พิพิธภัณฑ์บ้านพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)


บ้านพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) เป็นบ้านไม้สองชั้น ตั้งอยู่บนเนินเขาที่เรียกว่าควนหน้าค่าย ทายาทได้อนุญาตให้จังหวัดในนามของโรงเรียนกันตังพิทยากรเข้ามาปรับแต่งพื้นที่ให้เป็นพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้เมื่อราวปี พ.ศ. 2535 ภายในบ้านจัดแต่งไว้เช่นเดียวกับเมื่อพระยารัษฎาฯยังอาศัยอยู่ ชั้นล่างมีหุ่นขี้ผึ้งของพระยารัษฎาฯ ชั้นบนเป็นห้องนอน โถงชั้นบนมีโต๊ะบูชาบรรพบุรุษ นอกจากนี้ภายในบ้านยังมีภาพถ่ายเก่าแก่กว่าร้อยปี ทั้งภาพถ่ายของพระยารัษฎาฯ ที่ติดมากับตัวบ้าน ภาพถ่ายภรรยาและครอบครัว รวมถึงภาพเหตุการณ์สำคัญของเมืองตรังและหัวเมืองปักษ์ใต้ในสมัยรัชกาลที่ 6 โรงเรียนกันตังพิทยากรได้อบรมและฝึกให้นักเรียนของโรงเรียนกันตังพิทยากรเป็นมัคคุเทศก์เพื่อนำชม

ที่อยู่:
เลขที่ 1 ถ.ค่ายพิทักษ์ (หลังสำนักงานเทศบาลเมืองกันตัง)อ.กันตัง จ.ตรัง 92000
โทรศัพท์:
0-7525-1100 ติดต่อโรงเรียนกันตังพิทยากร
วันและเวลาทำการ:
เปิดอังคาร-อาทิตย์ 9.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
kantangpits@gmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2535
ของเด่น:
บ้านประวัติศาสตร์ที่เคยเป็นเรือนพักของพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

เรื่องน่าเสียดายที่ "พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎา"

ชื่อผู้แต่ง: ปิ่น บุตรี | ปีที่พิมพ์: 1/3/2548

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เยือนกันตัง เมืองตรัง เยี่ยมบ้านพระยารัษฎาฯ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 06-08-2549(หน้า 24)

ที่มา: ข่าวสด

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

บ้านพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)

บ้านพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) เป็นบ้านไม้สองชั้น รายล้อมไปด้วยแมกไม้นานาชนิด ตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ยๆ ที่เรียกว่าควนหน้าค่าย ปัจจุบันยังเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาท แต่ทายาทได้อนุญาตให้จังหวัดในนามของโรงเรียนกันตังพิทยากรเข้ามาปรับแต่งพื้นที่ให้เป็นพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้เมื่อราวปี พ.ศ. 2535

แต่แรกเริ่มที่โรงเรียนได้รับการอนุญาตให้มาทำพิพิธภัณฑ์ อ.สุนทรีย์ สังข์อยุทธ์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งได้เป็นผู้ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับตัวบ้านและประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระยารัษฎานุประดิษฐ์ โดยพยายามคงไว้ซึ่งเครื่องเรือน ข้าวของเครื่องใช้ และสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของตัวบ้าน และได้จัดตั้งชมรมมัคคุเทศก์น้อย โดยอบรมและฝึกให้นักเรียนของโรงเรียนกันตังพิทยากรเป็นมัคคุเทศก์เพื่อนำชม

อาคารจัดแสดงเป็นบ้านพักลักษณะเรือนไม้ปั้นหยาสองชั้น ทาสีฟ้า ตัวบ้านโปร่งมีระเบียงรับลมรอบด้าน แวดล้อมด้วนสวนเล็ก ๆ ภายในบ้านจัดแต่งไว้เช่นเดียวกับเมื่อพระยารัษฎาฯยังอาศัยอยู่ชั้นล่างมีหุ่นขี้ผึ้งของพระยารัษฎาฯ ใส่เสื้อคอปิดสีขาว นุ่งผ้าม่วง ถือไม้เท้า นั่งเก้าอี้พักผ่อน ข้าง ๆ มีกระโถนทองเหลือง และเชี่ยนหมากแบบโบราณ ชั้นบนเป็นห้องนอน โถงชั้นบนมีโต๊ะบูชาบรรพบุรุษ

