ชื่อผู้แต่ง: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย | ปีที่พิมพ์: 2541
ที่มา: วีดีโอ 1 ม้วน, กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ เป็นเกจิอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐานที่ได้รับการยกย่องนับถืออย่างสูง ถือกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2413 ณ ต.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
เมื่ออายุ 15 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรครั้งแรก ต่อมาเมื่ออายุ 22 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเลียบ จ.อุบลราชธานี ตลอดระยะเวลาได้ศึกษาพระธรรมและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยอุตสาหวิริยะ เผยแพร่พระพุทธธรรมและสั่งสอนอบรมธรรมปฏิบัติแก่พระภิกษุ สามเณร ตลอดจนอุบาสกอุบาสิกาที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธา
พระอาจารย์มั่น มรณภาพเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2492 ณ วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร เจริญชนมายุ 80 ปี พรรษาที่ 57 ล่วง ศิษยานุศิษย์และผู้เคารพนับถือได้ระลึกถึงคุณธรรมสัมมาปฏิบัติของท่านพระอาจารย์มั่น ผู้เป็นธรรมาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระชั้นสูง จึงร่วมกันว่าควรอย่างยิ่งที่จะได้รวบรวมบริขารทั้งหลายของท่าน ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในที่ต่าง ๆ มาเก็บไว้ในที่เดียวกัน เพื่อสะดวกต่อการถนอมรักษาและสักการะบูชา
ศิษยานุศิษย์ได้รวมกำลังทุนทรัพย์ก่อสร้างอาคารสำหรับประดิษฐานอัฐิธาตุและบริขารของท่าน ณ วัดป่าสุทธาวาส โดยทำพิธีวางศิลามงคลเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2516 นับเป็นเวลาครบ 24 ปี หลังท่านมรณภาพ
อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนชั้นเดียว โถงกลางภายในประดิษฐานรูปหล่อพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งผู้เยี่ยมชมมักจะเข้ามาสักการะรูปหล่อของพระอาจารย์ก่อนที่จะเดินชมพิพิธภัณฑ์
เบื้องหน้ารูปหล่อพระอาจารย์เป็นตู้กระจกขนาดเล็กภายในบรรจุพระธาตุอาจารย์มั่น มีลักษณะเป็นเม็ดสีพิกุลแห้ง ซึ่งแปรสภาพมาจากพระอังคาร และอัฐิธาตุที่มีลักษณะใสเป็นผลึก ผนังอาคารด้านข้างทั้งสองด้านเจาะเป็นช่องกระจกจำนวน 8 ช่อง ภายในจัดแสดงภาพถ่าย ประวัติ เครื่องบริขารของพระอาจารย์มั่น มีแผ่นคำบรรยายประกอบทั้งไทยและอังกฤษติดไว้ภายใน โดยหมวดหมู่การจัดแสดงมีดังนี้
1. ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
2. เครื่องใช้ประจำวันของพระอาจารย์มั่น เป็นของที่จำเป็นในการดำรงชีพ อาทิ แปรงสีฟัน ช้อน แก้วน้ำ รองเท้า กระติกน้ำ เป็นต้น
3. บริขารเบ็ดเตล็ด อาทิ กระโถนปากแตร อ่างไม้บดยาและย้อมผ้า สมุนไพรและถุงยา กระโถนดินเผา ตะกร้าโคมไฟ กระบอกกระโถนไม้ไผ่
4. ปฏิปทาทางธุดงควัตร และเครื่องใช้ในการธุดงค์ อาทิ กลด มุ้ง บั้งถาน เป็นต้น
5. หนังสือธรรม ที่พระอาจารย์มั่นใช้ศึกษาธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
6. ผ้าที่พระอาจารย์มั่นใช้ โดยเป็นผ้าที่ท่านปะชุนด้วยตนเอง ได้แก่ ผ้าอาบน้ำฝน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน ผ้าเช็ดบาตร ผ้าเช็ดปาก ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดเท้า ถุงเท้า และผ้าบริขารที่รวม ๆ เรียกว่า "บริขาลโจล"
7. อัฐบริขารของพระธุดงค์ ได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกน เข็ม รัดประคด ธมกรก(หม้อกรองน้ำ)
8. งานประชุมเพลิงศพพระอาจารย์มั่น แสดงภาพถ่ายในงานประชุมเพลิง รวมถึงข้าวของเครื่องใช้ที่ใช้ในงาน ข้อมูลจาก:
การสำรวจภาคสนาม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2547.
