ก่อตั้งโดยคุณสมบัติ อดิเศรษฐ์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับบุคคลทั่วไป ข้อมูลพิพิธภัณฑ์ "ก่อนจะมาเป็นพิพิธภัณฑ์ "ภูเก็ตไทยหัว" ในปี2553 อาคารโรงเรียนจีนหลังนี้ได้สร้างขึ้นในปี 2477 เป็นแหล่งเรียนรู้ภาษาจีนที่เก่าแก่ที่สุดของภูเก็ต บริหารจัดการโดยมูลนิธิล้อกเซี่ยนก๊ก ภายในอาคารมีนิทรรศการ 14 ห้อง ซึ่งจัดแสดงวิถีชีวิตชาวจีนภูเก็ตตั้งแต่แดนดินถิ่นกำเนิด การเดินทางมา การก่อร่างสร้างตัว ความสัมพันธ์กับจีน แบบอย่างของผู้ประสบความสำเร็จ ประวัติโรงเรียน ครูใหญ่คนสำคัญ อาชีพภูมิปัญญา ประเพณีพิธีกรรม ตึกเก่าชิโน-ยูโรเปียน การแต่งกาย และอาหารชาวบาบ๋า
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 5/7/2545
ที่มา: ผู้จัดการ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ชาธิป สุวรรณทอง | ปีที่พิมพ์: 18/08/2548
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ทีมการศึกษา | ปีที่พิมพ์: 27/08/2548
ที่มา: เดลินิวส์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง | ปีที่พิมพ์:
ที่มา: วารสารเมืองโบราณ
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: นิตยา กนกมงคล | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 ก.ค.-ก.ย. 2554;Vol.37 No.3 Jul-Sep 2011
ที่มา: วารสารเมืองโบราณ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 06 ธันวาคม 2556
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว
ก่อนจะมาเป็นพิพิธภัณฑ์ “ภูเก็ตไทยหัว” ในปี 2553 อาคารโรงเรียนจีนหลังนี้ได้สร้างขึ้นในปี 2477 เป็นแหล่งเรียนรู้ภาษาจีนที่เก่าแก่ที่สุดของภูเก็ตภายในพิพิธภัณฑ์มีนิทรรศการทั้งหมด 13 ห้อง ซึ่งจัดแสดงวิถีชีวิตชาวจีนภูเก็ตตั้งแต่แดนดินถิ่นกำเนิดการเดินทางมา การก่อร่างสร้างตัว ความสัมพันธ์กับจีน แบบอย่างของผู้ประสบความสำเร็จ ประวัติโรงเรียน ครูใหญ่คนสำคัญ อาชีพสำหรับภูมิปัญญา ประเพณีพิธีกรรม ตึกเก่าชิโน-ยูโรเปียน การแต่งกาย และอาหารชาวบาบ๋า รวมทั้งวีดีทัศน์และภาพยนตร์อีก 14 เรื่อง
ห้องที่ 1 จากแดนพญามังกร (Chinese migration)-- แสดงเส้นการเดินทางของชาวจีนที่มายังภูเก็ตในแต่ละยุค ถิ่นกำเนิดในแผ่นดินจีน มาทำอะไร พำนักอาศัยที่ไหนในภูเก็ต เป็นการปูพื้นเพื่อการชมนิทรรศการต่างๆ ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้
ห้องที่ 2 สายธารสัมพันธ์ (Alliance’s stream)-- แสดงถึงการรวบรวมกลุ่มช่วยเหลือกันชาวจีนโพ้นทะเล มีพัฒนาการจนเกิดองค์การต่างๆ ขึ้นในภูเก็ตตราบจนปัจจุบัน
ห้องที่ 3 สัมพันธ์ภูเก็ตจีน (Phuket - China relation)-- แสดงถึงความสัมพันธ์อันดีของชาวภูเก็ตกับจีนที่มีมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ห้องที่ 4 น้ำใจพี่น้อง (Patronage)-- แสดงประวัติผู้อุปถัมภ์หลักของโรงเรียนจีนในภูเก็ตในอดีต ซึ่งเป็นกลุ่มคหบดีที่มองการณ์ไกล มีจิตใจสาธารณะ ได้ร่วมกันกับชาวบ้านร้านค้าสร้างการศึกษาแก่ลูกหลานชาวจีน เพื่อให้เป็นแบบอย่างแกอนุชน
ห้องที่ 5 ดูอดีต (Looking back)-- แสดงประวัติของอาคารและโรงเรียนแห่งนี้ พร้อมทั้งคติการสร้างบ้านเรือนของชาวจีน เอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม และร่องรอยทางโบราณคดี
