โดย:
วันที่: 21 มีนาคม 2555
โดย:
วันที่: 21 มีนาคม 2555
โดย:
วันที่: 21 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: วิชญดา ทองแดง | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2555;vol. 38 No.1 January-March 2012
ที่มา: วารสารเมืองโบราณ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 10 มีนาคม 2557
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
เจริญราษฎร์ศึกษา
การจัดทำโครงงานบูรณาการพิพิธภัณฑ์เจริญราษำร์อุทิศของนักเรียนทุกคน เพื่อแสดงออกถึงการรักท้องถิ่นของตนเองเจริญราษฎร์ศึกษา
การจัดทำโครงงานบูรณาการพิพิธภัณฑ์เจริญราษำร์อุทิศของนักเรียนทุกคน เพื่อแสดงออกถึงการรักท้องถิ่นของตนเองเจริญราษฎร์ศึกษา
การจัดทำโครงงานบูรณาการพิพิธภัณฑ์เจริญราษำร์อุทิศของนักเรียนทุกคน เพื่อแสดงออกถึงการรักท้องถิ่นของตนเองเจริญราษฎร์ศึกษา
การจัดทำโครงงานบูรณาการพิพิธภัณฑ์เจริญราษำร์อุทิศของนักเรียนทุกคน เพื่อแสดงออกถึงการรักท้องถิ่นของตนเองเจริญราษฎร์ศึกษา
การจัดทำโครงงานบูรณาการพิพิธภัณฑ์เจริญราษำร์อุทิศของนักเรียนทุกคน เพื่อแสดงออกถึงการรักท้องถิ่นของตนเองเจริญราษฎร์ศึกษา
การจัดทำโครงงานบูรณาการพิพิธภัณฑ์เจริญราษำร์อุทิศของนักเรียนทุกคน เพื่อแสดงออกถึงการรักท้องถิ่นของตนเองรีวิวของพิพิธภัณฑ์เจริญราษฎร์อุทิศ (บ้านนาเกลือ)
พิพิธภัณฑ์เจริญราษฎร์อุทิศ(บ้านนาเกลือ) เป็นพิพิธภัณฑ์ของโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) ความโดดเด่นปรากฏด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมของอาคารจัดแสดงเป็นแบบย้อนยุค สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2447 เดิมแต่ละห้องเป็นห้องเรียนทั้ง 6 ห้องและด้านหน้ามุขชั้นบน-ล่าง เป็นห้องครูใหญ่และห้องพักครู ปัจจุบันทำเป็นพิพิธภัณฑ์ทั้งหลังแบ่งเป็น 8 ห้อง เปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2554ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนมีการบันทึกว่า สมัยก่อนผู้คนเรียกโรงเรียนนี้ว่า “โรงเรียนตึก” เป็นอาคารเรียนสองชั้นหลังแรกในบางละมุง มีบันทึกอยู่คู่โรงเรียนว่า เมื่อครั้งสร้างพระจุฑาธุชราชฐานที่เกาะสีชังและโรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา วัสดุอุปกรณ์ที่เหลือใช้ยังเหลือให้มาก่อสร้างเป็นอาคารเรียนหลังใหญ่โตนี้ โดยมี “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรเถระ” (นามเดิมว่า “เจริญ สุขบท” พ.ศ. 2415 - 2494) รับดำเนินการควบคุม มีญาติโยมช่วยกันคนละไม้ละมือเพื่ออุปถัมภ์ค้ำจุนการศึกษาของเยาวชน ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจึงมีชื่อเป็นอนุสรณ์ว่า โรงเรียนเจริญราษฎร์อุทิศ
การจัดแสดง 8 ห้อง ชั้นล่างได้แก่ ห้องเกียรติยศ ห้องดนตรีไทย ห้องวิถีชุมชน ห้องสมุด ชั้นบนมีห้องพระ ห้องโขน ห้องนิทรรศการ ห้องราชวงศ์จักรี
