โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
โดย: -
วันที่: 12 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 5/8/2547
ที่มา: The Nation
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ขรรค์ชัย บุนปาน | ปีที่พิมพ์: 2530
ที่มา: พิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ น.ท.สุขุม บุนปาน รน. 28 มีนาคม 2530
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 18 เม.ย. 2554;18-04-2011
ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 19 สิงหาคม 2558
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางขุนเทียน (โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์)
พื้นที่จัดแสดงและทำกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ในโรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ประกอบด้วยพื้นที่ 3 แห่งใน 2 อาคาร ได้แก่ พื้นที่บางส่วนชั้นที่ 2 ของอาคาร 5 ชั้นเป็นห้องที่พื้นที่ของเวทีและพื้นที่ทำกิจกรรม บนเวทีมีบอร์ดแสดงภาพจากกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นและป่าชายเลนตามฐานต่างๆ โดยกิจกรรมดังกล่าวที่อยู่ในความรับผิดชอบของอาจารย์เกรียงศักดิ์ ฤกษ์งาม นอกจากนี้ กิจกรรมยังได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากผู้อำนวยการโรงเรียนฯ ทั้งในเรื่องของอาคารสถานที่ในการจัดกิจกรรม และการพัฒนาให้กิจกรรมดังกล่าวเป็นการหารายได้เสริมให้กับโรงเรียน กิจกรรมจัดขึ้นให้กับหน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นๆ ที่ต้องการนำเด็กและเยาวชนมาร่วมกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนเนื้อหาของกิจกรรมประกอบด้วย (1) เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขตบางขุนเทียน (2) กิจกรรมดาราศาสตร์ (3) ร่องเรือชมวิถีชีวิตชาวบ้าน (4) กิจกรรมดูนก (5) ศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลนโดยจักรยาน (6) กู้ป่าชายเลน (ปลูกป่า) (7) ศึกษาการทำนาเกลือ (8) ศึกษาระบบนิเวศ (บรรยาย) (9) ชมสาธิตวิถีชีวิตชาวบ้าน จากภูมิปัญญาท้องถิ่น (10) ศึกษาประวัติศาสตร์ ศาลพันท้ายนรสิงห์ (11) กิจกรรมผลิตผลงานสืบสานป่าชายเลน (12) ศึกษาพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ชายฝั่งทะเล
ระบบการจัดการกิจกรรมเป็นอีกประเด็นที่สนใจ ทั้งนี้ขอให้พิจารณาใน 2 ประเด็นใหญ่คือ (1) การจัดการในเรื่องของเนื้อหา และ (2) การจัดการในเรื่องเศรษฐกิจของกิจกรรม
สำหรับในประเด็นแรก กิจกรรมทั้ง 12 อย่างในกระบวนการเรียนรู้เป็นการพยายามเชื่อมต่อระหว่างความรู้ในท้องถิ่นและความรู้ที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ รูปแบบของการศึกษาเน้นการลงมือปฏิบัติของผู้เข้าร่วมกระบวนการ ความพร้อมในเรื่องของสถานที่และการเตรียมการแสดงให้เห็นอย่างยิ่งว่า โรงเรียนให้การสนับสนุนเป็นอย่างดีต่อกิจกรรมดังกล่าว สังเกตได้จากการจัดเตรียมพื้นที่สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมในการค้างแรมที่เป็นสัดส่วน พื้นที่เพาะชำต้นกล้าในการปลูกพืชป่าชายเลน การสร้างสะพานไม้อำนวยความสะดวกในการเข้าไปศึกษานิเวศด้านหลังโรงเรียน