จ. สกลนคร
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ เป็นเกจิอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐานที่ได้รับการยกย่องนับถืออย่างสูง ถือกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2413 ณ ต.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
เมื่ออายุ 15 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรครั้งแรก ต่อมาเมื่ออายุ 22 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเลียบ จ.อุบลราชธานี ตลอดระยะเวลาได้ศึกษาพระธรรมและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยอุตสาหวิริยะ เผยแพร่พระพุทธธรรมและสั่งสอนอบรมธรรมปฏิบัติแก่พระภิกษุ สามเณร ตลอดจนอุบาสกอุบาสิกาที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธา
พระอาจารย์มั่น มรณภาพเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2492 ณ วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร เจริญชนมายุ 80 ปี พรรษาที่ 57 ล่วง ศิษยานุศิษย์และผู้เคารพนับถือได้ระลึกถึงคุณธรรมสัมมาปฏิบัติของท่านพระอาจารย์มั่น ผู้เป็นธรรมาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระชั้นสูง จึงร่วมกันว่าควรอย่างยิ่งที่จะได้รวบรวมบริขารทั้งหลายของท่าน ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในที่ต่าง ๆ มาเก็บไว้ในที่เดียวกัน เพื่อสะดวกต่อการถนอมรักษาและสักการะบูชา
ศิษยานุศิษย์ได้รวมกำลังทุนทรัพย์ก่อสร้างอาคารสำหรับประดิษฐานอัฐิธาตุและบริขารของท่าน ณ วัดป่าสุทธาวาส โดยทำพิธีวางศิลามงคลเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2516 นับเป็นเวลาครบ 24 ปี หลังท่านมรณภาพ
อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนชั้นเดียว โถงกลางภายในประดิษฐานรูปหล่อพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งผู้เยี่ยมชมมักจะเข้ามาสักการะรูปหล่อของพระอาจารย์ก่อนที่จะเดินชมพิพิธภัณฑ์
เบื้องหน้ารูปหล่อพระอาจารย์เป็นตู้กระจกขนาดเล็กภายในบรรจุพระธาตุอาจารย์มั่น มีลักษณะเป็นเม็ดสีพิกุลแห้ง ซึ่งแปรสภาพมาจากพระอังคาร และอัฐิธาตุที่มีลักษณะใสเป็นผลึก ผนังอาคารด้านข้างทั้งสองด้านเจาะเป็นช่องกระจกจำนวน 8 ช่อง ภายในจัดแสดงภาพถ่าย ประวัติ เครื่องบริขารของพระอาจารย์มั่น มีแผ่นคำบรรยายประกอบทั้งไทยและอังกฤษติดไว้ภายใน โดยหมวดหมู่การจัดแสดงมีดังนี้
1. ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
2. เครื่องใช้ประจำวันของพระอาจารย์มั่น เป็นของที่จำเป็นในการดำรงชีพ อาทิ แปรงสีฟัน ช้อน แก้วน้ำ รองเท้า กระติกน้ำ เป็นต้น
3. บริขารเบ็ดเตล็ด อาทิ กระโถนปากแตร อ่างไม้บดยาและย้อมผ้า สมุนไพรและถุงยา กระโถนดินเผา ตะกร้าโคมไฟ กระบอกกระโถนไม้ไผ่
4. ปฏิปทาทางธุดงควัตร และเครื่องใช้ในการธุดงค์ อาทิ กลด มุ้ง บั้งถาน เป็นต้น
5. หนังสือธรรม ที่พระอาจารย์มั่นใช้ศึกษาธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
6. ผ้าที่พระอาจารย์มั่นใช้ โดยเป็นผ้าที่ท่านปะชุนด้วยตนเอง ได้แก่ ผ้าอาบน้ำฝน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน ผ้าเช็ดบาตร ผ้าเช็ดปาก ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดเท้า ถุงเท้า และผ้าบริขารที่รวม ๆ เรียกว่า "บริขาลโจล"
7. อัฐบริขารของพระธุดงค์ ได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกน เข็ม รัดประคด ธมกรก(หม้อกรองน้ำ)
8. งานประชุมเพลิงศพพระอาจารย์มั่น แสดงภาพถ่ายในงานประชุมเพลิง รวมถึงข้าวของเครื่องใช้ที่ใช้ในงาน
ข้อมูลจาก:
การสำรวจภาคสนาม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2547.
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
บุคคลสำคัญ พระป่า เจดีย์พิพิธภัณฑ์ อัฐิธาตุ เครื่องอัฐบริขาร ชุดธุดงค์ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
พิพิธภัณฑ์เจดีย์อัฐิพระอาจารย์มั่น วัดดงคำโพธิ์
จ. สกลนคร
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านพระธาตุมีชัย บ้านโคกคอน
จ. สกลนคร
พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
จ. สกลนคร