อาจารย์ภัทรวดี เข้มแข็ง รองผู้อำนวยการฯ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งและบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ ด้วยใจรักด้านวัฒนธรรมประเพณีไทย อาจารย์เป็นครูสอนดนตรีไทย ความคิดการทำพิพิธภัณฑ์ได้รับความเห็นชอบจากผู้อำนวยการ ได้ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณจำนวนหนึ่ง ต่อมามีผู้อุปถัมภ์คนสำคัญคือคุณเนาวรัตน์ ค้าขาย นักธุรกิจเมืองพัทยา ทำให้อาจารย์ภัทรวดีมีความพร้อมด้านงบประมาณในการทำพิพิธภัณฑ์และสร้างสรรค์สิ่งที่ตั้งใจไว้ได้อย่างเต็มที่ รายนามผู้บริจาคทางโรงเรียนได้เขียนไว้บนป้ายทางขึ้นพิพิธภัณฑ์ชั้น 2
การจัดแสดงห้องที่ 1 ห้องเกียรติยศ จัดแสดงเกียรติภูมิของโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) จากเดิมโรงเรียนใช้ชื่อว่า โรงเรียนประชาบาลตำบลนาเกลือ(เจริญราษฎร์บางละมุง) แล้วมาเป็นโรงเรียนบ้านนาเกลือ(เจริญราษฎร์อุทิศ) ก่อนจะโอนมาสังกัดเมืองพัทยาอย่างปัจจุบัน บนหลังตู้ของห้องนี้มีภาพของบ้านนาเกลือและโรงเรียนสมัยก่อน ถือเป็นภาพหายาก ส่วนในตู้กระจกมีเครื่องใช้มีค่าเป็นเชี่ยนหมากทองเหลือง เตารีด ขันพานรอง เครื่องเบญจรงค์ หม้อไหโบราณ
มาถึงห้องที่ 2 ห้องวิถีชุมชน อาจารย์ภัทรวดี ได้เล่าประวัติความเป็นมาของชื่อบ้านนาเกลือ ตามตำนานมี 2 เรื่อง บ้างก็ว่าเมื่อก่อนอำเภอบางละมุงเป็นป่าทึบ มีเสืออยู่มาก ชาวบ้านหวาดกลัวกันมาก จากคำว่าหมู่บ้านนี้น่ากลัวเลยเพี้ยนมาเป็นนาเกลือ กับอีกเรื่องหนึ่ง สมัยก่อนใช้การสัญจรทางเรือเป็นหลัก เคยมีเรือสำเภาบรรทุกเกลือมาล่มที่ปากคลอง คนพากันไปเก็บเอามาก็เลยเรียกเป็นนาเกลือ
ภายในห้องนี้มีสิ่งของพื้นบ้าน คนในชุมชนได้นำสิ่งของมาให้จัดแสดง มีเครื่องสีฝัด ครกตำข้าว เครื่องโม่ กระต่ายขูดมะพร้าว ตาชั่ง อุปกรณ์ทำการประมง ไหดินเผา กระต่ายขูดมะพร้าว เครื่องชั่ง มีรูปปั้นเด็กๆกำลังเรียนหนังสือกับพระ รูปปั้นการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้าน การสานกระบุงกระจาด สานปลาตะเพียน บอร์ดการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ แปลงนาจำลองมีต้นข้าวและระหัดวิดน้ำ
ห้องที่ 3 ห้องสมุด มีหนังสือของผอ.และญาติพี่น้องได้สะสมไว้ สำหรับให้ความรู้ความบันเทิงกับผู้สนใจ ภายในห้องมีคอมพิวเตอร์ให้ค้นคว้า ห้องที่ 4 ห้องดนตรีไทย ในวันหยุดห้องนี้มีนักเรียนมาเรียนดนตรีไทย ที่นี่ให้เรียนฟรี ซึ่งได้รับความสนใจจากนักเรียน เราจะได้เห็นบรรดานักเรียนกำลังบรรเลงดนตรีกันอย่างเพลิดเพลิน บางคนตีระนาด ตีขิม สีซอ ตีกลอง ตีฉิ่ง โดยรอบห้องมีเครื่องดนตรีไทยชิ้นอื่นๆวางไว้ เป็นบรรยากาศของห้องเรียนดนตรีไทยที่มีชีวิตชีวา
จากนั้นอาจารย์ภัทรวดี ได้นำชมห้องจัดแสดงชั้นบน เริ่มจากห้องที่ 5 ห้องพระ มีพระพุทธรูปองค์เล็กหลายปางอยู่ในตู้กระจก และมีรูปปั้นพระเกจิอาจารย์ขนาดเล็กมีป้ายชื่อกำกับไว้ให้ผู้เข้าชมได้ศึกษาด้วย