ห้องที่ 6 วิถี (The Chinese of Phuket)-- ห้องนี้เป็นห้องหลักที่มีการจัดแสดงอย่างหลากหลายซึ่งวิถีชีวิตของชาวจีนภูเก็ต ผ่านอาชีพ ความเป็นอยู่ วรรณกรรม และภูมิปัญญาของชาวภูเก็ตในอดีต
ห้องที่ 7 หนึ่งยุคสมัย (Tin mining)-- แสดงถึงความสำคัญของการทำเหมืองแร่และคนจีนที่มีต่อพัฒนาการของเมืองภูเก็ต พร้อมกับเกร็ดความรู้เรื่องการทำเหมืองแร่ในภูเก็ต
ห้องที่ 8 สีสันพันกาย (Attire)-- แสดงแบบ ลักษณะ และที่มาของการแต่งกายและเครื่องประดับชาวบาบ๋าภูเก็ต
ห้องที่ 9 ครูสุ่นปิ่น (Master Supin)-- แสดงชีวประวัติ คุณูปการ และการอุทิศตนของครูใหญ่ผู้เป็นปูชนียบุคคลคนหนึ่งของโรงเรียนภูเก็ตไทยหัว
ห้องที่ 10 โรงเรียนจีน (The Chinese school)-- มีการจัดวางโต๊ะเก้าอี้ครูนักเรียนเก่า เพื่อฟื้นบรรยากาศห้องเรียน ณ ห้องนี้
ห้องที่ 11 ฝรั่งครึ่งจีน (Old building) -- แสดงถึงความสวยงามและลักษณะเฉพาะของอาคารเก่าแก่อันเป็นเอกลักษณ์ของเมืองภูเก็ต
ห้องที่ 12 สืบทอด (Precious heritage)-- แสดงเรื่องราวประเพณีพิธีกรรมของชาวจีนภูเก็ต เพื่อความรู้และการสืบทอดของท้องถิ่น
ห้องที่ 13 คาวหวาน (Local cuisine) -- นำเสนอเรื่องราวของอาหารคาวและหวานของท้องถิ่น
นอกจากนี้ มี “ไทยหัวศึกษา” เป็นห้องสมุดเฉพาะทางที่จะรวบรวมหนังสือและสื่ออื่นเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และชาวจีนในภูเก็ต ประวัติศาสตร์และภูมิความรู้เกี่ยวกีบจีน คาบสมุทรมลายูและภาคใต้ของไทยที่เกี่ยวเนื่องกัน
วริสรา แสงอัมพรไชย /เรียบเรียง
สรุปข้อมูลจาก แผ่นพับประชาสัมพันธ์ “จากอดีตห้องเรียนสู่แหล่งเรียนรู้ชุมชน” พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว ประเทศไทย
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
ไปดูภาพเขียนที่พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว
เดิมเป็นอาคารเก่าที่สร้างขึ้นเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว โดยเปิดสอนภาษาจีน ต่อมาโรงเรียนย้ายไปอยู่ที่ใหม่ อาคารแบบชิโน-โปรตุกีส หรือที่ชาวภูเก็ตเรียกกันว่า อั่งม้อหลาว แห่งนี้ ก็ปิดไป ต่อมาได้ปรับปรุงและเปิดเพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว เรียบร้อยโรงเรียนจีนที่แหล่งเรียนรู้ชุมชน
เป็นที่รู้กันดีว่าหากเดินทางไปท่องเที่ยวที่ใดและต้องการเข้าใจเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และสังคมของที่นั่นก็ควรไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ของเขาเป็นอันดับแรก มาเที่ยวภูเก็ตทริปนี้ก็เช่นกัน ก่อนที่เราจะได้ท่องเที่ยวกันอย่างเพลิดเพลิน มีที่แห่งหนึ่งที่เราจะพาไปเที่ยวชมเพื่อทำความเข้าใจรากฐานและประวัติศาสตร์วิถีชีวิตและชุมชนของเมืองภูเก็ตก่อนการออกเดินทางไปท่องเที่ยวยังที่อื่นๆ ที่แห่งนั้นก็คือ “พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว”แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
บ้านประวัติศาสตร์ โรงเรียนภูเก็ตไทยหัว ภูเก็ต ชิโนโปรตุกีส
พิพิธภัณฑ์เมืองภูเก็ต โรงแรมถาวร
จ. ภูเก็ต
พิพิธภัณฑ์รูปเหมือนเจ้าอธิการวัดฉลอง
จ. ภูเก็ต
หอวัฒนธรรมภูเก็ต มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต
จ. ภูเก็ต