ศูนย์วัฒนธรรมไทโส้


ที่อยู่:
หมู่ 1 ต.กุสุมาลย์ อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร 47210
โทรศัพท์:
042-769052, 042-769153, 061-5084838, 084-4280932
โทรสาร:
042-769318
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-ศุกร์ 8.30-16.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
kusuman2521@gmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2524

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

เทศกาลโส้รำลึก ครั้งที่ 22 "ตำนานเมืองกุสุมาลย์มณฑล"

ชื่อผู้แต่ง: ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมไทโส้ อำเภอกุสุมาลย์ | ปีที่พิมพ์: 2546

ที่มา: สกลนคร: สกลนครการพิมพ์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของศูนย์วัฒนธรรมไทยโส้

สกลนคร เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีหลายกลุ่มชาติพันธุ์เข้ามาตั้งรกรากหรืออพยพเข้ามาอยู่ตั้งแต่ในอดีต กลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่อพยพเข้ามาคือ "โส้" ซึ่งมีภาษาพูดและขนบธรรมเนียมประเพณีการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โส้เป็นกลุ่มชาติพันธุ์อยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิมอยู่บริเวณทิศตะวันตกของเทือกเขาอากและลุ่มแม่น้ำตะโปน ต้นน้ำเซบังเหียน ในลาว  โส้อพยพเข้ามาในสกลนครมากในช่วง พ.ศ. 2426-2430 เนื่องจากหนีภัยสงครามพวกจีนฮ่อ 

กุสุมาลย์เดิมชื่อ "บ้านกุดขมาน" ตั้งตามชื่อลำห้วยขมานซึ่งมีต้นขมานขึ้นอยู่จำนวนมาก ส่วนคำว่า"กุด" นั้นหมายถึงวังน้ำ สืบเนื่องจากอำเภอกุสุมาลย์มีประชาชนเชื้อสายโส้อาศัยอยู่เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ในปี พ.ศ.2524  นายสุวัฒน์ แสงสุทธิเศรษฐ์  นายอำเภอกุสุมาลย์คนที่ 7 ร่วมมือกับชาวอำเภอกุสุมาลย์ก่อสร้าง "ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมไทยโส้" ขึ้นเพื่อรวบรวม จัดแสดง และอนุรักษ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีพ เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา โดยได้เปิดให้เข้าชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2525  ซึ่งตรงกับวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 3 พร้อมทั้งจัดงานเทศกาลโส้รำลึกขึ้นในวันดังกล่าว เพื่อรักษาไว้และเผยแพร่ขนบธรรมนียมประเพณีที่ดีงามของชาวไทยโส้ มีการแสดงพิธีกรรมต่าง ๆ ของชาวไทยโส้ ต่อมาถือเป็นงานประเพณีประจำปี  โดยถือเอาวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันจัดงาน ซึ่งงานดังกล่าวเป็นการจัดหลังวันที่ชาวไทยโส้ทำพิธีการเหยา การเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ และสู่ขวัญเจ้าขวัญเรือนจริงหนึ่งวัน คือวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ทุกปี

อาคารจัดแสดงเป็นอาคารคอนกรีตชั้นเดียวที่เพิ่งสร้างใหม่ในปี 2546 ด้านหน้าอาคารประดิษฐานรูปหล่ออนุสาวรีย์พระอรัญอาสา อดีตเจ้าเมืองกุสุมาลย์ ภายในบริเวณตรงกลางยังประดิษฐานรูปหล่อพระอรัญอาสาพร้อมเครื่องสักการะบูชา ด้านข้างจัดแสดงอาวุธต่าง ๆ และสิ่งของเครื่องใช้ของเจ้าเมือง รวมถึงเครื่องใช้ไม้สอยของชาวไทยโส้ อาทิ  ผ้าทอ เครื่องประดับ เครื่องเงิน กล้องยาสูบ ผอบใส่เครื่องราง หม้อทองเหลือง หนังสือใบลาน เอกสารบันทึกประวัติ  และพิธีกรรมต่างๆ ฯลฯ   นอกจากนี้ยังจัดแสดงโบราณวัตถุอาทิพระเครื่อง เครื่องปั้นดินเผา อายุราวร้อยกว่าปีที่ขุดพบบริเวณบ้านเมืองเก่า(เมืองกุสุมาลย์เดิม) ห่างจากบริเวณศูนย์วัฒนธรรมประมาณ 3 กิโลเมตร บริเวณด้านหลังอาคารศูนย์วัฒนธรรม ยังจัดแสดงบ้านไทยโส้จำนวน 1 หลังไว้ให้ชมด้วย  
             
 ศูนย์วัฒนธรรมไทยโส้ยังร่วมจัดกิจกรรมอื่นๆ  อีกอาทิ การมอบทุนการศึกษาแก่ลูกหลานไทยโส้ ส่งเสริมชมรมคนรักดนตรีอำเภอกุสุมาลย์ ผลิตผลงานเพลงพื้นบ้านทั้งภาษาถิ่นและภาษาไทยโส้ ส่งเสริมชมรมดนตรีพื้นเมืองคณะรำโส้ทั่งบั้งไปแสดงตามงานต่าง ๆ  ที่ทางหน่วยงานเครือข่ายจัดขึ้น  ส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้าน  ส่งเสริมจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนคนไทยโส้  
         
การบริหารงานจัดการศูนย์วัฒนธรรมไทโส้มีรูปแบบเป็นคณะกรรมการ โดยมีระเบียบข้อบังคับของศูนย์วัฒนธรรมไทยโส้ที่สมาชิกร่วมกันร่างขึ้นและรับรองมาบังคับใช้ โดยทำงานกันในลักษณะอาสาสมัคร มีเทศบาลตำบลกุสุมาลย์เป็นหน่วยงานหลักที่ช่วยดูแลในการบริหารจัดการและงบประมาณร่วมกับ อบต. อีก 5 แห่ง 
 
ข้อมูลจาก: 
1. การสำรวจภาคสนาม ของสำนักวิจัยและสนับสนุนการวิจัย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2547.
2. การประชุมเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จัดโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร วันที่ 27 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2546  ณ โรงแรมตักสิลา และสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช สถานีปฏิบัติการนาดูน  จังหวัดมหาสารคาม
3. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมไทโส้. เทศกาลโส้รำลึก ครั้งที่ 22. สกลนคร: สกลนครการพิมพ์, 2546.
4. แบบสอบถามข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น  และแผ่นพับประชาสัมพันธ์ ศูนย์วัฒนธรรมไทโส้
5. ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ชื่อผู้แต่ง:
-