แหล่งศึกษาและท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ (โฮจิมินห์)


ที่อยู่:
หมู่ 4 บ้านหนองฮาง ถ.อุดร-กุดจับ (ติดกับร.ร.อุดรพิทยานุกูล 2)ตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
โทรศัพท์:
08-1768-6093 ติดต่อคุณเก๋, 0-4222-3929 ติดต่อคุณแดง
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2549
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ตามรอยปฏิวัติโฮจิมินห์ในท้องถิ่นอีสาน

ชื่อผู้แต่ง: สุรินทร์ มุขศรี | ปีที่พิมพ์: 21: (8 มิถุนายน 2543)

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ไปเยี่ยมบ้านเก่าของ "ลุงโฮ" ที่ จ.อุดรธานี

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 2 มิถุนายน 2549

ที่มา: ผู้จัดการ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ลุงโฮในสยาม(บ้านหนองโอน จังหวัดอุดรธานี)

ชื่อผู้แต่ง: คณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งศึกษาและท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์(โฮจิมินห์) | ปีที่พิมพ์: 2549

ที่มา: พิมพ์เป็นที่ระลึกในพิธีเปิดโครงการพัฒนาแหล่งศึกษาและท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์(โฮจิมินฆ์) 19 พฤษภาคม 2549

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของแหล่งศึกษาและท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ (โฮจิมินห์)

ชื่อ “โฮจิมินห์” อดีตประธานาธิบดีของเวียดนาม คงเป็นที่รู้จักและคุ้นหูของคนไทยส่วนใหญ่ หากแต่หลายคนอาจไม่ทราบว่าท่านโฮจิมินห์ เคยมาพำนักและเคลื่อนไหวทางการเมืองในไทยเพื่อเรียกร้องเอกราชของเวียดนามจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส หลังจากที่เวียดนามถูกกองกำลังฝรั่งเศสบุกยึดจากใต้ขึ้นเหนือ และยึดได้ทั้งหมดราวปี ค.ศ. 1883 จากนั้นในเวียดนามมีขบวนการต่อต้านฝรั่งเศสหลายกลุ่ม และถูกฝรั่งเศสปราบปราม บางส่วนหลบหนีออกนอกประเทศ คนเวียดนามรุ่นแรก ๆ ที่เข้ามาตั้งรกรากในไทย แถบนครพนม หนองคาย สกลนคร และอุดรธานี ก็เคลื่อนย้ายมาช่วงนี้ และย้ายตามกันเข้ามาอีกเรื่อย ๆ หลายระลอก
 
โฮจิมินห์เข้ามาเคลื่อนไหวในไทย โดยใช้ชื่อว่า “เฒ่าจิ๋น” เพื่อจัดตั้งแนวร่วมชาวเวียดนามผู้รักชาติเพื่อปลดแอกเวียดนามจากการปกครองของฝรั่งเศส ราวปี ค.ศ. 1930 พื้นที่หนึ่งที่ท่านเข้ามาเคลื่อนไหวคือ ที่โรงเลื่อยไม้บ้านหนองโอน จังหวัดอุดรธานี หนองโอนในตอนนั้นมีคนเวียดนามอยู่ราว 8 ครอบครัว พื้นที่ยังเป็นป่าอุดมสมบูรณ์ห่างไกลจากเมือง บ้านหลังที่ใช้เป็นโรงเลื่อย เป็นทั้งที่ทำงานและที่ศึกษาอบรมคนหนุ่มสาวชาวเวียดที่ต้องการร่วมในขบวนปลดแอกประเทศ โดยในบ้านแบ่งเป็นที่พักผ่อนของกลุ่มผู้เฒ่า เฒ่าจิ๋น และคนหนุ่ม และมีห้องเฉพาะสำหรับผู้หญิง ห้องโถงกลางมีโต๊ะเก้าอี้สำหรับอบรม และศึกษาหาความรู้ ทุกคืนหลังจากการทำงานอันเหน็ดเหนื่อย เฒ่าจิ๋นจะประชุมพี่น้องทุกคนเพื่อถามสารทุกข์สุกดิบ และเล่าเรื่องการปฏิวัติที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม และประเทศอื่น ๆ ท่านพำนักอยู่ที่หนองโอนไม่นาน ประมาณ 3 เดือน เท่านั้น
 
ปัจจุบันในเนื้อที่ 4 ไร่ ลูกหลานคนไทยเชื้อสายเวียดนาม ได้รวบรวมเงินซื้อที่ดินประวัติศาสตร์แปลงนี้ แล้วมอบให้ทางจังหวัดอุดรธานี จัดสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ แม้ปัจจุบันสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ได้สูญสลายไปหมดแล้ว หากแต่ผู้ก่อตั้งได้จำลองอาคารบ้านพักของลุงโฮ ที่มีลักษณะเป็นบ้านชั้นเดียวก่อสร้างแบบง่าย ๆ ฝาเป็นไม้ไผ่ขัดแตะ มุงด้วยจาก สร้างติดพื้นดิน ปูพื้นด้วยกระเบื้องดินเผา ภายในแบ่งพื้นที่เป็นห้องโถงกลาง จัดแสดงโต๊ะประชุม โต๊ะเรียน  และห้องครัว มีเตียง มุ้ง โต๊ะทำงาน  จัดไว้ให้สภาพเหมือนกับสมัยที่ลุงโฮอาศัยอยู่ ส่วนด้านนอก จำลองเล้าหมู เล้าไก่ ยุ้งข้าว และแปลงผักเอาไว้
 
ติดกับอาคารบ้านพัก เป็นอาคารชั่วคราวเปิดโล่งที่จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับ ชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในจังหวัดอุดรธานี ภาพถ่ายเก่า รวมไปถึงนิทรรศการ “ลุงโฮในเมืองไทยและจังหวัดอุดร” พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2549 เป็นสัญลักษณ์แห่งความสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม และเป็นจุดหนึ่งในแผนที่ประวัติศาสตร์อันสำคัญของท่านโฮจิมินห์ในต่างแดน
หมายเหตุ ที่บ้านนาจอก จังหวัดนครพนม มีพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับลุงโฮอีก 2 แห่ง คือ บ้านท่านโฮจิมินห์ และหมู่บ้านมิตรภาพไทย-เวียดนาม 
 
ข้อมูลจาก:
สำรวจภาคสนาม วันที่ 21 ธันวาคม 2549
จูดึ๊ก ติ๋ง, เหงียน วันควน และ เหงียน เตียน. ลุงโฮในสยาม. อุดรธานี: คณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งศึกษาและท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์(โฮจิมินห์), 2549.
สุรินทร์ มุขศรี. “ตามรอยปฏิวัติโฮจิมินห์ในท้องถิ่นอีสาน.” ศิลปวัฒนธรรม, 21: (8 มิถุนายน 2543): 80-86.
ชื่อผู้แต่ง:
-