ถัดมาอีกฝั่งเป็นห้องที่สามารถเดินทะลุถึงกันได้เริ่มจากห้องโขน ห้องนี้จัดได้อย่างสวยงามล้ำค่า มีหัวโขนตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์จัดแสดงอยู่บนชั้นเต็มผนัง ห้องนี้ผู้จัดหามาคือคุณเนาวรัตน์ ด้วยใจรักงานศิลปะด้านนี้ ประกอบกันมีภาพวาดเรื่องราวในวรรณคดี ภาพวาดสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ หนังใหญ่ ชุดโขน ตุ๊กตาตัวเล็กแต่งกายตามแบบวรรณคดี
สำหรับห้องต่อมาห้องที่ 7 ผู้เข้าชมจะตื่นตาตื่นใจกับแกลเลอรีภาพเขียนของศิลปินของเมืองพัทยาที่ได้ร่วมมือกันนำเสนอสร้างสรรค์ผลงาน ได้แก่ ภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ภาพพระเกจิอาจารย์ ภาพวิถีชีวิตผู้คน เป็นต้น
ห้องสุดท้ายคือห้องที่ 8 ห้องราชวงศ์จักรี ห้องนี้จัดแสดงภาพพระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรีตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 9 รัชกาลปัจจุบัน กลางห้องมีโต๊ะกระจกจัดแสดงเหรียญกษาปณ์และธนบัตรของประเทศไทยทั้งหมด
ปัจจุบันวิถีชีวิตชาวบ้านนาเกลือเปลี่ยนแปลงไป มีตึกอาคารสูงเกิดขึ้นอย่างมากมายจากการเติบโตของการท่องเที่ยว ถ้าย้อนอดีตไปคนที่นี่เป็นชาวนา ชาวประมง มีประเพณีกองข้าว ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรม ได้จัดงานขึ้นในเดือนธันวาคมของทุกปี มีเทศกาลอาหารทะเล อาหารพื้นบ้าน มีการประกวดการตำน้ำพริก ส้มตำทะเล การได้มาชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จึงเหมือนกับสิ่งเตือนความทรงจำถึงบรรยากาศในอดีต โดยมีโรงเรียนตึกเป็นพื้นที่เก็บทุกสิ่งที่มีคุณค่าเอาไว้
----------------------------------------------------
สาวิตรี ตลับแป้น /ผู้เขียน
ข้อมูลจาก : สำรวจภาคสนาม วันที่ 22 มีนาคม 2556
----------------------------------------------------
อ้างอิง
แผ่นพับประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์เจริญราษฎร์อุทิศ(บ้านนาเกลือ)
วิชญดา ทองแดง.(2555). พิพิธภัณฑ์เจริญราษฎร์อุทิศ.วารสารเมืองโบราณ.ค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม
2556,จากhttp://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=News&file=article&sid=3508
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นแห่งแรกในเมืองพัทยา
ภาคตะวันออกมีพิพิธภัณฑ์อยู่น้อยแห่ง ว่าเฉพาะเมืองพัทยาอันเลื่องชื่อระดับโลก ถ้าจะมองหาพิพิธภัณฑ์ที่หวังให้คนในพื้นที่ได้รู้จัก เรียนรู้ และเข้าใจรากเหง้าของตนเองนั้น คงกล่าวได้ว่าพิพิธภัณฑ์แห่งแรกเพิ่งเริ่มตั้งไข่ ซึ่งได้เปิดตัวระดมทุนอย่างเป็นทางการเมื่อกลางเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ในชื่อ พิพิธภัณฑ์เจริญราษฎร์อุทิศ (บ้านนาเกลือ)แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
พระพุทธรูป ภาพวาด ดนตรีไทย โขน วิถีชีวิตท้องถิ่น วิถีชีวิต พัทยา พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น พระมหากษัตริย์ไทย
วิหารเซียน(เอนกกุศลศาลา)
จ. ชลบุรี
พิพิธภัณฑ์ตุ๊กตาหมี
จ. ชลบุรี
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดชลบุรี โรงเรียนชลกันยานุกูล
จ. ชลบุรี