บ้านอรรถโฆษิต (หนังฉิ้น) ตั้งอยู่ภายในหมู่บ้านธรรมโฆษณ์ อ.สิงหนคร จ.สงขลา เป็นบ้านของนายฉิ้น ธรรมโฆษณ์ หรือ “หนังฉิ้น” ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หนังตะลุง) ปี พ.ศ. 2532 ที่เปิดให้ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปะการแสดงหนังตะลุงแห่งแรกของภาคใต้ให้กับประชาชนและเยาวชนทั่วไป ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะการแสดงหนังตะลุง ตั้งแต่เริ่มต้นฝึกหัดไปจนถึงสามารถเปิดการแสดงได้ ภายในบ้านอรรถโฆษิต ประกอบไปด้วยบ้านพักของท่าน กระท่อมธรรมโฆษณ์ และโรงหนังตะลุง ซึ่งจัดแสดงผลงานด้านวรรณกรรมหนังตะลุง อุปกรณ์การแสดง ตัวหนังตะลุงและรวมไปจนถึงเครื่องดนตรีที่ใช้ในการประกอบการแสดง "หนังฉิ้น” ได้ชื่อเป็นผู้มีปฎิภาณ ไหวพริบอันเป็นเลิศ และมีทักษะในการใช้ภาษาไทยให้เกิดสุนทรียะในการแสดง เพื่อให้การแสดงแต่ละครั้งมีคติสอนใจให้กับประชาชนและเยาวชน เพื่อให้รู้หลักในการดำเนินชีวิตประจำวัน จนกลายเป็นที่ยอมรับ การให้ความเคารพนับถืออย่างสูงของบุคคลที่อยู่ในวงการหนังตะลุง และบุคคลทั่วไป ในปี พ.ศ. 2518 หนังฉิ้นได้มีโอกาสแสดงหนังตะลุงต่อหน้าพระที่นั่ง 2 ครั้ง จนได้รับพระราชทานนามว่า”หนังอรรถโฆษิต” ซึ่งหมายถึงคณะหนังตะลุงที่ประกาศความดี
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของบ้านอรรถโฆษิต(หนังฉิ้น)
"บ้านอรรถโฆษิต” ตั้งอยู่เลขที่ 116 หมู่ที่ 3 ตำบลสทิงหม้อ อ.สิงหนคร จ.สงขลา เป็นบ้านของศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หนังตะลุง) ปีพ.ศ. 2532 ที่เปิดให้ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปะการแสดงหนังตะลุงแห่งแรกของภาคใต้ โดยเปิดโอกาสให้กับเยาวชนและประชาชนที่สนใจด้านการแสดงหนังตะลุง ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะการแสดงหนังตะลุง ตั้งแต่เริ่มต้นฝึกหัดไปจนถึงสามารถเปิดการแสดงได้ หนังฉิ้นอรมุต หรือหนังฉิ้น ธรรมโฆษณ์ หรือหนังอรรถโฆษิต เป็นบุตรคนที่ 5 ของนายยก-นางแช่ม อรมุต เกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2474 ที่บ้านธรรมโฆษณ์ หมู่ 3 ตำบลสทิงหม้อ อ.เมือง(ปัจจุบันเป็นอำเภอสิงหนคร) จ.สงขลา ปัจจุบันอายุ 74 ปี จบการศึกษาในระดับชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดธรรมโฆษณ์ ตั้งแต่วัยเด็กมีความรักในการอ่านหนังสือ โดยเฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับวรรณคดี หนังสือธรรมะ และรวมทั้งวรรณกรรมประเภทต่างๆ ทั้งประเภทร้อยกรองและร้อยแก้ว ประกอบกับความสนใจเกี่ยวกับการแสดงหนังตะลุงตั้งแต่วัยเด็กจนเกิดความแตกฉานในศิลปะการแสดงหนังตะลุง และใช้วิชาแสดงหนังตะลุงเป็นอาชีพเลี้ยงตัวเองและครอบครัวตลอดมา ซึ่งได้เปิดการแสดงมาแล้วประมาณ 6,000 ครั้งทั้งในประเทศและต่างประเทศ และมีผลงานด้านการประพันธ์บทหนังตะลุงที่เลืองชื่อ และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปไม่น้อยกว่า 