พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ


กองทัพอากาศ ได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศขึ้นเมื่อ พ.ศ.2495 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมและเก็บรักษาอากาศยาน อาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องมือสื่อสารที่เคยใช้ในกองทัพอากาศ ตลอดจนบริภัณฑ์ประจำตัวนักบิน เครื่องแบบ เอกสารและพัสดุสำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการบิน พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศได้รวบรวมอากาศยานแบบเก่าหลากหลายแบบ เครื่องบินบางลำเหลือเพียงลำเดียวในโลก ในขณะที่บางลำเคยใช้ในการรบป้องกันเอกราชและอธิปไตยของชาติและเป็นเครื่องคู่ใจของนักบินที่ได้รับเหรียญกล้าหาญ นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดประวัติศาสตร์การบินที่รวบรวมหนังสือ จดหมายเหตุ รูปภาพ และเอกสารทางประวัติศาสตร์ของกิจการบินไว้ให้ศึกษาค้นคว้า

ที่อยู่:
กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์:
0-2534-1853
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน เว้นวันหยุดราชการ 08.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2495
จัดการโดย:

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 12 มีนาคม 2555

โดย: -

วันที่: 08 กุมภาพันธ์ 2556

โดย: -

วันที่: 08 กุมภาพันธ์ 2556

โดย: -

วันที่: 08 กุมภาพันธ์ 2556

โดย: -

วันที่: 08 กุมภาพันธ์ 2556

โดย: -

วันที่: 08 กุมภาพันธ์ 2556

โดย: -

วันที่: 08 กุมภาพันธ์ 2556

โดย: -

วันที่: 08 กุมภาพันธ์ 2556

โดย: -

วันที่: 08 กุมภาพันธ์ 2556

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ

ชื่อผู้แต่ง: วีระศักดิ์ วิทยากาญจน์ | ปีที่พิมพ์: 2520

ที่มา: สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

แหล่งค้นคว้า: มหาวิทยาลัยศิลปากร

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ

ชื่อผู้แต่ง: ศานิต วัฒนะคีรี | ปีที่พิมพ์: 2538

ที่มา: สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

แหล่งค้นคว้า: มหาวิทยาลัยรังสิต

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ

ชื่อผู้แต่ง: สรลักษณ์ โสตถิโยธิน | ปีที่พิมพ์: 2540

ที่มา: สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

แหล่งค้นคว้า: มหาวิทยาลัยรังสิต

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศโฉมหน้าอดีตของทัพฟ้า

ชื่อผู้แต่ง: อรสม สุทธิสาคร | ปีที่พิมพ์: 11,126(สิงหาคม 2538)

ที่มา: สารคดี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เปิด พิพิธภัณฑ์ ดู อัลฟ่าเจ็ต เขี้ยวเล็บ ทอ.

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 8/07/2542

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ติดปีกบินขึ้นฟ้า แล้วร่อนสู่ผืนน้ำ ตามรอยชายพีร์ แห่งวัง “จุฑาเทพ”

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 2 ก.ค. 2556;02-07-2013

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 25 มีนาคม 2558


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ

พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2495 เพื่อเป็นที่เก็บยุทธภัณฑ์และสันติภัณฑ์ของกองทัพอากาศตั้งแต่เริ่มกิจการการบิน เดิมทีพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ที่โรงเก็บเครื่องบินด้านทิศตะวันตกของสนามบินดอนเมืองและไม่ได้เปิดให้ประชาชนเข้าชม ต่อมาเมื่อมีวัตถุจำนวนมากขึ้นจึงได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2502 ส่วนอาคารหลังปัจจุบันสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2511และเริ่มให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2512

ปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศได้รวบรวมอากาศยานแบบเก่าหลากหลายแบบ เครื่องบินบางลำเหลือเพียงลำเดียวในโลก ในขณะที่บางลำเคยใช้ในการรบป้องกันเอกราชและอธิปไตยของชาติและเป็นเครื่องคู่ใจของนักบินที่ได้รับเหรียญกล้าหาญ ยุทธภัณฑ์เหล่านี้มีขนาดใหญ่ ต้องอาศัยทั้งกำลังเงินและกำลังคนในการดูแลรักษา แต่งบประมาณและบุคลากรที่มีก็ไม่เพียงพอต่อการทำงาน ในฐานะของรองหัวหน้ากองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ กรมสารบรรณทหารอากาศ น.อ.ไพฑูรย์ ไล้เลิศ ต้องใช้ความคิดและความอุตสาหะเป็นอย่างมากในการแก้ไขปัญหาความขาดแคลนที่เกิดขึ้นมาตลอด 

