โดย:
วันที่: 13 กันยายน 2555
โดย:
วันที่: 13 กันยายน 2555
โดย:
วันที่: 13 กันยายน 2555
โดย:
วันที่: 13 กันยายน 2555
โดย:
วันที่: 13 กันยายน 2555
โดย:
วันที่: 13 กันยายน 2555
โดย:
วันที่: 13 กันยายน 2555
โดย:
วันที่: 13 กันยายน 2555
โดย:
วันที่: 13 กันยายน 2555
โดย:
วันที่: 13 กันยายน 2555
โดย:
วันที่: 13 กันยายน 2555
โดย:
วันที่: 13 กันยายน 2555
โดย:
วันที่: 13 กันยายน 2555
โดย:
วันที่: 13 กันยายน 2555
โดย:
วันที่: 13 กันยายน 2555
ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 11 ต.ค. 2554;11-10-2011
ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 15 กรกฎาคม 2558
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวงเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา
แรกก้าวเข้าไปในบริเวณของกรมอู่เรือหลวง เดินตรงไปตามถนน เรือขนาดใหญ่หลายลำตั้งเรียงกันอยู่ในหลุมขนาดใหญ่บนไม้หมอน มีนายช่างทหารเรือกำลังทำงานซ่อมเรือ ด้านหนึ่งเป็นเครนสูง มองไกลออกไปได้พบกับสิ่งที่สะกดสายตา พระบรมมหาราชวังสถิตอยู่สวยงาม ถัดไปอีกฟากฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาพิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวงเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา เปิดเป็นทางการเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2554 ส่วนจัดแสดงนิทรรศการถาวรมี 7 หัวข้อ ได้แก่ จากราชนิเวศน์สู่อู่เรือหลวง จากอู่เรือหลวงสู่กรมอู่ทหารเรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานนาวาสถาปัตย์ การเสริมสร้างสมุททานุภาพให้กองทัพเรือ การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติ ทำเรือให้พร้อมรบ อู่เรือและอุตสาหกรรมต่อเรือของประเทศ
อาคารจัดแสดงเป็นอาคารสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกว่าเรือนขนมปังขิง นาวาเอกหญิงกาญจนา ทรงวรวิทย์ ภัณฑารักษ์ เป็นผู้นำชม การเข้ามายังพิพิธภัณฑ์จะสังเกตว่าจากถนนที่ตรงมาจากประตูใหญ่ของกรมอู่ทหารเรือ มายังอาคารจัดแสดง ประตูทางเข้าด้านนี้เป็นด้านหลัง เนื่องมาจากว่าแต่เดิมมีอู่เรือหลวงหมายเลขหนึ่ง อาคารจึงหันไปทางนั้น ส่วนที่ปัจจุบันเป็นทางเข้าเห็นได้ชัดกว่าเป็นอู่เรือหลวงหมายเลขสอง
อาคารจัดแสดงเป็นอาคารสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกว่าเรือนขนมปังขิง ตั้งอยู่ในพื้นที่อู่เรือหลวง หรือที่ปัจจุบันเรียกว่ากรมอู่ทหารเรือ ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการซ่อมและสร้างเรือของกองทัพเรือ ในพิพิธภัณฑ์มีโมเดลจำลองภูมิศาสตร์และพื้นที่ ทำให้เห็นภาพที่มาที่ไปของพื้นที่ซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนาน หลักฐานสำคัญของพื้นที่ประวัติศาสตร์ อยู่ที่พระอุโบสถด้านหน้าติดกับทางเข้ากรมอู่ทหารเรือ วัดวงศมูลวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่มีมาตั้งแต่ช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ปัจจุบันเหลือเพียงอุโบสถกับองค์พระประธาน ย้อนไปก่อนหน้าบริเวณนี้เป็นที่พักของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกในสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ต่อมาเมื่อขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ได้มีการสร้างพระบรมมหาราชวังแห่งใหม่ฝั่งตรงข้าม พระราชวังเก่าฝั่งนี้เป็นสมัยกรุงธนบุรีได้เรียกกันว่า พระราชวังเดิม
