พิพิธภัณฑ์ของจิ๋วสัญจร


พิพิธภัณฑ์ของจิ๋วสัญจร ก่อตั้งโดยคุณปิยะนุช ศกุนตนาค มีวัตถุประสงค์ในการบันทึกเรื่องราวในอดีตให้คนในปัจจุบันและอนาคตได้เรียนรู้เรื่องของวิถีไทย ผ่านของเล็กๆ แต่เดิมอาจารย์ดรุณีนาถ นาคคง คุณแม่ของคุณปิยะนุช และคุณปิยะนุช มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูศิลปะการประดิษฐ์ของจิ๋ว ซึ่งหมายถึงสิ่งประดิษฐ์ขนาดเล็กที่ทำขึ้นเพื่อเลียนแบบสิ่งของต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และเมื่อทำออกมาเเล้วจะเหมือนของจริงทุกประการ ของจิ๋วมีประวัติศาสตร์อันยาวนานหลายร้อยปี ในสมัยก่อนของจิ๋วที่มีความประณีตสวยงามจะมีขั้นตอนการทำที่ละเอียดและเป็นของสะสมของเหล่าบรรดาผู้มีฐานะ ผลงานในช่วงแรกๆ ของอาจารย์ดรุณีนาถ เป็นงานที่สร้างขึ้นจากความทรงจำในวัยเด็ก เนื่องจากครอบครัวของอาจารย์มีเชื้อสายมอญ จึงไม่อนุญาตให้ลูกหลานเล่นตุ๊กตา เมื่อเติบโตขึ้น อาจารย์ดรุณีนาถจึงได้เริ่มสะสมของจิ๋ว และได้สะสมมาเป็นเวลาถึง 30 ปีแล้ว และยังเป็นผู้ที่คิดค้นสูตรแป้งปั้นของจิ๋วที่เป็นที่นิยมแพร่หลายในเวลาต่อมา เนื่องจากพิพิธภัณฑ์ของจิ๋วเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกและสามารถเคลื่อนที่ได้ การจัดแสดงผลงานขนาดเล็กมีหัวข้อและเรื่องราวแตกต่างกันออกไป เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือ ร้านขนมปัง เรือนไทย โต๊ะหมู่บูชา ฯลฯ จึงไม่ต้องอาศัยพื้นที่กว้าง การเคลื่อนที่จัดแสดงไปตามสถานที่ต่างๆ อย่างไรก็ตาม คุณปิยนุชได้รับแรงบันดาลใจจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงดำรัสว่า นี่เป็นโครงการดีที่ควรเผยแพร่ ทำให้คุณปิยนุชเกิดแรงใจจัดตั้งโครงการ “พิพิธภัณฑ์ของจิ๋วสัญจร” ขึ้น ห้องจัดแสดงมีประมาณ 30 กว่าห้อง เช่น ห้องพิธีไหว้ครูจิ๋ว ห้องของเล็กที่สุดในโลก ห้องพันธุ์ปลาในท้องทะเลไทยทุกชนิดจิ๋ว วิถีชีวิตไทยจิ๋ว ขนมจิ๋ว งานลอยกระทงจิ๋ว เป็นต้น การเดินทางของพิพิธภัณฑ์ของจิ๋วสัญจรแต่ละครั้ง ยังมีการสอนเด็กๆ ให้เรียนการประดิษฐ์ของเล็กๆ ในเวลาสั้นๆ ประมาณครึ่ง ช.ม. นักเรียนจะนำผลงานที่ปั้นกลับไปชื่นชมที่บ้านได้ด้วย

ที่อยู่:
420/278 หมู่บ้านเศรษฐกิจ ซอยเศรษฐกิจ 46 ถนนเพชรเกษม แขวงบางแคเหนือ เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
โทรศัพท์:
02-2772676 , 0840844688, 0894920121 ติดต่อ คุณปิยะนุช นาคคง
วันและเวลาทำการ:
ทุกวัน 8.00 - 18.00 น.
อีเมล:
piyanuch.narkkong@gmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2541
ของเด่น:
ของประดิษฐ์เล็กจิ๋ว ย่อเรื่องราวของเรือนไทย อาหารไทย เครื่องปั้นดินเผา เครื่องจักสาน ขนมไทย ครัวไทย และยังมีเรื่องราวของปลาในท้องทะเลไทย แมวไทย นกในเมืองไทย และอาหารนานาชาติ เช่นจีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย สหรัฐอาหรับอีมีเรท อียิปต์ พม่า เวียดนาม บรูไน สิงคโป
จัดการโดย:
เนื้อหา:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

“พิพิธภัณฑ์ของจิ๋ว” ขนของ 48 ตู้ โชว์เต็ม 2 เดือนที่เชียงใหม่ ซู อควาเรียม

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 4 มีนาคม 2556

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 06 มีนาคม 2556


ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ของจิ๋วสัญจร

'ของจิ๋ว' หมายถึงสิ่งประดิษฐ์ขนาดเล็กที่ทำขึ้นเพื่อเลียนแบบสิ่งของต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และเมื่อทำออกมาเเล้วจะเหมือนของจริงทุกประการ ในปัจจุบันของจิ๋วกลายเป็นสินค้าประเภทหนึ่งที่สร้างชื่อและรายได้ให้กับประเทศไทย แต่ของจิ๋วมีประวัติศาสตร์อันยาวนานหลายร้อยปี ในสมัยก่อน ของจิ๋วที่มีความประณีตสวยงามจะมีขั้นตอนการทำที่ละเอียดและเป็นของสะสมของเหล่าบรรดาผู้มีฐานะ

