พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ทวด วัดพะโคะ


ชื่อเรียกอื่น:
พิพิธภัณฑ์สมเด็จเจ้าพะโคะ หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
ที่อยู่:
วัดพะโคะ 60 หมู่ 6 ต.ชุมพล อ.สทิงพระ จ.สงขลา 90190
โทรศัพท์:
0-7434-4175, 082-4312716 (พระใบฏีกาศักรินทร์ สิริภทฺโท)
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2536
ของเด่น:
วัตถุเกี่ยวกับหลวงปู่ทวด
จัดการโดย:
เนื้อหา:

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ประวัติวัดพะโคะและประวัติสมเด็จเจ้าพะโคะ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: -

ที่มา: สงขลา: วัดพะโคะ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

วัดพะโคะ

ชื่อผู้แต่ง: สุธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์ และคนอื่น ๆ | ปีที่พิมพ์: 2538

ที่มา: กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

"วัดพะโคะ" วัดจำพรรษาหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเจจืด

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 13 กันยายน 2552

ที่มา: ผู้จัดการ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

วัดพะโคะบูรณะพิพิธภัณฑ์สมเด็จเจ้าพะโคะ

ชื่อผู้แต่ง: สมศักดิ์ ศรีกำเนิด | ปีที่พิมพ์: 3 ก.พ. 2559;03-02-2016

ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 04 กุมภาพันธ์ 2559


ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์สมเด็จเจ้าพะโคะ

หลวงปู่ทวด มีนามเดิมว่า ปูเป็นบุตรของนายหู และ นางจัน  เล่าสืบต่อกันมาว่าบิดามารดาของเด็กชายปูนั้นเป็นทาสในเรือนเบี้ยของเศรษฐีปานเมื่อยังเล็กแม่ผูกเปลไว้มีงูจงอางมาคายลูกแก้วไว้ในเปล  เมื่ออายุได้ 7 ขวบ  บิดามารดาของท่านจึงนำท่านไปฝากไว้กับสมภารจวง วัดดีหลวง  ให้บวชเป็นสามเณรเพื่อเรียนหนังสือ  ด้วยความที่เป็นคนใฝ่เรียน สามเณรปูเรียนจนจบในระดับเบื้องต้น  สมภารจวงได้นำสามเณรปูไปฝากให้เล่าเรียนหนังสือที่สูงขึ้น สมัยนั้นเรียกว่ามูลบทบรรพกิจ โดยนำไปฝากเรียนไว้กับสมเด็จพระชินเสน พระเถระชั้นสูงที่ส่งมาจากกรุงศรีอยุธยา ให้มาครองเป็นเจ้าอาวาสวัดสีคูยังหรือวัดสีหยังในปัจจุบัน  หลังจากนั้นท่านได้เดินทางเข้ามาศึกษาต่อที่เมืองนครศรีธรรมราช เพื่อเรียนหนังสือให้สูงขึ้นที่วัดเสมาเมือง และบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เมื่ออายุครบกาลอุปสมบท ท่านได้ศึกษาวิชาจากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ จนมีความรู้  และไปร่ำเรียนต่อที่กรุงศรีอยุธยา  ในระหว่างที่เดินทางอยู่กลางทะเล น้ำจืดในเรือหมด ท่านได้แสดงปาฏิหาริย์เอาเท้าเหยียบน้ำทะเลกลายเป็นน้ำจืด สร้างความศรัทธาให้กับคนที่อยู่เรือเป็นอย่างมาก ระหว่างที่ท่านจำพรรษาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ท่านได้แสดงปาฏิหาริย์หลายครั้ง  จนได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์จากสมเด็จพระเอกาทศรถในครั้งสุดท้ายในราชทินนามว่า สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์”  หลังจากนั้นท่านได้ธุดงค์กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดพะโคะจนถึงวัยชราท่านก็ได้หายไปจากวัดพะโคะ  

วัดพะโคะหรือวัดราชประดิษฐาน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราว พ.ศ. 500 มีเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ อันเป็นที่ประดิษฐานพระมหาธาตุของพระพุทธเจ้าที่นำมาจากเมืองลังกา นอกจากนี้มีพระพุทธไสยาสน์ ชื่อว่าพระพุทธโคตมะ ตามความนิยมของชาวบ้านเรียกชื่อวัดตามชื่อพระโคตมะ ชื่อวัดราชประดิษฐานเดิมไม่นิยมเรียกกัน ต่อมาวัดพระโคตมะเรียกเพี้ยนเป็นวัดพะโคะ บริเวณวัดมีภูเขาสี่ลูกคือ เขาพระพุทธบาท(พะโคะ) เขาพนังตุกแก(เขาน้อย) เขาคูหา และเขาผี ชุมชนที่อยู่ใกล้บริเวณเขาทั้งสี่นี้ ตามตำนานในอดีตเจ้าเมืองลังกาทรงให้ชุมชนเหล่านี้ช่วยเหลือกิจของวัดพะโคะเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา ความสำคัญอีกประการหนึ่งของวัดพะโคะ คือ เป็นที่กำเนิดและอุปสมบทของหลวงปู่ทวด ทางวัดจึงต้องการนำสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวดมาให้ชมและนำเสนอประวัติความเป็นมาของหลวงปู่ทวด 

