บ้านจักรยาน ก่อตั้งโดยอาจารย์ทวีไทย บริบูรณ์ ศิลปินผู้หลงใหลในเสน่ห์ของจักรยาน โรงจัดแสดงจักรยานเป็นอาคารเปิดโล่ง มีจักรยานทั้งหมดกว่า 1,000 คัน ที่น่าสนใจ คือ จักรยานที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 นอกจากนี้ยังเป็นที่เก็บรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ในอดีตจำนวนมาก เช่น รถยนต์ อุปกรณ์เครื่องเขียน หนังสือ โปสการ์ด ฉลากผลิตภัณฑ์ และกล่องใส่ผลิตภัณฑ์ในอดีต และของเก่าที่หายากอีกมากมายหลายชนิด
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 2/2/2548
ที่มา: ผู้จัดการรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 16/02/2552
ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
บ้านจักรยาน
จากปากซอยสวนผัก 6 เข้าไปประมาณ 50 เมตรเท่านั้น ด้านขวามือเราจะสังเกตได้ว่ามีบ้านหลังหนึ่งที่ร่มครึ้มไปด้วยพันธุ์ไม้น้อยใหญ่เหมือนร้านขายต้นไม้ มองไม่เห็นว่าภายในบ้านหลังนี้มีความทรงจำดีๆมากมายอยู่ภายใน ป้ายหน้าบ้านเขียนบอกไว้ว่าที่นี่คือ “บ้านจักรยาน” ทำให้หวนนึกไปถึงตอนสมัยที่เรียนในมหาวิทยาลัยปริมณฑลแห่งหนึ่งไม่ว่าสาวไม่ว่าหนุ่ม เมื่อมีปัญหากับพาหนะที่นิยมใช้ในมหาวิทยาลัย มักจะบอกว่า “ฉันไปบ้านจักรยานนะ” แต่ว่าความหมายของบ้านจักรยานในมหาวิทยาลัยแห่งนั้นกับ “บ้านจักรยาน” ที่นี่นั้นต่างกันบ้านจักรยาน แห่งนี้เป็นแหล่งรวมของสรรพวิชาและความอยากรู้ที่เจ้าของบ้านคือ “อาจารย์ทวีไทย บริบูรณ์” เป็นผู้สรรหามาเก็บไว้ เปิดประตูรั้วเข้าไปในบริเวณบ้านจะสังเกตได้ว่ามีงานฝีมือ งานศิลปะมากมายที่เจ้าของบ้านเห็นว่างามวางเรียงรายตลอดสองข้างทางเดิน
ส่วนแรกที่เราเห็นนั้น คือส่วนของรถยนต์เก่า และในบริเวณต่อมาอาจเรียกว่า ส่วนต้อนรับ มีการจัดวางโต๊ะสนทนา รวมถึงงานศิลปะที่อาจารย์สนใจ เดินมาเรื่อยๆจะพบกับอาคารโถงขนาดใหญ่ซึ่งเป็นโรงเก็บ ที่อาจารย์จัดไว้สำหรับเก็บสิ่งของที่สะสม ทั้งจักรยานจำนวนมากและของเก่าที่มีคุณค่ากับความทรงจำของใครหลายๆคนที่ได้มาเห็น จักรยานมากมายที่จอดอยู่บางคันยังอยู่ในสภาพที่น่าจะยังใช้งานได้ดี บางคันหมดสภาพตามอายุขัย มีทั้งจักรยานผู้ชายและจักรยานผู้หญิง จักรยานเด็ก เครื่องมือ อุปกรณ์และอะไหล่รถจำนวนมาก
ความสนใจในเรื่องพาหนะของท่านเริ่มมาจากการสะสมรถยนต์เก่า ลามมาถึงจักรยานยนต์จนถึงขนาดทำอู่ซ่อมรถยนต์และประกอบรถยนต์เอง พาหนะที่ท่านสนใจมากคือ เรือ แต่ก็ไม่สามารถทำได้เพราะไม่อยู่ในความถนัดและไม่พร้อม จักรยานจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ท่านสนใจ การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับจักรยานของท่านทำให้ทราบว่า สมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยนำเข้าจักรยานจากประเทศอังกฤษมาเป็นจำนวน 100 คัน ปี พ.ศ. 2446 เรานำเข้าจักรยานคันแรกเข้ามา ยี่ห้อ “เดตอน” สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ หลังจากนั้นก็มียี่ห้อไซโคลนและอื่นๆตามเข้ามาอีก ในช่วงปีรัชสมัยของพระพุทธเจ้าหลวงนั้นเป็นที่น่าประหลาดใจว่าในประเทศไทยมีจักรยานมากกว่า 100 ยี่ห้อ ทำให้เห็นว่าคนไทยเป็นนักบริโภคตัวยงกันมานาน
