พิพิธภัณฑ์ส่วนบุคคลของปัญญา พูลศิลป์ นักสะสมผ้าโบราณกว่า 1,000 ผืน เขาสะสมผ้าภาคใต้หาชมยาก ส่วนใหญ่เป็นผ้าจากจังหวัดสงขลา และมาจากชาวบ้านชุมชมมุสลิมเป็นหลัก และมีผ้าจากภูมิภาคอื่นๆ และจากต่างประเทศอาทิ อินเดีย มลายู จีน เป็นต้น ผืนที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุไม่น้อยกว่า 140 ปี หรือในสมัยรัชกาลที่ 4 และที่ใหม่สุดมีอายุประมาณ 30-40 ปี นอกจากนั้นยังมีผ้าบางชนิด เช่น “ผ้าปะรางิง”ซึ่งเป็นผ้าที่มาจากประเทศอินเดีย แต่ถูกนำมาปรับใช้เทคนิคในการทำลวดลาย ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เขาเชื่อว่าผ้าสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการเล่าเรื่อง ประวัติศาสตร์ของเมืองสงขลา ซึ่งจากการรวบรวมผ้ามาตลอด 1 ปี ทำให้ทราบว่าเมืองเก่าสงขลานั้นมีเรื่องราวมากมาย มีการผสมผสานในเรื่องผืนผ้าทั้งจากอินเดีย มาเลเซีย จีน อินโดนีเซีย ผ่านทั้งการค้าขาย ความสัมพันธ์ทางด้านครอบครัว ทำให้มีการถ่ายทอดเรื่องเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายซึ่งกันและกัน อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นบ้านเก่าในเมืองเก่าสงขลาบนถนนนครใน เป็นบ้านจีนฮกเกี้ยนสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชื่อผู้แต่ง: ปัญญา พูลศิลป์ | ปีที่พิมพ์: 2564
ที่มา: พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณสงขลา 238 Inspiration
แหล่งค้นคว้า: พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณสงขลา 238 Inspiration
โดย: ศมส.
วันที่: 10 กรกฎาคม 2564
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณสงขลา
ปัญญา พูลศิลป์ วิศวกรนักสะสมผ้าโบราณกว่า 1,000 ผืน และยังเป็นเจ้าของ ‘238Inspiration House’ พิพิธภัณฑ์ผ้าภาคใต้แห่งเดียวในประเทศไทย เป็นการสะสมผ้าภาคใต้หาชมยาก ส่วนใหญ่เป็นผ้าจากจังหวัดสงขลา มาจากชาวบ้านชุมชมมุสลิมเป็นหลัก เพราะชาวมุสลิมถือว่าผ้าเป็นมรดกส่งต่อให้กับลูกหลานได้ และมีผ้าภาคเหนือ ภาคอีสาน และผ้าจากต่างประเทศ เช่น อินเดีย มลายู จีน ฯลฯ
ปัญญา พูลศิลป์ เป็นคนสมุทรปราการ ย้ายมาอยู่สงขลา เมื่อ 10 ปีก่อน ย้ายมาประจำตำแหน่งวิศวกรที่นี่ ด้วยความชอบสะสมของเก่า ประจวบกับมีโอกาสรู้จักอาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ ท่านแนะนำว่า “คนเก็บผ้าภาคเหนือมีเยอะแล้ว สงขลายังไม่มีใครเก็บผ้าภาคใต้เลย” จึงลองเก็บสะสมดู จนปริมาณเพิ่มขึ้นมากภายในเวลาเพียง 1 ปี จึงตัดสินใจเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ผ้าพ่วงของสะสมโบราณและงานศิลปะภายใต้บ้านเก่าอายุมากกว่า 100 ปี ของจีนฮกเกี้ยนเลขที่ 238 เป็น “พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณสงขลา 238”
ผ้าทอชิ้นเด่น อาทิ ผ้ายกไหมตราราชวัตร จากบันทึกของเจ้าเมืองสงขลา และแหล่งที่พบจากชุมชนมุสลิมโบราณ “บ้านหัวเขา” รวมทั้งหลักฐานต่าง ๆ เช่น โรงทอผ้าโบราณที่หลงเหลือและลักษณะพิเศษของหลักฐานผ้าที่พบ มีความแตกต่างจาก “ผ้าลายราชวัตร” จากที่อื่น เนื่องจากผ้า “ลายราชวัตร” ผืนที่พบ นอกจากเทคนิคการทอผ้าแล้ว อีกประการหนึ่ง คือ ลักษณะการทอที่ใช้ไหมที่มีสีแตกต่างกันถึง 5 สี อาจจะเชื่อมโยงและแฝงถึงคติความเชื่อของมุสลิมแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ( ชวา