต่ได้ความรู้กลับไปเต็มเปี่ยม 

ปณิตา สระวาสี /ผู้เขียน
ข้อมูลจาก: การสำรวจภาคสนามวันที่ 11 กันยายน 2558
สัมภาษณ์พระอธิการประสาท เขมปุญโญ เจ้าอาวาสวัดธรรมาราม วันที่ 11 กันยายน 2558.
ชื่อผู้แต่ง:
-

เมื่อแผ่นดินสิ้นสูญ...พระศาสนา !

ในประวัติการณ์ของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย พระอุบาลีมหาเถระแห่งกรุงศรีอยุธยา ถือเป็นพระเถระที่มีบทบาทโดดเด่นอย่างยิ่งรูปหนึ่ง หากแต่พร้อมกันนั้นพระคุณเจ้าก็เป็นพระสงฆ์ที่มีคนรู้จักกันน้อยที่สุดรูปหนึ่งในประวัติศาสตร์เช่นกัน วัดธรรมาราม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา นอกเกาะเมืองอยุธยา คืออารามอันเคยเป็นที่สถิตของพระอุบาลี และในบัดนี้คือที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์พระอุบาลีมหาเถระ ซึ่งเพิ่งมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการไปเมื่อปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 นี่เอง
ชื่อผู้แต่ง:
-