2 ปีแรก อาจารย์เริ่มเก็บสะสมจักรยาน และ 2ปีจากนั้นก็หาความรู้ไปด้วยในตัว ท่านเน้นหาจักรยานภายในประเทศไทยเท่านั้น เนื่องจากว่าท่านบอกว่าความสนใจของคนเราน่าจะมีขอบเขต ไม่มากเกินไป ความรู้มากมายที่ท่านแสวงหานั้นทำให้ท่านเขียนหนังสือความรู้เกี่ยวกับจักรยาน ใครมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับจักรยาน การแสวงหาจักรยานอาจารย์ก็ยินดีช่วยหาคำตอบให้ ท่านบอกว่า “การจะหาของแท้ จักรยานแท้ๆนั้น มันจะเป็นของจริงแท้เมื่อวันที่มันออกมาจากโรงงานเท่านั้น เมื่อเวลามันผ่าน มันย่อมไม่แท้เพราะมันต้องซ่อม ลมที่เติมก็ไม่ใช่ลมรัตนโกสินทร์ มันเป็นลมกรุงเทพฯในพ.ศ.นี้ ย่อมหาที่แท้ไม่ได้ ต้องทำใจ”
โรงจัดแสดงจักรยานนั้น เป็นอาคารเปิดโล่งเป็นทั้งที่เก็บจักรยาน ห้องจัดแสดง และโรงซ่อมจักรยานไปด้วยในตัว เพราะอาจารย์ไม่ใช่เก็บจักรยานเพียงอย่างเดียว แต่เรียนรู้การซ่อมจักรยานไปด้วย จักรยานทั้งหมดมีกว่า 1,000 คัน
นอกจากเหล่าจักรยานที่อาจารย์ทวีไทยเก็บสะสม ยังมีสิ่งของอีกมากมายกว่า 25 ชนิด อยู่ในโรงเก็บและบ้านหลังนี้ มีทั้งกล่องสังกะสีที่เป็นกล่องขนม กระป๋องแป้ง ลูกโลกจำลอง กระป๋องออมสิน โปสการ์ดเก่าๆ ถังดับเพลิงสมัยโบราณ ฉลากผลิตภัณฑ์และกล่องใส่ผลิตภัณฑ์ในอดีต แก้วน้ำอัดลมที่ทำจากกระดาษชุบด้วยไข และความทรงจำเก่าๆที่ไม่ได้เก็บไว้ในขวดโหลเพียงอย่างเดียว แต่ออกมาวางโชว์เมื่อนึกสนุกเอาไว้เตือนความทรงจำในอดีตของผู้ชม
นอกเหนือจากจักรยานและของเก่าที่อาจารย์สะสมมานั้น ขณะนี้อาจารย์สนใจปลูกต้นไม้ ทำงานศิลปะ ในอดีตนั้น ความสนใจอาจารย์มีอยู่มากมายทั้งเรื่องของการเลี้ยงสัตว์ สุนัข ไก่ นกเหยี่ยวและอื่นๆอีกมากมาย ฝีมือทางด้านช่างของอาจารย์ก็เป็นที่เลื่องลือ เกี่ยวกับเครื่องเซรามิค เครื่องปั้นดินเผา ผลงานที่น่าประทับใจและน่าจดจำของอาจารย์คือ อาจารย์เป็นผู้ที่จัดซ่อมกระเบื้อง ณ องค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐมที่เราได้เห็นกันในปัจจุบันนี้ รวมถึงงานซ่อมวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว ถือว่าเป็นผลงานแห่งความภาคภูมิใจที่สุดที่ท่านทำแล้ว
อาจารย์ทวีไทยทำธุรกิจด้านเครื่องปั้นดินเผามานานจนอิ่มตัวก็หันไปให้ความสนใจทางด้านอื่น ความสนใจของท่านเกิดขึ้นมากมายและท่านเองก็ไม่ได้หยุดความสนใจของท่านให้จางหายไปกับอากาศ การแสวงหาความรู้เพื่อให้เข้าใจในความสนใจที่ถ่องแท้ของอาจารย์ทวีไทยเป็นที่นับถือเป็นอย่างยิ่ง ในท่าทีที่หยิ่งทะนงของอาจารย์หากได้พูดคุยในสิ่งที่อาจารย์ท่านสนใจแล้วไม่สามารถจบการสนทนานั้นได้ในเวลาอันรวดเร็ว คำแนะนำและความคิดสร้างสรรค์ต่างๆที่อาจารย์ทวีไทยได้มอบให้ถือได้ว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับคนไทยในสมัยปัจจุบัน
ท่านไม่ได้เก็บค่าเข้าชม สามารถเข้ามาได้ตามอัธยาศัยของแขกที่ดี นอกเหนือจากจะได้ความเพลิดเพลินในการเข้าชมบ้านจักรยานแห่งนี้ ยังอาจจะได้เพื่อนคุยที่ถูกคอ ผู้ใหญ่ใจดีที่จะให้คำแนะนำในการดำเนินชีวิตที่ดีได้อีกด้วย
ผู้เขียน: เมธินีย์ ชอุ่มผล
ข้อมูลจาก: สำรวจภาคสนามวันที่ 2 ธันวาคม 2550
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
บ้านจักรยาน
สวัสดีครับ ไม่นานมานี้ผมได้ไป “บ้านจักรยาน” มาครับ บ้านหลังนั้นได้ถือว่าเป็นแหล่งเรียนรู้เลยนะครับ บ้านนั้นก็เป็นบ้านทั่วไปแหละครับ มีต้นไม้เต็มไปหมด เจ้าของบ้านก็อาศัยอยู่ในนั้นเช่นกัน (มีหมาด้วย) ที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ก็เพราะว่า ท่านอาจารย์ทวีไทย บริบูรณ์ เก็บสะสมของเก่าๆ มากมายแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ยานพาหนะ จักรยาน ประวัติจักรยานในประเทศไทย
พิพิธภัณฑ์เภสัชกรรมไทย
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์การแพทย์ทหารบก
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตพระนคร
จ. กรุงเทพมหานคร