พิพิธภัณฑ์วัดพะโคะเปิดให้เข้าชมเมื่อปี พ.ศ. 2536  ของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ อาทิ พระพุทธรูป เครื่องปั้นดินเผาเครื่องทองเหลือง มีดพร้า ตะบันหมากทองเหลือง ธนบัตรและเหรียญสมัยก่อน เครื่องถ้วยกระเบื้อง นอกจากนี้ยังมีวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับหลวงพ่อทวด เช่น อัฐบริขาร จีวร    ไม้เท้าของหลวงปู่ทวด ลูกแก้วบารมี เป็นต้น  

 

          วัตถุชิ้นเด่นในพิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับหลวงปู่ทวด อาทิ  ลูกแก้วหลวงปู่ทวด ซึ่งเชื่อว่าคือลูกแก้วที่งูจงอางคายไว้ในเปลของเด็กชายปู  เมื่อครอบครัวของเด็กชายปูได้ลูกแก้วมาการทำมาหากินดี    จนเศรษฐีปานรู้เข้าก็บีบบังคับเอาลูกแก้วจากนายหูและนางจัน  จนต้องจำยอมให้ลูกแก้วนั้นแก่เศรษฐีปาน   เมื่อเศรษฐีปานเอาลูกแก้วไปแล้ว เกิดเภทภัยในครอบครัวเกิดการเจ็บป่วยกันบ่อย ฐานะก็ยากจนลง   เศรษฐีปานจึงได้เอาลูกแก้วมาคืน และขอขมาเด็กชายปู และยกหนี้สินให้แก่นายหูและนางจันทร์ ทั้งสองจึงพ้นจากการเป็นทาสมีฐานะดีขึ้น ๆ  ส่วนเศรษฐีปานก็มีฐานะดีขึ้นดังเดิมเมื่อครั้งที่ท่านไปจำพรรษาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา เกิดมีโรคห่าระบาดคนล้มตายเป็นจำนวนมาก ท่านได้ใช้ลูกแก้วนี้ใส่ไปในน้ำพระพุทธมนต์รักษาจนโรคไข้ห่าหายหมดสิ้นไป  เมื่อท่านกลับมาจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว  ท่านได้บูรณะเจดีศรีรัตนมหาธาตุ และนำเอาลูกแก้วนั้นไปประดิษฐานเอาไว้บนยอดพระเจดีย์ต่อมาหลังจากโละจากวัดพะโคะไปแล้ว เกิดฟ้าผ่ายอดเจดีย์ ทำให้ดวงแก้วตกลงมาอยู่ใกล้ ๆ เจดีย์ ภายหลังเด็ก ๆ ละแวกนั้นพากันมาเล่นสะบ้า  เด็กเห็นลูกแก้วก็เกิดประหลาดใจ จึงนำไปมอบให้แก่พ่อแม่ ก็เกิดเหตุอัศจรรย์ คือมีงูใหญ่ขัดขวางเอาไว้  เด็กจึงนำลูกแก้วเข้าไปคืนให้แก่เจ้าอาวาสวัดพะโคะดังเดิม 

ไม้เท้าสามคด เล่ากันว่าในขณะหลวงปู่ทวดจำพรรษาอยู่ที่พะโคะ  วันหนึ่งท่านถือไม้เท้าสามคดออกไปเดินเล่น หรือเดินจงกลม ไม่มีใครรู้ แต่ท่านคงรู้อะไร แบบลางบอกเหตุ ท่านเดินดูลมชมวิวธรรมดา ชาวบ้านพากันแปลกใจแล้วไม่นานก็มีเรือโจรสลัดเข้ามาจอดเลียบชายฝั่งแล้วท่านลงเรือไปโดยไม่พูดอะไร  เรือไปได้ไม่นานก็ไปต่อไม่ได้ครั้นนานเข้าน้ำสะอาดสำหรับดื่มกินและใช้สอยภายในเรือก็หมดลง   โจรทั้งหลายต่างได้รับความลำบากเดือดร้อนกันถ้วนหน้า  ก็พากันกล่าวหาว่าท่านเป็นกาลีทำให้ทุกข์ยากท่านสังเกตอยู่เงียบ ๆ เฉยๆ เห็นว่าเหล่าโจรบาปหนาลำบากจนสิ้นแล้ว คงได้เวลาสอนธรรมท่านเดินใช้ไม้เท้ากุก ๆ  กัก ๆ  เดินไปเหยียบกาบเรือให้เอนไปจนเลียบน้ำทะเลทำให้เกิดอัศจรรย์ใจแก่หมู่โจรยิ่งนัก หลังจากนั้นท่านก็เอาเท้าข้างหนึ่งลงไปเหยียบทะเลแล้วเรียกให้เหล่าโจรมาดู พวกโจรที่เห็นเรือเอนจวนจะพลิกคว่ำก็พากันวิ่งมาดู พบว่าบริเวณที่ท่านเหยียบลงไปเป็นเวิ้งน้ำสีขาว ชิมดูเป็นน้ำจืด พวกโจร จึงพากันตักดื่มกิน  แล้วพร้อมใจกันหาดอกไม้ธูปเทียนมากราบไหว้หลวงปู่ทวด ขอขมาลาโทษท่านเป็นการใหญ่ท่านยกโทษให้ด้วยเมตตา และอบรมสั่งสอนจนโจรเหล่านั้นเลิกฆ่าสัตว์ตัดชีวิตกลับตัวกลับใจเป็นคนดี และสามารถนำเรือเข้าฝั่งกลับมาได้  ต่อมาท่านได้กลับมาวัดและได้ตั้งไม้เท้าไว้ระหว่างต้นยางสองต้นเคียงกัน ต้นยางทั้งสองต้นนั้นเมื่อโตขึ้นมาก็มีลักษณะคด ๆ งอ ๆ เหมือนไม้เท้าของหลวงปู่   จึงเรียกต้นยางนั้นว่า "ต้นยางไม้เท้า" 