ก่อนเข้าชมพิพิธภัณฑ์ นาวาเอกหญิงกาญจนา ทรงวรวิทย์ ได้พาเข้าไปนั่งชมวีดีทัศน์ประวัติความเป็นมาและภารกิจกรมอู่ทหารเรือ ห้องนี้มีบรรยากาศเหมือนผู้เข้าชมอยู่ในอู่เรือโดยทำที่นั่งให้เหมือนกับไม้หมอนสำหรับรองรับเรือที่เข้ามาจอดซ่อม
"ธรรมดามีเรือแล้ว ต้องซ่อมเองได้ เป็นหลักของยุทธศาสตร์ ถ้าซ่อมไม่ได้เอง ก็ไม่ควรจะมี" เป็นพระดำรัสของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เจ้ากรมอู่ทหารเรือ ลำดับที่ 7
การจัดแสดงส่วนแรกคือ จากนิเวศน์สู่อู่เรือหลวง เล่ารายละเอียดกำเนิดอู่เรือหลวง เริ่มมาจาก พ.ศ.2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้สั่งซื้อเรือรบเหล็กจากอังกฤษ ญี่ปุ่นและประเทศต่างๆในยุโรป เป็นการนำ “เรือรบเหล็ก”เข้ามาใช้ในกิจการทหารเรือ ทำให้เรือมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงได้พระราชทานพระราชนิเวศน์ให้กรมทหารเรือสร้าง “อู่ไม้”ขนาดใหญ่ในบริเวณโรงหล่อด้านทิศใต้ของวัดระฆังโฆษิตาราม เพื่อซ่อมและสร้างเรือรบสำหรับใช้ในการป้องกันประเทศ เมื่อการสร้างอู่เรือหลวงแล้วเสร็จ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิด “อู่เรือหลวง”ในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ.2433 ต่อมาถือว่าวันนี้เป็นวันสถาปนากรมอู่ทหารเรือ
ส่วนนี้มีวัตถุจัดแสดงเป็นชิ้นส่วนถ้วย จาน ชามกระเบื้อง ลูกปืนใหญ่โบราณ ซึ่งขุดค้นพบบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้โรงงานช่างต่อเรือใยแก้ว(เดิม) ขณะที่มีการสร้างเขื่อนกันน้ำท่วม พ.ศ.2544 สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 100 ปี มีเหรียญที่ระลึกที่กรมอู่ทหารเรือจัดสร้างในโอกาสสำคัญ เอกสารราชกิจจานุเบกษาเปิดอู่เรือหลวง
ส่วนต่อมาบอร์ดจัดแสดงถาวรเป็นวงกลมโค้ง หัวข้อเรื่องจากอู่เรือหลวงสู่กรมอู่ทหารเรือ บอกเล่าพัฒนาการของกรมอู่ทหารเรือ มีภาพเรือรบหลวงลำแรกที่ข้าราชการและประชาชนได้เรี่ยไรทุนทรัพย์จัดซื้อน้อมเกล้าฯถวายรัชกาลที่ 6 ในปี พ.ศ.2463 แล้วพระราชทานชื่อ เรือหลวงพระร่วง มีภาพหายากเป็นเรือหลวงสุโขทัย แล่นผ่านสะพานพระพุทธยอดฟ้า ในสมัยที่เปิดยกสะพานได้ ในพิธีเปิดสะพานในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2474
ปัจจุบันกรมอู่ทหารเรือมีอู่เรือในความรับผิดชอบ 3 แห่งคือ อู่ทหารเรือธนบุรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ และอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
ต่อมาเป็นส่วนจัดแสดงในโค้งวงกลมด้านใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานนาวาสถาปัตย์ พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยงานช่างตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงออกแบบและต่อเรือใบมด ซูเปอร์มด ไมโครมด และทรงกีฬาแล่นใบ แนวทางพระราชดำริที่พระราชทานให้กองทัพเรือต่อเรือรบขึ้นใช้เองซึ่งเป็นที่มาของการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุดเรือ ต.91 ขยายผลสู่ชุดเรือ ต.991 และชุดเรือ ต.994 วัตถุจัดแสดงที่สำคัญในส่วนนี้ ได้แก่ สมุดบันทึกพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระนามาภิไธยของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินาถ และลายพระหัตถ์ของพระบรมวงศานุวงศ์ที่พระราชทานให้กรมอู่ทหารเรือ เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีวางกระดูกงูและปล่อยเรือลงน้ำ ใกล้กันมีส่วนลงนามถวายพระพรโดยเขียนบนจอคอมพิวเตอร์
ส่วนการเสริมสร้างสมุททานุภาพให้กองทัพเรือ จัดแสดงอุปกรณ์ซ่อมสร้างเรือ มีเตาเผาหมุดย้ำ กระดานเขียนแบบแบบเรือ ภาพการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง (ต 994) ตู้จัดแสดงอุปกรณ์การเขียนออกแบบเรือ กระดานเขียนแบบแบบเรือ และบอร์ดภาพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำ
