พิพิธภัณฑ์เหมืองทองคำโต๊ะโมะ


เหมืองทองคำโต๊ะโมะ เป็นเหมืองทองคำที่อยู่บริเวณภูเขาชายแดนไทย-มาเลเซีย พื้นที่ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาสุไหงโก-ลก แหล่งแร่ทองคำอยู่ในป่ากลางหุบเขา เมื่อแรกพบ ชาวจีนชื่อ “ฮิว ซิ้นจิ๋ว” ซึ่งทำมาค้าขายอยู่แถบไทย-มาเลเซีย นำลูกมือราว 50 คน เข้ามาขุดค้นหาทองคำด้วยวิธีการร่อนเอาตามสายน้ำ พวกเขาพบว่า ยิ่งใกล้ต้นน้ำเท่าใดปริมาณทองคำที่ติดก้นเลียงยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น เมื่อข่าวแพร่ออกไป ผู้คนก็หลั่งไหลมาแสวงโชค ต่อมารัฐบาลไทยแต่งตั้งให้ “อาฟัด” บุตรชายของฮิว ซิ้นจิ๋ว ซึ่งรับสืบทอดงานขุดหาทองคำต่อจากบิดา เป็นผู้เก็บภาษีจากชาวบ้านที่เข้าไปขุดค้นหาทองคำ และพระราชทานราชทินนามเป็น “หลวงวิเศษสุวรรณภูมิ” และเป็นต้นตระกูล “วิเศษสุวรรณภูมิ” ต่อมาใน พ.ศ.2473 โต๊ะโมะ ถูกเปลี่ยนสภาพเป็นเหมืองอีกครั้ง โดยชาวอังกฤษเข้ามาติดตั้งเครื่องจักร แต่ไม่ประสบความสำเร็จจึงเลิกกิจการไป ในพ.ศ.2475 เมื่อบริษัทฝรั่งเศสชื่อ Societe d’ Or de Litcho เข้ามาสำรวจ และพบว่า ในผืนดินของขุนเขาโต๊ะโมะและลิโช มีแร่ทองคำอยู่มาก และเนื้อทองคำก็มีเปอร์เซ็นต์สูง จึงขอสัมปทานจากรัฐบาลไทยทำเหมืองทองคำเป็นเวลา 20 ปี แต่กิจการก็ต้องปิดตัวไป เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมารัฐบาลให้สัมปทานกับบริษัทเอกชนของไทย เข้าไปสำรวจและทำกิจการ แต่สุดท้ายก็ต้องปิดกิจการไป ปัจจุบันพื้นที่เหมืองแห่งนี้ถูกจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ยังคงหลงเหลือสิ่งก่อสร้างเดิมจำนวนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น บ้านพัก ที่ทำการเดิม อุโมงค์ขุดทอง 4 อุโมงค์หลัก และอุโมงค์ย่อยอีกจำนวนมาก

ที่อยู่:
หมู่ 1 บ้านโต๊ะโม๊ะ ต.ภูเขาทอง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส 96190
โทรศัพท์:
073-551540,086-285760
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

หิน แร่ธาตุ และป่าไม้ ทองคำ (GOLD)

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์:

ที่มา:

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 04 มีนาคม 2556


ไม่มีข้อมูล

เหมืองทองโต๊ะโมะ - ชีวิตคนเหมือง

แกบอกว่าเขตนี้ยังเป็นเขตอิทธิพลของโจรจีนมลายา แม้ว่าจะบอกว่าได้มอบอาวุธทั้งหมดให้รัฐบาลไทย และรายงานตัวกับกองทัพไทยแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีการมาขอเก็บค่าคุ้มครองกับเหมืองแร่
ชื่อผู้แต่ง:
-

เหมืองทองโต๊ะโมะ - ทองคำ (2)

เมื่อถามต่อว่าแล้วทองคำอยู่ที่ไหน แกบอกว่าเห็นหินแกรนิตที่ยืนอยู่เมื่อกี้ไหม เลยบอกว่าเห็นจำนวนมากเลย แกบอกนี่แหละทองคำมูลค่าไม่ต่ำกว่าสิบห้าล้านบาท
ชื่อผู้แต่ง:
-

เหมืองทองโต๊ะโมะ - ทองคำ

ที่น่าสังเกตคือ ปากทางเข้าถ้ำที่ไม่สูงมาก และความกว้างประมาณหนึ่งเมตรเศษ ๆ มีสหศาสนาวางอยู่หน้าปากทางเข้าถ้ำ ประกอบด้วย รูปพระเยซู พระแม่มารีอา พระพุทธรูป ตีจูเอี้ย
ชื่อผู้แต่ง:
-