อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท


อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่บนเขาภูพระบาท ภูเขาขนาดย่อมลูกหนึ่งบนเทือกเขาภูพาน เป็นพื้นที่ของเขตป่าเขือน้ำ ป่าสงวนแห่งชาติ ชื่อ “ภูพระบาท” มีที่มาจากรอยพระพุทธบาทบนเทือกเขา โดยภายในอุทยานมีแหล่งโบราณสถานที่น่าสนใจ เช่น หอนางอุสา เป็นเพิงหินธรรมชาติรูปร่างคล้ายดอกเห็ด มีอายุสมัยทวารวดีราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 ถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา ถ้ำพระ เป็นเพิงหินเตี้ย ๆ ที่ผนังมีการสลักเป็นรูปพระพุทธรูป กู่นางอุสา ปรากฏภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์และหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์คือหลุมสกัดพื้นซึ่งน่าจะใช้ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และถ้ำวัว-ถ้ำคน เป็นแหล่งภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นต้น

ที่อยู่:
อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี 41160
โทรศัพท์:
0-422-2909 ต่อ 218
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 8.00-17.00 น.
จัดการโดย:
เนื้อหา:

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทตั้งอยู่ที่บ้านติ้ว หมู่ 6 ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี โดยอยู่ในความดูแลของกรมศิลปกร ซึ่งได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2524 และเปิดเป็นทางการเมื่อ 26 มิถุนายน 2535 มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 3,430 ไร่ เดิมชื่อ "ภูกูเวียง" อยู่ในแนวเทือกเขาภูพาน เป็นทิวเขาที่ไม่สูงนัก โดยเฉลี่ย 300-500 เมตร ทอดยาวจากจังหวัดอุบลราชธานี มายังมุกดาหาร กาฬสินธุ์ สกลนคร และอุดรธานี ซึ่งในปัจจุบันรวมถึงจังหวัดหนองบัวลำภูด้วย สภาพของป่าเป็นป่าป่าเบญจพรรณ ไม้ส่วนมากเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น มะค่า เต็ง รัง ขิงชันแดง ประดู่ เป็นต้น

นอกจากนี้บริเวณนี้เป็นได้มีพบหลักฐานว่าเป็นแหล่งโบราณคดีที่มีมนุษย์อยู่อาศัยและใช้พื้นที่เพื่อการล่าสัตว์และประกอบพิธีกรรมตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ ซึ่งจะพบได้จากภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มี่อายุราว 2,000-3,000 และนอกจากนี้ยังมีการดัดแต่งเพิงหิน แท่นหินธรรมชาติให้เป็นศาสนสถาน รวมถึงพบรูปเคารพต่างๆทางศาสนาในสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นซึ่งเป็นลักษณะศิลปะวัฒนธรรมสมัยทราวดี ลพบุรีและสืบต่อมาจนถึงสมัยล้านช้างตามลำดับ จากหลักฐานดังกล่าวทำให้ทราบว่าบริเวณนี้มีความสำคัญทางศาสนาสืบเนื่องต่อกันมาอย่างยาวนาน ภูพระบาท เป็นเขาที่มีหินรูปร่างประหลาดแปลกตา เช่นเดียวกับในอุทยานอีกหลายแห่ง โดยเฉพาะในภาคอีสาน เช่นที่อำเภอเทพสถิตย์ จังหวัดชัยภูมิ หรือ ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น ซึ่งล้วนเกิดจากขบวนการทางธรรมชาติ แต่มนุษย์หลายสมัยได้เข้ามาให้ความหมายกับภูเขาแห่งนี้ พร้อมทั้งทิ้งร่องรอยวัฒนธรรมไว้ให้ชมจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมนุษย์เป็นผู้สร้างความหมายใหม่ให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยว ศึกษา

ข้อมูลจาก :
แผ่นพับท่องเที่ยวเชิงนิเวศอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท http://www1.mod.go.th/heritage/nation/tour/puprabat.htm[accessed20070216]
ชื่อผู้แต่ง:
-