พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา


ที่อยู่:
สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ 53/2 หมู่ 1 บ.อ่าวทราย ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา 90100
โทรศัพท์:
074591611-2
โทรสาร:
0-7459-1619
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 8.30-17.00 น.
ค่าเข้าชม:
นักเรียน ประถม มัธยม 10 บาท, นิสิต นักศึกษา 20 บาท, บุคคลทั่วไป 50 บาท, ชาวต่างประเทศ 100 บาท
เว็บไซต์:
อีเมล:
folklore.ists@gmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2523
ของเด่น:
กริช, ผ้าทอ, เครื่องปั้นดินเผา, เครื่องแก้ว, ลูกปัดโบราณ, กระต่ายขูดมะพร้าว
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณคดีศึกษา

ชื่อผู้แต่ง: เมธาพร รังทะษี | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 53 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2557;vol. 53 No.1 January-March 2014

ที่มา: วารสารวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 16 กรกฎาคม 2557


ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา

พ.ศ.2511 วิทยาลัยวิชาการศึกษา ได้เปิดวิทยาเขตประจำภาคใต้ที่จ.สงขลา ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ (ขณะนั้นตำแหน่งอาจารย์โท) ได้ถูกยืมตัวจากวิทยาลัยครูสงขลาให้มาช่วยราชการที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาสงขลา โดยทำหน้าที่หัวหน้าภาควิชาภาษาไทย ท่านนำนักศึกษาฝึกเก็บข้อมูลภาคสนาม ทำให้ได้ข้อมูลวัฒนธรรมเป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นวัตถุของจริง สมุดข่อย ข้อมูลที่เป็นมุขปาฐะในรูปของแถบบันทึกเสียง ภาพถ่าย ภาพสไลด์ และภาพยนตร์ พร้อมทั้งได้พบว่าข้อมูลวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีค่ายิ่งเหล่านั้นกำลังจะสูญหายไป ต้องรีบจัดเก็บอย่างเร่งด่วน การจัดเก็บข้อมูลวัฒนธรรมจึงได้กระทำอย่างเป็นระบบ

พ.ศ.2514 ภาควิชาภาษาไทยได้นำข้อมูลต่างๆ ที่เก็บรวบรวมได้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวรรณกรรมลายลักษณ์ หนังสือบุด สมุดข่อย และข้อมูลซึ่งบันทึกไว้ในแถบบันทึกเสียง มาจัดรวบรวมไว้ในห้องเดียวกันและตั้งชื่อห้องว่า “ห้องวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้” ซึ่งนับว่าเป็นจุดกำเนิดของสถาบันทักษิณคดีศึกษา จากห้องวรรณกรรมท้องถิ่นได้พัฒนาเป็นโครงการศูนย์ส่งเสริมภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้เมื่อปี พ.ศ.2518

วันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2522 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงเปิดอาคารศูนย์ส่งเสริมภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้ โดยเสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

พ.ศ. 2523 ยกฐานะเป็นสถาบันทักษิณคดีศึกษา โดยมติของคณะรัฐมนตรี การดำเนินงานได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ

พ.ศ.2529 ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ขยายงานด้านพิพิธภัณฑ์คติชนวิทยาและด้านอื่นที่เกี่ยวโยงกันให้ครบวงจรและมีศักยภาพสูง ท่านเห็นถึงทรัพยากรทางด้านวัฒนธรรมของภาคใต้มีนัยสำคัญยิ่งต่อการที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและการปกครอง การชยายงานต้องใช้พื้นที่มาก จึงได้ศึกษาบริเวณเกาะยอ คือบริเวณบ้านอ่าวทราย หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยในระยะแรกสามารถจัดหาที่ดินสำหรับก่อสร้างได้ 22 ไร่ พร้อมกับการเสนอโครงการขยายพิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา เพื่อขอรับงบประมาณสำหรับการก่อสร้างที่ทำการใหม่ ซึ่งได้รับอนุมัติงบประมาณ จำนวน 21,374,097 บาท

วันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2534 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณคดีศึกษา

พ.ศ.2535 ก่อสร้างอาคารนวมภูมินทร์ ซึ่งเป็นอาคารที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างขึ้นตามโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ การก่อสร้างได้แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2537 และจัดตกแต่งภายในอาคารเป็นห้องนิทรรศการต่างๆ ได้แล้วเสร็จสมบูรณ์ในระดับหนึ่ง

วันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2539 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอาคารนวมภูมินทร์

ชื่อผู้แต่ง:
ธีระ จันทิปะ

พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณคดีศึกษา

"โอ่โอ ปักษ์ใต้บ้านเรา แม่น้ำภูเขาทะเลกว้างไกล อย่าไปไหน กลับใต้บ้านเรา" เมื่อนึกถึงแดนดินด้ามขวานทองของไทยเมื่อใด หลายคนคงแว่วเสียงเพลงปักษ์ใต้บ้านเรา ที่ขับร้องโดยวงแฮมเมอร์ขึ้นมาทันที ไม่เฉพาะท่วงทำนองที่ติดหูเท่านั้น แต่เนื้อหาสาระร่วมกับเครื่องดนตรีก็ยังบ่งบอกถึงวิถีชีวิตและตัวตนของคนใต้ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม การที่จะทำความเข้าใจวิถีชีวิต รวมไปถึงจิตวิญญาณวัฒนธรรมของปักษ์ใต้ในระยะเวลาอันสั้นและครบถ้วนมากที่สุดนั้นคงไม่มีสถานที่อื่นใดเหมาะสมไปกว่า "พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณคดีศึกษา"
ชื่อผู้แต่ง:
-