พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขุนละหาร ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2552 โดยนายรัศมินทร์ นิติธรรม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 ตำบลขุนละหาร โดยมีแนวคิดเพื่อการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น และนำเอาเอกลักษณ์หรือศิลปะดั้งเดิมทางด้านภูมิปัญญามาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ร่วมสมัย เพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น ภายในแบ่งพื้นที่เป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อฝึกอาชีพ ส่วนที่สองคือพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ชาวมลายูภาคใต้ ศาสตราวุธ เครื่องใช้ในพิธีกรรม อุปกรณ์ทำประมง อุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับนันทนาการของคนมลายู
โดย:
วันที่: 30 กรกฎาคม 2555
โดย:
วันที่: 30 กรกฎาคม 2555
โดย:
วันที่: 30 กรกฎาคม 2555
โดย:
วันที่: 30 กรกฎาคม 2555
โดย:
วันที่: 30 กรกฎาคม 2555
โดย:
วันที่: 30 กรกฎาคม 2555
โดย:
วันที่: 30 กรกฎาคม 2555
โดย:
วันที่: 30 กรกฎาคม 2555
โดย:
วันที่: 30 กรกฎาคม 2555
โดย:
วันที่: 30 กรกฎาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: อารีด้า สาเม่าะ | ปีที่พิมพ์: 26 ก.ค. 2555;26-07-2012
ที่มา: มติชนออนไลน์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 08 มกราคม 2558
ชื่อผู้แต่ง: วสวัณณ์ รองเดช | ปีที่พิมพ์: 10 ส.ค. 2555;10-08-2012
ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 08 มกราคม 2558
ชื่อผู้แต่ง: คาเมร่า เจราหวัง | ปีที่พิมพ์: 2563
ที่มา: ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แหล่งค้นคว้า: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โดย: ศมส.
วันที่: 26 กรกฎาคม 2564
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขุนละหาร
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขุนละหารก่อตั้งเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 โดยนายรัศมินทร์ นิติธรรม พร้อมกับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ที่เริ่มจากศูนย์เรียนรู้เป็นพิพิธภัณฑ์ มีแนวคิดที่จะอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่กับท้องถิ่น และนำเอาเอกลักษณ์หรือศิลปะดั้งเดิมทางด้านภูมิปัญญามาประยุกต์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ร่วมสมัย สู่การเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อสร้างรายได้ สร้างอาชีพให้ชุมชนอย่างยั่งยืน โดยใช้ชื่อขุนละหารเป็นแบรนด์ เนื่องจากเป็นชื่อพระราชทานสมัยรัชกาลที่ 5 และเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ก่อตั้งหมู่บ้านพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขุนละหาร จัดเก็บรวบรวมศิลปะวัตถุหลากหลายประเภท ทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ท้องถิ่นและของชนชั้นปกครอง ได้แก่
1. เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ถ้วยชาม ภาชนะ เครื่องครัว เครื่องจักสาน
2. เครื่องมือประกอบอาชีพ เช่น เครื่องมือจับสัตว์น้ำ
3. ศาสตราวุธเช่น กริช
4. อุปกรณ์เกี่ยวกับการแสดงนาฏศิลป์ เช่น ชุดการแสดงมะโย่ง เครื่องดนตรี
รูปแบบการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขุนละหารแบ่งเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 ศูนย์เรียนรู้ เพื่อฝึกอาชีพโดยคนนำเอกลักษณ์หรือศิลปะดั้งเดิมทางภูมิปัญญามาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันมีกลุ่มองค์กรเกิดขึ้น เช่น กลุ่มที่ดักนกคุ่มสานด้วยย่านลิเภา กลุ่มว่าววงเดือนสานด้วยย่านลิเภา กลุ่มแกะสลักและงานไม้ กลุ่มทำกรงนกหัวจุก กลุ่มผลิตจากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มชาชัก กลุ่มทำขนม เป็นต้น