หมู่เกาะสุมาตรา และ แหลมมลายู รวมถึง ปัตตานี และเมืองสงขลา หรือ ซิงโกรา ) ในอดีต ปัจจุบัน คือ บ้านหัวเขา ผ้าผืนที่พบตั้งข้อวิเคราะห์ อาจทอโดยคนมุสลิมในอดีต โดยมีลักษณะและเทคนิคการทอที่ใช้สีถึง 5 สี ในผ้าผืนเดียว หรือ อาจเรียกผ้าผืนที่พบ “ผ้ายกไหมซงเค็ตสีมาร์ลายราชวัตร” ก็อาจเรียกได้ คำว่า ลีมาร์ในวัฒนธรรมมลายูใช้สีในการแสดงถึงสัญลักษณ์ทั้งห้า (ความยิ่งใหญ่และความประเสริฐ / ความสงบสุข / ความสามัคคี / พลเรือน / ความเจริญรุ่งเรือง ) ผ้าที่พบมีทั้งหมด 5 สี คือ สีเขียว สีน้ำตาล สีแดง สีขาว และสีทอง ผ้าลักษณะนี้จะใช้สำหรับบุคคลสำคัญ หรือ ชนชั้นการปกครอง
BATIK KOTAKเป็นผ้าอีกประเภทที่พบ เป็นผ้าที่มีความนุ่มพลิ้วเหมือน “ผ้าปะลางิง” แต่ใช้เทคนิคในการพิมพ์ลวดลายด้วยบล๊อคไม้ จากเมือง HABUTAIประเทศญีปุ่น ผลิตส่งบายตลาดมลายู ผ้าผืนนี้พบในชุมชนแขกโบราณ “บ้านหัวเขา” ที่เคยมีใช้เมื่อครั้งอดีต
นอกจากนี้ยังมีเครื่องแต่งกายโบราณที่หาชมได้ยาก อาทิ เสื้อบาจูกูรง ตัดเย็บด้วยผ้าลิมานซงเค็ด พบที่อำเภอรามัน เป็นเสื้อที่มีใช้ในสมัยที่ยังมีการปกครองแบบเจ็ดหัวเมืองในอดีต เป็นเสื้อสำหรับชนชั้นปกครองสวมใส่ เสื้อบาจูอีมาส ตพบที่จะบังติฆอ เป็นเสื้อที่ตัดเย็บด้วยผ้ายกที่ใช้เส้นไหมน้อยสีเขียว ทอยกด้วยเส้นทองคำเป็นลายดอกไม้ เกสรดอกไม้เป็นสีม่วง ด้านในเย็บบุด้วยผ้าพิมพ์จากอินเดีย เป็นเสื้อสำหรับชนชั้นปกครองในอดีตยุคที่มีการปกครองแบบเจ็ดหัวเมือง
โสร่งจาก “เมืองปาหัง” ผืนนี้พบที่ชุมชนมุสลิมโบราณ “บ้านหัวเขา” เป็นโสร่งที่ทอจากไหมเป็นลายริ้วในแนวขวางสลับสีไปมา สีที่นิยมคือ สีงาช้าง สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีชมพู และสีม่วงเข้ม พบทั้งสองแบบ คือ แบบโสร่งที่สุภาพบุรุษสวมใส่ และแบบที่สุภาพสตรีสวมใส่ ซึ่งมีความแตกต่างกัน คือ ถ้าเป็นแบบสุภาพบุรุษจะเป็นแบบในรูป ซึ่งมีความกว้างความยาวแบบโสร่งทั่วไป ส่วนของสุภาพสตรีจะใช้ผ้าที่มีความกว้างเท่ากันสองผืนมาเย็บเพลาะตรงกลางผ้า เพื่อเพิ่มความกว้าง และเหมาะกับลักษณะการสวมใส่ของสตรี โดยการนุ่งของสตรีจะนำผ้ามาผูกเคียนบนหน้าอก หรือ กระโจมอก
ข้อมูลจาก:
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจัดทำข้อมูลพิพิธภัณฑ์ภาคใต้ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคใต้ สนับสนุนโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) 2564.
https://readthecloud.co/songkhla-textile-museum/
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
238 Inspiration House
นอกจากเป็นวิศวกร เป็นนักสะสมผ้า เขายังเป็นเจ้าของ ‘238 Inspiration House’ พิพิธภัณฑ์ผ้าภาคใต้แห่งเดียวในประเทศไทย เป็นการสะสมผ้าภาคใต้หาชมยากจากคอลเลกชันส่วนตัว ส่วนใหญ่เป็นผ้าจากจังหวัดสงขลา มาจากชาวบ้านชุมชมมุสลิมเป็นหลัก เพราะชาวมุสลิมถือว่าผ้าเป็นมรดกส่งต่อให้กับลูกหลานได้ บางครั้งก็เจอผ้าภาคเหนือ ภาคอีสาน และผ้าจากต่างประเทศ เช่น อินเดีย มลายู จีน ฯลฯแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ผ้า สิ่งทอ สงขลา
พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรหาดใหญ่
จ. สงขลา
หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา โรงเรียนมหาวชิราวุธ
จ. สงขลา
พิพิธภัณฑ์วัดคลองแห
จ. สงขลา