เจดีย์พิพิธภัณฑ์พระราชนิโรธรังสีฯ (เทสก์ เทสรังสี)


ที่อยู่:
วัดหินหมากเป้ง ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย 43130
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
อีเมล:
hinmarkpeng@hinmarkpemg.org
ปีที่ก่อตั้ง:
2534
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่เทสก์

ชื่อผู้แต่ง: ทศพล จังพานิชย์กุล | ปีที่พิมพ์: 20/03/2548 หน้า 29

ที่มา: ข่าวสด

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

อัตตโนประวัติพระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฎ์

ชื่อผู้แต่ง: พระราชนิโรธรังสีฯ(เทสก์ เทสรังสี) | ปีที่พิมพ์: 2539

ที่มา: พิมพ์เนื่องในวันพระราชทานเพลิงศพพระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฎ์(เทสก์ เทสรังสี) ณ เมรุวันหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย วันจันทร์ที่ 8 มกราคม 2539.

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระราชนิโรธรังสีฯ(เทสก์ เทสรังสี)

พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฎ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม อรัณยวาสี หรือที่เรียกขานกันทั่วไปว่า หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี พระเถระผู้เจริญยิ่งในสมณคุณ สมบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตร รอบรู้แตกฉานในธรรมคดี เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2445 ณ บ้านผือ จังหวัดอุดรธานี บรรพชาเป็นสามเณรติดตามพระอาจารย์สิงห์ ขนตยาคโม ต่อมาบวชเป็นพระภิกษุที่วัดสุทัศนาราม อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2466 อายุได้ 22 ปี โดยมีพระมหารัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระมหาปิ่น ปัญญาพโลเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ฝึกกรรมฐานกับหลวงปู่เสาร์ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และได้ติดตามไปจำพรรษากับพระอาจารย์มั่นที่จังหวัดเชียงใหม่กว่า 10 ปี 
 
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสีเป็นพระสายวิปัสสนากรรมฐานรูปแรกที่นำการวิปัสสนากรรมฐานไปเผยแผ่ที่ภาคใต้ และเป็นเจ้าคณะจังหวัดภูเก็ตฝ่ายธรรมยุติกนิกายรูปแรก ในปี 2508-2535 จำพรรษาที่วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย สองพรรษาสุดท้าย จำพรรษา ณ วัดถ้ำขาม จ.สกลนคร และได้ปลงธรรมสังเวช ณ วัดถ้ำขาม เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2537 ตรงกับวันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย ปีจอ สิริรวมอายุได้ 93 ปี 71 พรรษา 
 
ด้วยศรัทธาที่มีหลวงปู่เทสก์ บรรดาศิษยานุศิษย์จึงร่วมกันก่อสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระราชนิโรธรังสีฯ(เทสก์ เทสรังสี) ขึ้นเพื่อเป็นสาราณียธรรมานุสรณ์ถึงท่าน ภายในวัดหินหมากเป้ง วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2534 เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานทรงบรรจุอัฐิ พระราชนิโรธรังสีฯ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2540 
 
เจดีย์พิพิธภัณฑ์พระราชนิโรธรังสีฯ เป็นเจดีขนาดใหญ่ เมื่อเดินข้ามผ่านธรณีประตูเข้าไปภายใน แสงไฟภายในเจดีย์จะสว่างขึ้นโดยอัตโนมัติ พร้อมกับเสียงบรรยายธรรมของหลวงปู่เทสก์ ผู้เข้ามาส่วนใหญ่มักจะสักการะรูปหล่อสำริดและอัฐิธาติของหลวงปู่เทสก์ ที่ประดิษฐานกลางโถงก่อนเป็นลำดับแรก แล้วจึงเดินชมการจัดแสดงภายในโถงเจดีย์ ซึ่งเป็นโถงกว้างทรงแปดเหลี่ยม ผนังภายในบุด้วยหินแกรนิตและเจาะช่องกระจกที่ภายในจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ของหลวงปู่เทสก์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 หมวดคือ 1) ของใช้ในชีวิตประจำวัน อาทิ แว่นตา ปากกา ไม้เกาหลัง แว่นขยาย 2) ของจำพวก จีวร ย่าม บาตร หมอน กาน้ำ แปรงสีฟัน 3) ตาลปัตร ไม้เท้า ร่ม 4) หนังสือของหลวงปู่เทสก์ ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ 
 
วัดหินหมากเป้ง เป็นวัดที่หลวงปู่เทสก์ มาบุกเบิก พัฒนาและจำพรรษายาวนานกว่า 20 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 บริเวณวัดร่มรื่นด้วยต้นไม้นานาพรรณ หินหมากเป้งเป็นชื่อหินสามก้อนซึ่งตั้งเรียงรายกันอยู่ริมฝั่งโขงที่หน้าวัด ที่มีรูปลักษณะคล้ายลูกตุ้มเครื่องชั่งทองคำสมัยเก่า คนท้องถิ่นเรียกว่า เต็งหรือเป้งยอย ส่วนคำว่าหมาก คนท้องถิ่นใช้เรียกผลไม้หรือสิ่งที่มีลักษณะเป็นลูกกลม ดังนั้นจึงเรียกหินสามก้อนนี้ว่า หินหมากเป้ง 
 
ข้อมูลจาก:
สำรวจภาคสนาม วันที่ 18 ธันวาคม 2549.
พระราชนิโรธรังสีฯ. อัตตโนประวัติพระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฎ์. พิมพ์เนื่องในวันพระราชทานเพลิงศพพระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฎ์(เทสก์ เทสรังสี) ณ เมรุวันหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย วันจันทร์ที่ 8 มกราคม 2539.
http://www.hinmarkpeng.org/ [accessed 20070208]
ชื่อผู้แต่ง:
-