ส่วนจัดแสดงการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติ นำเสนอความเป็นมาของการต่อเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งลำแรกที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ใน พ.ศ.2539 เป็นการผสมผสานเทคโนโลยีการต่อเรือของกรมอู่ทหารเรือกับงานช่างศิลป์ของกรมศิลปากร
การจัดแสดงชั้นล่าง เริ่มด้วยส่วนจัดแสดงหัวข้อทำเรือให้พร้อมรบ “กว่าจะซ่อมเรือรบหนึ่งลำ”จัดแสดงอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการซ่อมสร้างเรือ ได้แก่ เข็มทิศสำหรับทำแผนที่ เครื่องทดสอบเกจวัดกำลังดันด้วยลม กล้องดูเนื้อโลหะ เครื่องวัดความเร็วรอบด้วยแสง เครื่องวัดความแน่นของทราย เครื่องแยกสารละลายด้วยไฟฟ้าและเครื่องวัดความโปร่งของทราย จักรเย็บหนัง นอกจากนี้ยังมีภาพและรายละเอียดการซ่อมเรือรบที่สำคัญอย่างเรือหลวงจักรีนฤเบศร มีเรื่องของผลงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมให้เป็นต้นแบบเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศ อาทิเช่น การสร้างเรือหัวโทงช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติสึนามิ การสร้างเรือท้องแบนเพื่อช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม การสร้างเครื่องพ่นน้ำ ใช้เป็นเครื่องมือช่วยเร่งอัตราการไหลของน้ำในแม่น้ำ คิดค้นเครื่องต้นแบบผลิตไบโอดีเซล
ส่วนจัดนิทรรศการชั่วคราว ช่วงนี้เกี่ยวกับ “ภาพเก่าเล่าเรื่องกรมอู่ทหารเรือ” มาถึงส่วนจัดแสดงสุดท้าย อู่เรือและอุตสาหกรรมต่อเรือของประเทศ วัตถุจัดแสดงที่เด่นคือแบบจำลองเรือ ต.991 ทำโดยสถาบัน HSVA สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ความสำคัญที่นำแบบจำลองของเรือลำนี้มาจัดแสดง เพราะเป็นเรือสำคัญที่สร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงต้องไปขอแบบจำลองสำหรับการทดสอบอันนี้กลับมา
ใกล้กันมีแบบจำลองเรือรบหลวงหลายลำ มีเรื่องราวการต่อเรือของบริษัทเอกชน เนื่องจากกรมอู่ทหารเรือไม่สามารถสร้างและซ่อมได้ตามความต้องการ ดังจะเห็นจากภาพของเรือหลวงฤทธิ์ เรือหลวงสุริยะ(ลำที่สอง) ต่อโดย บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ส่วนที่เห็นแปลกตาคือ ยานใต้น้ำไร้คนขับสำหรับฝึกปราบเรือดำน้ำ เป้าฝึกปราบเรือดำน้ำ ที่นำมาจัดแสดงจะไม่ได้ใช้แล้ว มีการพัฒนาแบบรุ่นใหม่สำหรับใช้งาน
สมัยก่อนการต่อเรือให้เสร็จแต่ละลำ เมื่อต่อตัวลำเรือเสร็จ ของทุกอย่างก็ต้องทำขึ้นเอง เชือกที่จะใช้ในเรือสำหรับผูกเรือ ต้องมาถักเองมาเย็บเอง ฉะนั้นจึงต้องมีโรงงานช่างเย็บ มีจักรสำหรับเย็บหนัง ยังต้องมีพวกผ้าใบที่ใช้ขึงบนดาดฟ้าเรือ ที่นี่มีการทำเชือกชักฉุดราชรถด้วย การจัดแสดงมีตัวอย่างเชือกที่หุ้มด้วยผ้าสีแดงและบอร์ดขั้นตอนวิธีการผลิตในทุกขั้นตอน
เพื่อให้พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวงเป็นที่รู้จักและให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย นาวาเอกหญิงกาญจนา ทรงวรวิทย์ ได้เล่าถึงการกิจกรรมการท่องเที่ยวซึ่งได้จัดร่วมกับกองการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร มีการล่องเรือเที่ยวชมสถานที่ต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง และในช่วงการจัดงานขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในงานพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ที่เลื่อนมาจากปี พ.ศ.2554 เพราะอุทกภัยใหญ่มาเป็นปี พ.ศ.2555 ได้มีการนำเรือพระราชพิธีเข้ามาจอดในอู่เรือนี้ ที่นี่ก็ได้เปิดให้ประชาชนเข้ามาชมได้