ส่วนที่ 2 การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นแรกจัดแสดงวัตถุโบราณตั้งแต่ยุคหินถึงยุครัตนโกสินทร์ และชั้นที่ 2 แบ่งเป็น 6 ห้อง ดังนี้
ห้องภูมิหลัง จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องปั้นดินเผาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยลังกาสุกะ เช่น เครื่องเคลือบดินเผา เป็นต้น
ห้องเครื่องใช้ไม้สอย จัดแสดงเครื่องใช้ไม้สอยของชามลายูในชายแดนภาคใต้ เช่น เครื่องทองเหลือง และเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
ห้องพิธีกรรม จัดแสดงแบบประเพณีพิธีกรรมของชาวมลายูในชายแดนภาคใต้ เช่น การแห่นก มะโย่ง และแม่พิมพ์ขนม
ห้องสายน้ำ จัดแสดงวัสดุอุปกรณ์การประกอบอาชีพประมงทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ของชาวมลายูในชายแดนภาคใต้
ห้องศาสตราวุธ จัดแสดงและนำเสนอเรื่องราวของศาสตรวุธของชาวมลายูในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ในอดีต เช่น กริช ดาบ เป็นต้น
ห้องนันทนาการ จัดแสดงวัสดุอุปกรณ์สำหรับการนันทนาการของชาวมลายูในอดีต เช่น ที่ดักนกคุ่ม กรงตั๊กแตนประชันเสียง
ข้อมูลจาก :1. การประชุมเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคใต้ จัดโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เมื่อวันที่ 12 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 ณ โรงแรมทวินโลตัส จ.นครศรีธรรมราช
2. แผ่นพับประชาสัมพันธ์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
พิพิธภัณฑ์ขุนละหาร อยากเล่าขานกาลอดีต"ถิ่นมลายู"
นายรัศมินทร์ นิติธรรม ผู้ใหญ่บ้าน ม.7 ตำบลละหาร อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส กล่าวถึงศิลปะท้องถิ่นที่สำคัญของจังหวัดชายแดนใต้ ด้วยน้ำเสียงที่เป็นกังวลอย่างเห็นได้ชัด นายรัศมินทร์ หรือผู้ใหญ่มิง เป็นผู้รวบรวมศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นบ้านขุนละหาร ที่เคยเงียบหายและตายจากไปแล้วบางส่วนให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง โดยการสร้างพิพิธภัณฑ์จัดเก็บรวบรวมคุณค่าของชุมชน ในชื่อ"พิพิธภัณฑ์ขุนละหาร" หลังจากพยายามหลายปีในการรวบรวมของโบราณที่ยังคงเหลือในพื้นที่มาอยู่ในที่เดียวกันและก่อตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2552บุหงาเมืองนรา พิพิธภัณฑ์ขุนละหาร
ทุกวันนี้สถาปัตยกรรมบ้านเรือน ข้าวของเครื่องใช้ หลายอย่างค่อยๆ ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ลวดลายพื้นเมืองประดับประดาตามอาคารบ้านเรือนไม่ค่อยจะมีให้เห็นแล้ว ลวดลายพื้นเมืองต่างพากันทยอยเดินทางเข้ากรุเข้าพิพิธภัณฑ์กันไปมากโข การเก็บลวดลายเอาไว้อย่างดีอาจต่อยอดความรู้ความสามารถในการรังสรรค์งานเก่าในยุคใหม่ ให้กลับมามีพื้นที่อย่างสง่างามได้อีกครั้ง เหมือนที่พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขุนละหาร อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส ได้เริ่มดำเนินการ ถือเป็นโชคดีของชุมชนละหารที่ คุณรัศมินทร์ นิติธรรม และครอบครัว เปิดกรุของดีที่บ้านเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชน ให้คนในท้องถิ่นและคนทั่วไปมาเที่ยวชม สิ่งละอันพันละน้อย มีเรื่องราวบ่งบอกที่มา เป็นประวัติ ศาสตร์ชุมชนที่น่าศึกษาเรียนรู้แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
เครื่องปั้นดินเผา วัตถุโบราณ เครื่องทองเหลือง มะโย่ง ที่ดักนกคุ่ม ศาสตารวุธของชาวมลายู
พิพิธภัณฑ์เมืองนราธิวาส
จ. นราธิวาส
พิพิธภัณฑ์วัดตันติการาม
จ. นราธิวาส
พิพิธภัณฑสถานวัดชลธาราสิงเห
จ. นราธิวาส