พิพิธภัณฑ์มรดกพื้นบ้านตำบลนาหมื่นศรี ริเริ่มโดยป้ากุศล นิลละออ ที่มีความสนใจศิลปะการทอผ้าจากแม่ คือนางนาง ช่วยรอด ทำให้ป้ากุศลตั้งกลุ่มทอผ้าพื้นบ้านขึ้น ครั้งแรกรวมกลุ่มได้กว่า 10 คน ต่อมาทางการได้เข้ามาส่งเสริม อบรมเพื่อเพิ่มเติมความรู้และเทคนิคการทอผ้า กลุ่มทอผ้าขยายตัวมากขึ้น และกลายเป็นธุรกิจของชุมชนที่ได้รับความสนใจทั้งจากคนในชุมชนรวมถึงภาครัฐและเอกชน ปัจจุบันคุณอารอบ เรืองสังข์ ทายาทรุ่นหลานได้สืบสานต่อและเป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี พิพิธภัณฑ์มรดกพื้นบ้านตำบลนาหมื่นศรี ภายในจัดแสดงผ้าทอพื้นบ้านนาหมื่นศรีที่มีลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์เกิดจากการทอด้วยวิธียกดอก หรือการสร้างลวดลายโดยการเพิ่มด้ายพุ่ง เช่น ลายแก้วชิงดวง ลายลูกแก้ว ลายลูกแก้วผสมลายดอกจัน จนเมื่อ พ.ศ. 2558 อาคารเดิมเก่าชำรุด กลุ่มเซ็นทรัลได้อาสามาปรับปรุงอาคารพิพิธภัณฑ์และร้านผลิตภัณฑ์ชุมชน จนกลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี เพื่อหวังสืบทอดภูมิปัญญาและให้คนได้เห็นคุณค่าของผ้าทอเมืองตรัง
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: กลุ่มทอผ้านาหมื่นศรี | ปีที่พิมพ์: 2546
ที่มา: เอกสารประกอบการประชุมเสนอผลงานวิจัย "พลังสังคมไทยในศตวรรษหน้า: ทางเลือกกับความเป็นจริง" คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา และสำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 30-31 มี.ค. 2546
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: นิภาพร ทับหุ่น | ปีที่พิมพ์: 3/28/2548
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ(จุดประกาย)
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: - | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 20, ฉบับที่ 6 (เม.ย. 2542) : หน้า 127-128
ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม.
แหล่งค้นคว้า: มศก. วังท่าพระ
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: - | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 37, ฉบับที่ 9 (เม.ย. 2540) : หน้า 80-81
ที่มา: อนุสาร อสท.
แหล่งค้นคว้า: มศก. วังท่าพระ
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ขวัญฤทัย ชิ้นมาลัย | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 26, ฉบับที่ 10 (ส.ค.2548) : หน้า 54-61
ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม.
แหล่งค้นคว้า: มศก. วังท่าพระ
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: สุนทรี สังข์อยุทธ์ | ปีที่พิมพ์: 2548
ที่มา: เชียงใหม่ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
แหล่งค้นคว้า: มศก. วังท่าพระ
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ปูเสฉวน | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 40, ฉบับที่ 8 (มี.ค. 2543) : หน้า 80-81
ที่มา: อนุสาร อสท.
แหล่งค้นคว้า: มศก. วังท่าพระ
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: มหาวิทยาลัยศิลปากร. โครงการพัฒนาผ้าพื้นเมืองในทุกจังหวัดของประเทศ. | ปีที่พิมพ์: 2543
ที่มา: กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร
แหล่งค้นคว้า: มศก. วังท่าพระ
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: อารอบ เรืองสังข์ | ปีที่พิมพ์: 2547
ที่มา: เชียงใหม่ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค
แหล่งค้นคว้า: มศก. วังท่าพระ
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์มรดกพื้นบ้านตำบลนาหมื่นศรี
ศิลปะการทอผ้าที่ตำบลนาหมื่นศรีสืบทอดกันมานับร้อยปี แต่ด้วยผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่สองทำให้การทอผ้าหยุดจึงชะงักไประยะหนึ่ง แต่ด้วยความผูกพันในการทอผ้า ในปี พ.ศ. 2514 นางนาง ช่วยรอดพร้อมกับเพื่อนบ้านอีกสามคนจึงได้รวมกลุ่มทอผ้าพื้นบ้านเพื่อใช้ และแบ่งขายให้กับเพื่อนบ้าน ในตอนนั้นป้ากุศล นิลละออซึ่งเป็นลูกของนางนาง ช่วยรอดเห็นการทอผ้าของแม่จึงเกิดความสนใจและเข้ามาหัดทอด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 พัฒนากรจังหวัดได้ชักชวนให้ป้ากุศลตั้งกลุ่มทอผ้าขึ้นเพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยครั้งแรกรวมกลุ่มได้กว่า 10 คน การส่งเสริมจากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐเริ่มเข้ามา ทำให้สมาชิกได้รับการอบรมเพื่อเพิ่มเติมความรู้และเทคนิคการทอผ้าปัจจุบันกลุ่มทอผ้ามีสมาชิกเพิ่มขึ้นถึง 84 คน และกลายเป็นธุรกิจของชุมชนที่ได้รับความสนใจทั้งจากคนในชุมชนเอง รวมถึงภาครัฐและเอกชนที่ให้งบประมาณสนับสนุนและส่งไปดูงานการทอผ้าในจังหวัดอื่น ๆ พิพิธภัณฑ์มรดกพื้นบ้านนาหมื่นศรีเป็นอาคารชั่วคราว กว้าง 5 เมตร ยาว 20 เมตร ได้รับงบประมาณจากผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ภายในจัดแสดงผ้าทอพื้นบ้านนาหมื่นศรีที่มีลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์เกิดจากการทอด้วยวิธียกดอก หรือการสร้างลวดลายโดยการเพิ่มด้ายพุ่ง เช่น ลายแก้วชิงดวง ลายลูกแก้ว ลายลูกแก้วผสมลายดอกจัน เป็นต้น นอกจากการจัดแสดงแล้วทางกลุ่มยังได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองแบบดั้งเดิมให้แก่เด็กนักเรียนในชุมชนเพื่อไม่ให้มรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนสูญหายไป
ข้อมูลจาก:
1. กลุ่มทอผ้านาหมื่นศรี. โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาลายผ้านาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง. เอกสารประกอบการประชุมเสนอผลงานวิจัย "พลังสังคมไทยในทศวรรษหน้า: ทางเลือกกับความเป็นจริง" คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาสังคมวิทยาและสำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระหว่างวันที่ 30.-31 สิงหาคม 2546.
2. ภาสกร ชัยนิยม (เรียบเรียง). ทำเนียบประวัติวิทยากรประจำฐาน กลุ่มทอผ้านาหมื่นศรี.มปพ,มปป.
3. แผ่นพับประชาสัมพันธ์กลุ่มทอผ้านาหมื่นศรี
4. การสำรวจภาคสนาม วันที่ 20 มกราคม 2547
5. การประชุมเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น (ภาคใต้) จัดโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร วันที่ 7 - 8 กุมภาพันธ์ 2547 ณ โรงแรมแกรนด์ปาร์ค จังหวัดนครศรีธรรมราช
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ผ้าและสิ่งทอ ผ้าทอ การทอผ้า ผ้าทอนาหมื่นศรี
พิพิธภัณฑ์บ้านพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)
จ. ตรัง
ห้องพิพิธภัณฑ์โรงเรียนวิเชียรมาตุ
จ. ตรัง
ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์เมืองกันตัง
จ. ตรัง