ข้อมูลจาก:

รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจัดทำข้อมูลพิพิธภัณฑ์ภาคใต้ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคใต้ สนับสนุนโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) 2564. 

 

ชื่อผู้แต่ง:
ประเสริฐ รักษ์วงศ์

รีวิวของพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ทวด วัดพะโคะ

วัดพะโคะหรือวัดราชประดิษฐาน สร้างขึ้นราว พ.ศ. 500 มีเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระมหาธาตุของพระพุทธเจ้าที่นำมาจากเมืองลังกา นอกจากนี้มีพระพุทธไสยาสน์ ชื่อว่าพระพุทธโคตมะ ตามความนิยมของชาวบ้านเรียกชื่อวัดตามชื่อพระโคตมะ ชื่อวัดราชประดิษฐานเดิมไม่นิยมเรียกกัน ต่อมาวัดพระโคตมะเรียกเพี้ยนเป็นวัดพะโคะ บริเวณวัดมีภูเขาสี่ลูกคือ เขาพระพุทธบาท(พะโคะ) เขาพนังตุกแก(เขาน้อย) เขาคูหา และเขาผี ชุมชนที่อยู่ใกล้บริเวณเขาทั้งสี่นี้ ตามตำนานในอดีตเจ้าเมืองลังกาทรงให้ชุมชนเหล่านี้ช่วยเหลือกิจของวัดพะโคะเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา ความสำคัญอีกประการหนึ่งของวัดพะโคะคือ เป็นที่กำเนิดและอุปสมบทของหลวงปู่ทวด ทางวัดจึงต้องการนำสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวดมาให้ชมและนำเสนอประวัติความเป็นมาของหลวงปู่ทวดด้วย

พิพิธภัณฑ์วัดพะโคะเปิดให้เข้าชมเมื่อปี พ.ศ. 2536 ของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ อาทิ พระพุทธรูป เครื่องปั้นดินเผาเครื่องทองเหลือง มีดพร้า ตะบันหมากทองเหลือง ธนบัตรและเหรียญสมัยก่อน เครื่องถ้วยกระเบื้อง นอกจากนี้ยังมีวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับหลวงพ่อทวด เช่น อัฐบริขาร จีวร ไม้เท้าของหลวงปู่ทวด ลูกแก้วบารมี เป็นต้น


ข้อมูลจาก:

1. การสำรวจภาคสนาม วันที่ 19 มกราคม 2547

2. การประชุมเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น (ภาคใต้) จัดโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร วันที่ 7 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ณ โรงแรมแกรนด์ปาร์ค จังหวัดนครศรีธรรมราช

3. ชัย สัจจาพันธุ์. ประวัติวัดพะโคะ(วัดพระราชประดิษฐาน) และประวัติสมเด็จเจ้าพะโคะ (หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด). สงขลา: โรงพิมพ์เมืองสงขลา, 2525.

ชื่อผู้แต่ง:
-

วัดพะโคะบูรณะพิพิธภัณฑ์สมเด็จเจ้าพะโคะ

นับเป็นเวลายาวนานต่อเนื่องมากกว่า 400 ปี ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ตำนานของวัดพะโคะ อ.สทิงพระ จ.สงขลา และเรื่องราวอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อันน่าอัศจรรย์ของหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด หรือ สมเด็จเจ้า ยังคงถูกเล่าขานสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในครั้งแรกเกิดที่มีงูตระบองสลาตัวใหญ่มาขดพันอยู่รอบเปล และไม่ยอมให้ผู้ใดเข้าไปใกล้ จนกระทั่งบิดามารดาของสมเด็จเจ้าในขณะนั้น ได้เข้ามากราบไหว้สักการบูชา จนงูใหญ่ตัวนั้นได้คลายตัวออกจากเปล
ชื่อผู้แต่ง:
-