100 เรื่องนอกจากนี้ ยังใช้เวลาว่างเพื่อประดิษฐ์ตัวหนังตะลุง เพื่อใช้ในการแสดงเองเกือบทั้งหมดอีกด้วย“หนังฉิ้น” เป็นผู้มีปฎิภาณ ไหวพริบอันเป็นเลิศ และมีทักษะในการใช้ภาษาไทยให้เกิดสุนทรียะในการแสดงเพื่อให้การแสดงแต่ละครั้งมีคติสอนใจให้กับประชาชนและเยาวชน เพื่อให้รู้หลักในการดำเนินชีวิตประจำวัน จนกลายเป็นที่ยอมรับ การให้ความเคารพนับถืออย่างสูงของบุคคลที่อยู่ในวงการหนังตะลุง และบุคคลทั่วไป ในปี พ.ศ. 2518 หนังฉิ้นได้มีโอกาสแสดงหนังตะลุงต่อหน้าพระที่นั่ง 2 ครั้ง จนได้รับพระราชทานนามว่า”หนังอรรถโฆษิต” ซึ่งหมายถึงคณะหนังตะลุงที่ประกาศความดี
จากประวัติและผลงานการแสดงศิลปะ หนังตะลุง ของหนังฉิ้น ผู้ซึ่งได้ทำการสืบทอดศิลปะการด้านการแสดง”หนังตะลุง” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ ทำให้ได้รับการประกาศเป็น ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาศิลปการแสดง “หนังตะลุง” ในปี พ.ศ. 2532 และภายในปีเดียวกันนั้น ก็ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง”หนังตะลุง” ซึ่งเป็นคนที่สองที่ได้รับเกียรติยศนี้ โดยคนแรกคือนายกั้น ทองหล่อหรือหนังกั้น ทองหล่อ ผู้เป็นครูของหนังฉิ้น นั่นเอง แต่ขณะนี้เสียชีวิตไปแล้ว
ภายในบ้านอรรถโฆษิต ประกอบไปด้วยบ้านพัก กระท่อมธรรมโฆษณ์ และโรงหนังตะลุง ซึ่งเต็มไปด้วยผลงานด้านวรรณกรรมหนังตะลุง อุปกรณ์การแสดง ตัวหนังตะลุงและรวมไปจนถึงเครื่องดนตรีที่ใช้ในการประกอบการแสดง โดยมีนายฉิ้น ธรรมโฆษณ์ หรือ “หนังฉิ้น” เป็นผู้ควบคุมและเป็นผู้ประสาทวิชา ให้กับผู้ที่สนใจในบ้านอรรถโฆษิต การเปิดบ้านอรรถโฆษิต เพื่อต้องการให้เยาวชนและผู้ที่สนใจได้รับการเรียนรู้และได้ใช้เป็นแหล่งค้นคว้า เกี่ยวกับศิลปะด้านการแสดงหนังตะลุง ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ ก่อนที่จะสูญหายไปกับกาลเวลา นับเป็นแหล่งเรียนรู้แห่งแรกของภาคใต้ที่เปิดโอกาสให้กับผู้ที่สนใจด้านศิลปะการแสดงหนังตะลุง โดยไม่คิดมูลค่าหรือค่าใช้จ่ายใดใดทั้งสิ้น ผู้สนใจร่วมสืบสาน ศิลปะพื้นบ้านของภาคใต้สามารถเดินทางเข้ามาเยี่ยมชมได้ หนังฉิ้นพร้อมที่จะถ่ายทอดวิชาความรู้เพื่อร่วมอนุรักษ์หนังตะลุง สิ่งที่รักและหวงแหนยิ่งชีวิต
ข้อมูลจาก :
http://tna.mcot.net/ [accessed20070227]
http://www.manager.co.th/MetroLife/ViewNews.aspx?NewsID=9480000026877[accessed20070227]
http://www.siam-handicrafts.com/Webboard/question.asp?QID=2984[accessed20070227]
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ศิลปินแห่งชาติ การแสดงพื้นบ้าน หนังตะลุง
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านอาจารย์ศรี ธมฺมปาโล วัดโคกเหรียง
จ. สงขลา
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านควนเนียง โรงเรียนควนเนียงวิทยา
จ. สงขลา
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านอำเภอรัตภูมิ
จ. สงขลา