ในการจัดทำป้ายอธิบายวัตถุจัดแสดงและการค้นหาข้อมูล นาวาเอกหญิงกาญจนา ทรงวรวิทย์ เป็นผู้จัดทำไว้อย่างละเอียด ซึ่งต้องค้นคว้าอย่างจริงจังทั้งจากเอกสารและติดตามหาข้อมูลไปถึงตัวบุคคล แล้วทำการบันทึกไว้ เนื่องจากเห็นว่าบุคคลที่จะรู้จักอุปกรณ์ซ่อมสร้างเรือแบบสมัยก่อนมีน้อยลง เพราะเปลี่ยนมาใช้แบบสมัยใหม่ เพื่อให้เป็นฐานข้อมูลสำหรับการศึกษาค้นคว้าในอนาคต สำหรับภัณฑารักษ์ท่านนี้ งานดูแลพิพิธภัณฑ์มีความลึกซึ้งและมีความสุข เพราะได้รวมเอาความรู้สึกผูกพันของตนเองกับที่แห่งนี้ไว้ด้วย
-------------------------------
สาวิตรี ตลับแป้น / ผู้เขียน
ข้อมูลจาก : สำรวจภาคสนาม วันที่ 19 สิงหาคม 2556
-------------------------------
การเดินทาง: พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวงเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา เป็นอาคารอยู่ภายในกรมอู่ทหารเรือ บริเวณถนนอมรินทร์ อยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนเส้นเดียวกับวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารและโรงพยาบาลศิริราช
---------------------------------
อ้างอิง
กรมอู่ทหารเรือ(2556).พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวงเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา
ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2556,จาก
http://www.dockyard.navy.mi.th/doced/ Museum_Ship/index.html
ข้อมูลการสัมภาษณ์ วันที่ 19 สิงหาคม 2556
พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวงเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษากรมอู่ทหารเรือ.(2555).ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2556,จาก http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=morkmek&month=24-09-2012&group=10&gblog=30
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
ตามรอยเรือไทย ใน“พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง” และ “พิพิธภัณฑ์ฯเรือพระราชพิธี”
ปัญหาน้ำท่วมใหญ่ใน่วงนี้ทำให้การจัดงานขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในงานพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ที่เดิมมีหมายกำหนดการจัดขึ้นในวันที่ 22 ตุลาคม 2554 มีความจำเป็นต้องเลือนการจัดงานไปในปีหน้า อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงขบวนเรือพระราชพิธีแล้ว ก็ทำให้ฉันอยากที่จะรู้ถึงความเป็นมาของเรือต่างๆของเรา ฉันจึงเดินทางไปบุกยังถิ่นทัพเรือ ฝั่งธนบุรี และมุ่งตรงไปยัง “พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง” เพื่อมาเรียนรู้เกี่ยวกับเจ้าพาหนะทางน้ำให้มากยิ่งขึ้น เมื่อเข้าประตูกรมอู่ทหารเรือ ฉันตรงไปจนเกือบจะสุดทาง ทางด้านซ้ายมือจะเจอกับ “พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา” เป็นอาคารสีขาวเขียว ดูเก่าแก่สวยงาม ซึ่งอาคารหลังนี้เป็นอาคารเรือนไม้ของแผนกโรงงานเครื่องกล กองโรงงาน อู่ทหารเรือธนบุรี ที่เคยเป็นอาคารกรมยุทธนาธิการทหารเรือเดิมแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ทหารเรือ อู่เรือ เรือหลวง เฉลิมพระเกียรติ เรือพระที่นั่ง กรมอู่ทหารเรือ
สิรินธรทันตพิพิธ
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์ธนาคารออมสิน
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย
จ. กรุงเทพมหานคร