สำหรับในประเด็นที่สอง การจัดการด้านเศรษฐกิจ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะเสียค่าบริการตามรูปแบบกิจกรรมที่เข้าร่วม หากเป็นการท่องเที่ยวหนึ่งวัน เป็นจำนวนเงิน 250 บาท หากเป็นการท่องเที่ยว 2 วันที่เป็นการค้างคืนที่โรงเรียน เป็นจำนวนเงิน 500 บาท ในส่วนนี้แสดงให้เห็นถึงการจัดการที่นำเงินมาใช้ในการให้ค่าตอบแทนต่อผู้ที่มาร่วมจัดกิจกรรม และรายได้บางส่วนนำเข้าบำรุงโรงเรียน
ส่วนจัดแสดงที่ 2 เป็นพื้นที่เก็บรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน และของเก่าที่ไม่ได้มีการใช้งานแล้วมาเก็บรวบรวมไว้ ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร จุดประสงค์สำคัญในการรวบรวมครั้งนั้นมาจากความต้องการรวบรวมสิ่งของที่ใช้ในการเรียนการสอน วัตถุบางส่วนมาจากการบริจาคของชาวบ้าน วัตถุสิ่งของประกอบไปด้วย เครื่องกระเบื้อง เครื่องถ้วย อุปกรณ์ดักสัตว์น้ำ อุปกรณ์ทางการเกษตร กระถางธูป เครื่องปั้นดินเผา พระเครื่อง บอร์ดแสดงภาพในเรื่องครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาพวาดของเด็กเกี่ยวกับท้องถิ่น เครื่องดนตรีบางชิ้น นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่อีกส่วนหนึ่งให้เด็กเข้ามาใช้ห้องเรียนดังกล่าวในการอ่านหนังสือ หรือทำกิจกรรมในชั่วโมงเรียนอื่นๆ
แต่ที่น่าสนใจคือ กลุ่มวัตถุประเภทพระเครื่องมาจากการสะสมของอาจารย์เกรียงศักดิ์ ที่มาจากการเช่าและการได้รับมอบ อาจารย์เกรียงศักดิ์ ฤกษ์งามอธิบายที่มาของพระได้อย่างน่าสนใจว่า พระเครื่องบางรุ่นเมื่อสืบสาวที่มา อันหมายถึงคนที่มาบริจาคสามารถบอกถึงความสัมพันธ์ทางสังคมได้อย่างน่าสนใจ เช่น พระเครื่องที่ผลิตมาจากพิษณุโลกสะท้อนให้เห็นการย้ายถิ่นฐานของคนพิษณุโลกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบางขุนเทียน
อย่างไรก็ตาม การเก็บข้อมูลและการตีความยังไม่ได้ทำเป็นระบบ ลักษณะการทำงานเช่นนี้ปรากฏในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหลายแห่ง ศูนย์ฯ เองอาจจะพิจารณาถึงการส่งเสริมหรือสนับสนุนความรู้ในเชิงการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบว่า มีความสำคัญอย่างไรต่อการสร้างความหมายของพิพิธภัณฑ์ เพราะจากการสำรวจหลายแห่ง ชาวบ้านหรือผู้รับผิดชอบมีศักยภาพและเข้าใจถึงการสร้างความหมายต่อวัตถุในพิพิธภัณฑ์ แต่เรื่องราวเหล่านั้นกลับผูกกับบุคคล และหากเรื่องราวเหล่านั้นไม่ได้รับการบันทึก ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย
อนึ่ง การสร้างสื่อการเรียนการสอนเป็นอีกสิ่งจัดแสดงหนึ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่ การสร้างสื่อการสอนโดยประยุกต์ระหว่างแบบจำลองบ้านและกลไกง่ายที่ใช้ในการอธิบายส่วนประกอบอาคารพื้นบ้าน เช่น คาน อกไก่ วิธีการเรียนรู้จะมีจากการหาความสัมพันธ์ระหว่างคำถามที่อธิบายความหมายและหน้าที่ของส่วนประกอบอาคาร และให้ผู้เรียนบ่งชี้ส่วนประกอบอาคารนั้นๆ จากนั้น เป็นการตรวจสอบความถูกต้องด้วยการกดปุ่มเปิดไฟตามป้ายคำเรียกส่วนประกอบอาคาร เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
ในส่วนจัดแสดงที่ 3 เป็นส่วนที่เรียกว่า “พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร บางขุนเทียน” โดยเปิดให้บริการทุกวัน ระหว่างเวลา 08.30 น. – 16.30 น. นิทรรศการดังกล่าวสร้างขึ้นเป็นหนึ่งในโครงการนำร่องพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร บริษัทเอกชนเข้ามารับทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลและสร้างตัวนิทรรศการ จากคำบอกเล่าของอาจารย์เกรียงศักดิ์ นักวิจัยของบริษัททำงานในระดับลึกที่เป็นการเก็บข้อมูลต่างๆ ทั้งทางภูมิศาสตร์ ประศาสตร์ท้องถิ่น ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างพื้นที่กับชุมชนโดยรอบ อย่างไรก็ตาม เรื่องราวที่บอกเล่าดูจะมุ่งประเด็นไปที่ “ท้องถิ่น” ที่ใกล้กว่าบริเวณใกล้พื้นที่โรงเรียน นัยหนึ่งอาจช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเงื่อนไขทางธรรมชาติ/กายภาพ และอีกนัยหนึ่งความเป็นท้องถิ่นที่ยึดโยงกับพื้นที่บริเวณนั้นอาจดูลดความสำคัญลงไป