สิ่งที่ น.อ.ไพฑูรย์ให้ความสำคัญมากอันดับต้นๆ คือ แนวคิดในการทำงานของบุคลากรในพิพิธภัณฑ์ ทัศนคติของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารส่วนมากมองว่าพิพิธภัณฑ์คือที่เก็บของเก่าที่ไม่ใช้แล้ว ทั้งที่จริงๆ แล้วพิพิธภัณฑ์มีความสำคัญหลายประการในแง่ของการเป็นแหล่งเรียนรู้และที่เก็บรักษาเกียรติมรดกทางประวัติศาสตร์ของชาติ พิพิธภัณฑ์จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องแก้ไขทัศนคติของเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติให้มองเห็นคุณค่าของสิ่งที่ตนมีเสียก่อน 

น.อ.ไพฑูรย์ได้พยายามสร้างทัศนคติว่า "พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ คือ หอเกียรติภูมิของกองทัพอากาศ" เพื่อให้บุคลากรรู้สึกเทิดทูนและภาคภูมิใจ อยากทุ่มเททำงานและปรารถนาจะปรับปรุงพัฒนาหน่วยงานให้ดีขึ้น นอกจากนี้ นโยบายการทำงานที่ดีต้องแสดงถึงทิศทางการทำงานที่ชัดเจน ความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับถ้าแผนงานลุล่วงไป ซึ่งถ้าผู้เขียนนโยบายสามารถทำแผนงานให้มีความน่าเชื่อถือ โอกาสที่จะได้รับความสนับสนุนจากรัฐบาลในแง่เงินทุนและกำลังคนก็มีมากขึ้น อนึ่ง บุคลากรระดับปฏิบัติงานและระดับบริหารควรมีส่วนร่วมในการร่างนโยบายและมีความเข้าใจตรงกันด้วย

นอกจากปัญหาภายในองค์กรแล้ว พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศยังต้องต่อสู้กับความเชื่อของประชาชนทั่วไปที่มองว่าพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศก็เหมือนกับพิพิธภัณฑ์ทหารอื่นๆคือ มีความเข้มงวดภายในพิพิธภัณฑ์สูงและต้องจองล่วงหน้าหลายวันสำหรับกรณีการเข้าชมเป็นหมู่คณะ ความเชื่อเหล่านี้เป็นอุปสรรคสำคัญอย่างยิ่งสำหรับพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศในการเข้าถึงกลุ่มผู้ชม การทำงานจึงต้องมีการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ๆและนำจุดเด่นของพิพิธภัณฑ์มาใช้เพื่อลบภาพลักษณ์เดิมๆ จุดขายหลักของพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศคือ เครื่องบินรุ่นต่างๆ ซึ่งมักมีนักศึกษาหรือผู้สนใจมาขอข้อมูลทำงานวิจัยบ่อยครั้ง ทางพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศไม่เคยเก็บค่าธรรมเนียมในการขอข้อมูล แต่ใช้วิธีขอความร่วมมืออย่างอื่นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนแทน เช่น การขอให้เข้ามาช่วยจัดกิจกรรมพิเศษอบรมระยะสั้นในเรื่องที่ตนถนัดให้กับบุคลากรในพิพิธภัณฑ์หรือให้กับผู้มาเยี่ยมชม เมื่อได้มีส่วนร่วมในงานพิพิธภัณฑ์บ่อยครั้งเข้า บุคคลเหล่านี้จะเกิดความผูกพันกับพิพิธภัณฑ์และกลายเป็นอาสาสมัครพิพิธภัณฑ์ไปในที่สุด 