นอกจากนี้ภายในบ้านยังมีภาพถ่ายเก่าแก่กว่าร้อยปี ทั้งภาพถ่ายของพระยารัษฎาฯ ที่ติดมากับตัวบ้าน ภาพถ่ายภรรยาและครอบครัว รวมถึงภาพเหตุการณ์สำคัญของเมืองตรังและหัวเมืองปักษ์ใต้ในสมัยรัชกาลที่ 6 เช่น การประชุมเทศาภิบาล ปี พ.ศ. 2445และ 2446 การซ้อมรบเสือป่า การเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ของรัชกาลที่ 6นอกจากนี้ยังทำนิทรรศการเล็กๆ ชั้นบนบริเวณทางเดินข้างบันได เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่พระยารัษฎาฯถูกลอบยิง และเสียชีวิตที่ปีนัง การนำศพกลับมาไทย และหลุมฝังศพของพระยารัษฎาฯ ที่จังหวัดระนอง

ปณิตา สระวาสี เขียน
สำรวจภาคสนามวันที่ 16 มีนาคม 2560
ชื่อผู้แต่ง:
-

รีวิวของพิพิธภัณฑ์บ้านพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี(คอซิมบี้ ณ ระนอง)

พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ในอดีตดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตรัง ท่านได้จับจองที่ดินบนเนินเตี้ย ๆ สำหรับสร้างบ้านพัก ตั้งแต่เริ่มสร้างเมืองกันตัง ชาวบ้านเรียกบริเวณนี้ว่าในควน พระยารัษฎาฯเรียกบ้านหลังนี้ว่า "ควนรัษฎา" ครั้นเมื่อพระยารัษฎาฯถึงแก่อนิจกรรม บ้านตกเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาท ต่อมาโรงเรียนกันตังพิทยากรร่วมกับหน่วยงานราชการขอใช้สถานที่จากทายาทคือ ดาโต๊ะเบียนจง ณ ระนอง จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้น เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2535 อาคารจัดแสดงเป็นบ้านพักลักษณะเรือนไม้ปั้นหยาสองชั้น ทาสีฟ้า ตัวบ้านโปร่งมีระเบียงรับลมรอบด้าน แวดล้อมด้วนสวนเล็ก ๆ ภายในบ้านจัดแต่งไว้เช่นเดียวกับเมื่อพระยารัษฎาฯยังอาศัยอยู่

ชั้นล่างมีหุ่นขี้ผึ้งของพระยารัษฎาฯ ใส่เสื้อคอปิดสีขาว นุ่งผ้าม่วง ถือไม้เท้า นั่งเก้าอี้พักผ่อน ข้าง ๆ มีกระโถนทองเหลือง และเชี่ยนหมากแบบโบราณ ชั้นบนเป็นห้องนอน โถงชั้นบนมีโต๊ะบูชาบรรพบุรุษ นอกจากนี้ภายในบ้านยังมีภาพถ่ายเก่าแก่กว่าร้อยปี เป็นภาพเหตุการณ์สำคัญของเมืองตรังและหัวเมืองปักษ์ใต้ในสมัยรัชกาลที่ 6 เช่น การประชุมเทศาภิบาล ปี พ.ศ. 2445และ 2446 การซ้อมรบเสือป่า การเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ของรัชกาลที่ 6 ภาพถ่ายพระยารัษฎาฯในอิริยาบทต่าง ๆ ชั้นบนยังมีภาพถ่ายเก่าแก่ต้นตระกูล ณ ระนอง เช่น คุณแม่กิ้ม มารดาพระยารัษฎาฯ ภริยาพระยารัษฎาฯ บุตรหลาน ล้วนเป็นภาพที่มีอายุเกือบร้อยปีทั้งสิ้น

ข้อมูลเอกสารอ้างอิง: กฤษกร วงศ์กรวุฒิ. เที่ยวทั่วไทยไปกับนายรอบรู้: ตรัง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สารคดี, 2545.
ชื่อผู้แต่ง:
-