การทำงานระหว่างบริษัทเอกชนที่รับทำนิทรรศการกับพิพิธภัณฑ์ที่มีตัวตนมาก่อนหน้าโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครเป็นประเด็นที่น่าสนใจ เพราะจากการสำรวจพิพิธภัณฑ์ในการเดินทางเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2548 ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร บางรัก หรือพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกในอดีต และพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร บางขุนเทียน พิพิธภัณฑ์ทั้ง 2 แห่งได้จัดตั้งมาก่อนหน้า บริษัทที่รับสัมปทานจัดนิทรรศการเป็นบริษัทเดียวกัน แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์ทั้ง 2 แห่งมีการรับรู้ต่อการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครที่แตกต่างกัน
ทั้งนี้ เนื่องจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องแตกต่างกัน การทำงานแบบคนเดียวที่ใกล้ชิดกับคนในพื้นที่อย่างเจ้าหน้าที่ในโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร บางขุนเทียน สร้างความประทับใจให้กับผู้ที่รับผิดชอบพิพิธภัณฑ์และชาวบ้านในท้องถิ่น ในขณะที่ การทำงานระหว่างทีมงานของบริษัทที่จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร บางรัก และผู้ที่เป็นอดีตเจ้าของพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกกลับสร้างภาพในเชิงลบของการทำงานบริษัท
ที่กล่าวถึงประเด็นนี้ขึ้นมา เพราะต้องการชี้ให้เห็นว่า วิธีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่รัฐเข้ามาเป็นผู้จัดการและใช้รูปแบบการจัดจ้างบริษัทรับสัมปทานจัดทำเนื้อหาและสร้างชิ้นงานนิทรรศการไม่ใช่เรื่องในเชิงลบเสมอไป การเลือกรูปแบบและบุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับพื้นที่ที่เหมาะสมอาจทำให้การทำงานประสบความสำเร็จได้ ทั้งในเชิงการกระตุ้นการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น และการทำงานเป็นชิ้นงานที่บรรลุวัตถุประสงค์
อนึ่ง เรื่องที่ต้องพึงพิจารณาเพิ่มเติมคือ การวางขอบเขตของเนื้อเรื่องในนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร ทั้ง 4 แห่งที่นำร่องในปีแรก กรอบของเนื้อหาทั้งหมดถูกกำหนดไปในทิศทางเดียวกัน คือ การพูดถึงลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจ “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” ประเพณี บุคคลสำคัญในท้องถิ่น การวางเนื้อหาที่เป็นระบบเช่นนี้นำไปสู่ภาพลักษณ์ความเป็นท้องถิ่นที่เป็น “มาตรฐาน” กรอบของเนื้อหาไม่ได้มาจากการลักษณะเด่นของท้องถิ่นนั้นๆ เอง
ข้อมูลจาก:
รายงานการสำรวจ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร บางขุนเทียน โดย ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ
วันที่ 28 กรกฎาคม 2548
รีวิวของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางขุนเทียน (โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์)
โครงการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เกิดขึ้นจากมติของที่ประชุมสภากรุงเทพมหานครเมื่อเดือนเมษายน 2545 ที่ให้ดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครในแต่ละเขตปกครอง โดยมอบให้สำนักสวัสดิการสังคมเป็นผู้ดูแลจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครเขตบางขุนเทียน ตั้งอยู่ในโรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ สุดถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล โดยใช้ห้องเรียนหนึ่งของอาคารไม้ชั้นเดียวหลังเก่าแก่ของโรงเรียน เป็นพื้นที่จัดแสดง พิพิธภัณฑ์แห่งนี้พิพิธภัณฑ์โครงการนำร่อง 1 ใน 4 แห่งของโครงการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร (พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขตบางกอกน้อย, พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขตสัมพันธวงศ์และ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขตบางรัก) ที่มีบริษัทเอกชนเข้ามารับทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลและสร้างตัวนิทรรศการ
หัวข้อจัดแสดงภายในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร บางขุนเทียนบนเส้นทางประวัติศาสตร์ สวนบางขุนเทียน ชาวพื้นเมืองในบางขุนเทียน ทะเลกรุงเทพฯ บุคคลสำคัญของบางขุนเทียน สถานที่สำคัญของบางขุนเทียน และบางขุนเทียนวันนี้ เรื่องราวที่น่าสนใจของเขตบางขุนเทียน อาทิ ที่มาของชื่อบางขุนเทียนที่สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า "บางขุนเกวียน" เนื่องบริเวณนี้เคยที่ชุมชนเกวียน ซึ่งแต่ละกองเกวียนจะมีผู้นำคอยอารักขาที่เรียกว่าขุน ในอดีตพื้นที่เขตบางขุนเทียนเป็นสวนผลไม้ อาทิ ส้ม มะพร้าว หมาก พลู เป็นต้น มุมหนึ่งของนิทรรศการยังจำลอง "เวจ" ชาวสวน ที่เด็กรุ่นใหม่คงไม่รู้จักแล้ว หากย้อนไปราว 50 -60 ปีที่แล้ว การขับถ่ายของชาวบ้านเป็นแบบธรรมชาติ ใช้วิธีถ่ายลงโอ่งฝังดินที่เรียกว่า เวจ และนำมูลมาใช้ประโยชน์แทนปุ๋ยในสวนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้การเผาถ่านไม้โกงกาง ก็ยังเป็นอีกหนึ่งอาชีพในอดีตของชาวบางขุนเทียน สะท้อนถึงทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นป่าชายเลนของพื้นที่บางขุนเทียน แต่ปัจจุบันวิถีชีวิตดังกล่าวคงจะเลือนหายไปตามยุคสมัย
ข้อมูลจาก: การสำรวจภาคสนาม 28 กรกฎาคม 2548
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
ท่องบางขุนเทียน ทะเลกรุงเทพฯ ก่อนจะจมบาดาลไปมากกว่านี้
จากนั้นฉันก็มุ่งหน้าต่อไปตามถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล ซึ่งระหว่างทางในช่วงนี้เริ่มเป็นป่าโกงกางและร้านอาหารทะเลมากมายทั้ง 2 ฝั่งทาง ฉันเดินทางตรงไปเรื่อยๆจนมาถึงสุดท้ายจะมีทางแยกซ้ายและขวา ฉันเลือกเลี้ยวซ้ายเพื่อไปรู้จักกับชุมชนบางขุนเทียนกันที่ “พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบางขุนเทียน” ซึ่งตั้งอยู่ภายในโรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
วิถีชีวิตท้องถิ่นและภูมิปัญญา โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ ประวัติเขตบางขุนเทียน บุคคลสำคัญเขตบางขุนเทียน
พิพิธภัณฑ์กายวิภาค-คองดอน
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย
จ. กรุงเทพมหานคร
บ้านเขียวอันยุมัน
จ. กรุงเทพมหานคร