ในปัจจุบันของจิ๋วเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่กำลังจะสูญหายไป อาจารย์ดรุณีนาถ นาคคง ผู้ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นทางวัฒนธรรม และคุณปิยะนุช ศกุนตนาค บุตรสาว ได้ฟื้นฟูศิลปะการประดิษฐ์ของจิ๋วขึ้นมาอีกครั้ง ผลงานในช่วงแรกๆ ของอาจารย์ดรุณีนาถ เป็นงานที่สร้างขึ้นจากความทรงจำในวัยเด็ก เนื่องจากครอบครัวของอาจารย์มีเชื้อสายมอญ จึงไม่อนุญาตให้ลูกหลานเล่นตุ๊กตา เมื่อเติบโตขึ้น อาจารย์ดรุณีนาถจึงได้เริ่มสะสมของจิ๋ว และได้สะสมมาเป็นเวลาถึง 30 ปีแล้ว

นอกจากนี้ เมื่อ พ.ศ. 2531 – 2532 ท่านได้ลองคิดสูตรแป้งปั้นของจิ๋วขึ้นมาโดยใช้ แป้ง กาวและโลชั่น กลายเป็นวัสดุที่เรียกกันอย่างแพร่หลายว่า “แป้งขนมปัง” ซึ่งต่อมาได้เป็นที่แพร่หลายและใช้ในการเรียนการสอนโดยทั่วไป อย่างไรก็ตาม งานประดิษฐ์ของจิ๋วในประเทศไทยระยะแรก จะไม่มีกำหนดขนาดมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งแตกต่างกับต่างประเทศที่มีการกำหนดขนาดสากล ของจิ๋วในประเทศไทยในช่วงแรกจึงมีสามประเภทคือ
(1) ของจิ๋วที่ผู้ประดิษฐ์ย่อส่วนตามชอบใจ
(2) ของจิ๋วที่ย่อตามมาตราส่วนสากล คือ 1:12 และ
(3) ของจิ๋วที่ศิลปินทำโดยมีเป้าหมายเพื่อชิงชัยความสามารถในการประดิษฐ์ของจิ๋วที่เล็กที่สุดในโลก

ต่อมาเมื่อมีผู้นิยมศิลปะการทำของจิ๋วเพิ่มมากขึ้น จึงมีการตั้งเป็นชมรมผู้นิยมของจิ๋ว ทำให้เกิดข้อบังคับที่ว่าผู้ประดิษฐ์ต้องประดิษฐ์ของจิ๋วตามขนาดมาตรฐานสากล ในแง่ของการจัดแสดงนิทรรศการ เนื่องจากพิพิธภัณฑ์ของจิ๋วเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกและสามารถเคลื่อนที่ได้ การจัดแสดงผลงานขนาดเล็กที่มีหัวข้อและเรื่องราวแตกต่างกันออกไป เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือ ร้านขนมปัง เรือนไทย โต๊ะหมู่บูชา ฯลฯ จึงไม่ต้องอาศัยพื้นที่กว้าง การเคลื่อนที่จัดแสดงไปตามสถานที่ต่างๆ เช่นนี้จึงส่งเสริมการขายในเชิงธุรกิจได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม คุณปิยนุชได้รับแรงบันดาลใจจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงดำรัสว่า นี่เป็นโครงการดีที่ควรเผยแพร่ จึงทำให้คุณปิยนุชเกิดแรงใจจัดตั้งโครงการ “พิพิธภัณฑ์ของจิ๋วสัญจร” ขึ้น ห้องจัดแสดงมีประมาณ 30 กว่าห้อง เช่น ห้องพิธีไหว้ครูจิ๋ว ห้องของเล็กที่สุดในโลก ห้องพันธุ์ปลาในท้องทะเลไทยทุกชนิดจิ๋ว วิถีชีวิตไทยจิ๋ว ขนมจิ๋ว งานลอยกระทงจิ๋ว งานวิถีไทยกับใบตองจิ๋ว อาหารไทยจิ๋ว ครัวไทยสมัยอดีตจิ๋ว ก๋วยเตี๋ยวหาบโบราณมาสู่ร้านก๋วยเตี๋ยวจิ๋ว ห้องเครื่องจักสานจิ๋ว พืช ผัก ผลไม้ไทย ที่ปรากฏอยู่ในการละเล่นจ้ำจี้ผลไม้ไทย ห้องครัวฝรั่งจิ๋ว และห้องอาหารญี่ปุ่นจิ๋ว เป็นต้น

ปัจจุบัน คุณปิยะนุช ดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิเพื่อพิพิธภัณฑ์ไทย กำลังผลักดันให้ทุกพิพิธภัณฑ์ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการร่างพระราชบัญญัติพิพิธภัณฑ์ไทย และจัดทำหนังสือรวบรวมรายชื่อและรายละเอียดพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย 800 แห่ง เพื่อแจกจ่ายให้กับโรงเรียนและห้องสมุดต่างๆ และเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงใส่พระทัยในงานพิพิธภัณฑ์มาตลอด ผู้สนใจสมทบทุนช่วยเหลือการผลิตหนังสือชุดนี้สามารถร่วมบริจาคสมทบทุนได้ที่มูลนิธิเพื่อพิพิธภัณฑ์ไทย ข้อมูลจาก: พัฒน์ศรี ทิพยประไพ. “พิพิธภัณฑ์ของจิ๋วสัญจร การเดินทางเล็ก ๆ ที่ยิ่งใหญ่.”

สรุปการบรรยายพิพิธภัณฑ์เสวนา เมื่อวันพุธที่ 20 พฤษภาคม 2550 ณ สปาฟา
บรรยายโดย คุณปิยะนุช นาคคง.
ชื่อผู้แต่ง:
-