กิจกรรมที่ทางพิพิธภัณฑ์เคยจัดและได้รับการตอบรับอย่างดีคือ การประกวดโมเดลเครื่องบิน นักสะสมโมเดลเครื่องบินจะมาร่วมประกวดผลงานกันที่พิพิธภัณฑ์ ทางพิพิธภัณฑ์จะทำเรื่องขอความสนับสนุนค่าอาหาร น้ำดื่ม ถ้วยรางวัลและอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่นๆ จากหน่วยงานต่างๆ เพื่อมาจัดงาน โดยไม่รบกวนงบประมาณส่วนกลาง ผลงานชนะเลิศจะจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศเป็นเวลา 6 เดือน เป็นต้น อีกกิจกรรมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่เด็ก คือ การพับเครื่องบินกระดาษและประกวดภาพวาดระบายสี การพับเครื่องบินกระดาษนั้นสร้างขึ้นจากแผนผังของเครื่องบินจริง กิจกรรมพับเครื่องบินกระดาษได้รับความสนใจอย่างมาก ในปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ได้พัฒนากิจกรรมดังกล่าวเป็นหลักสูตร และใช้เวลาเรียนเพียงชั่วโมงเดียวเท่านั้น กิจกรรมเหล่านี้เป็นเครื่องมืออย่างดีในการลดช่องว่างระหว่างพิพิธภัณฑ์ทหารและผู้มาเยี่ยมชม 

ในส่วนของการประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์ เนื่องจากทางหน่วยงานได้รับงบประมาณจากส่วนกลางที่จำกัด จึงไม่อาจจัดสรรงบมาใช้เพื่อการทำสื่อประชาสัมพันธ์ทางโทรทัศน์หรือวิทยุได้ ทางพิพิธภัณฑ์เปิดให้รายการโทรทัศน์เข้ามาถ่ายทำในสถานที่ได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ เช่น Thailand’s Next Top Model หรือนิตยสารอื่นๆ ที่ขอยืมสถานที่เพื่อใช้ในการถ่ายแฟชั่น พิพิธภัณฑ์ขอความร่วมมือจากผู้ผลิตรายการให้ช่วยสอดแทรกเกร็ดความรู้สำคัญเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศเข้าไปในรายการ เช่น ประเทศไทยเริ่มต้นกิจการการบินหลังพี่น้องตระกูลไรท์เพียง 7 ปี คนไทยเราสร้างเครื่องบินเองเป็นเวลา 70-80 ปีมาแล้ว เป็นต้น ในขณะนี้ ทางพิพิธภัณฑ์ได้รับความช่วยเหลือจากผู้ผลิตรายการโทรทัศน์รายการหนึ่งในการเขียนบทสารคดีแนะนำพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายด้วย

น.อ.ไพฑูรย์พยายามใช้สิ่งที่ตนมีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยอิงหลักการที่ว่าพิพิธภัณฑ์ทุกแห่งมี "จุดขาย" หรือ "จุดเด่น" ของตนเอง บุคคลากรต้องรู้และสามารถดึงความโดดเด่นและตัวตนของพิพิธภัณฑ์ออกมาใช้ในการสื่อสารกับคนดู ให้ผู้ชมมีความสนใจและอยากจะเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์ควรพยายามสร้างเครือข่ายพิพิธภัณฑ์โดยการเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนากับพิพิธภัณฑ์และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

ข้อมูลจาก: การบรรยายในกิจกรรมพิพิธภัณฑ์เสวนาเดือนตุลาคม 2549 ณ สปาฟา วิทยากรโดย น.อ.ไพฑูรย์ ไล้เลิศ สรุปความโดยพัฒนศรี ทิพยประไพ

ชื่อผู้แต่ง:
-

ติดปีกบินขึ้นฟ้า แล้วร่อนสู่ผืนน้ำ ตามรอยชายพีร์ แห่งวัง “จุฑาเทพ”

สำหรับตอนสุดท้ายของละครซีรีส์ชุด “สุภาพบุรุษจุฑาเทพ” นั่นก็คือ “คุณชายรณพีร์” คุณชายคนสุดท้อง นักบินหนุ่มแห่งกองทัพอากาศไทย แน่นอนว่าสถานที่ที่ใช้ในการถ่ายทำก็ต้องเกี่ยวข้อกับกองทัพอากาศไทยเช่นเดียวกัน แต่หากจะให้ได้บรรยากาศที่ย้อนยุคไปนานหลายสิบปี ก็ต้องอาศัยเครื่องบินเก่าๆ เข้ามาเป็นส่วนประกอบ โดยไปถ่ายทำกันที่ “พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ ดอนเมือง” ซึ่งที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรวบรวมยุทธภัณฑ์และสันติภัณฑ์ของกองทัพอากาศตั้งแต่เริ่มกิจการบิน เป็นการบอกเล่าประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของกองทัพอากาศไทย
ชื่อผู้แต่ง:
-