พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเมืองด่านซ้าย (ผีตาโขน)


ที่อยู่:
วัดโพนชัย ถ.แก้วอาสา อ.ด่านซ้าย จ.เลย 42120
โทรศัพท์:
0-4289-1094 กศน.อ.ด่านซ้าย
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน เวลา 9.00-17.00 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2548
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ผีกับพุทธ ศาสนาและความเชื่อในสังคมด่านซ้าย ดุลยภาพทางจิตวิญญาณของชาวบ้านในลุ่มน้ำหมัน

ชื่อผู้แต่ง: วลัยลักษณ์ ทรงศิริ(บรรณาธิการ) | ปีที่พิมพ์: 2550

ที่มา: กรุงเทพฯ: มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยพันธุ์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ผีตาโขน สนุกสนานวันบุญหลวง

ชื่อผู้แต่ง: นักวิจัยท้องถิ่นด่านซ้าย | ปีที่พิมพ์: 2550

ที่มา: กรุงเทพฯ:บริษัทเวิร์คพริ้นท์ จำกัด

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม กรณีศึกษาบ้านด่านซ้าย นาเวียง และนาหอ ลุ่มน้ำหมัน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย"

ชื่อผู้แต่ง: นักวิจัยท้องถิ่นด่านซ้าย(ศรีศักร วัลลิโภดม หัวหน้าโครงการ) | ปีที่พิมพ์: 2548

ที่มา: กรุงเทพฯ: โครงการอบรมและวิจัยเชิงปฏิบัติการทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและชาติพันธุ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

Phi Ta Khon: Enjoyable Boon Luang Day

ชื่อผู้แต่ง: Dan Sai Researcher | ปีที่พิมพ์: 2550

ที่มา: Bangkok:Workprint Company Limited

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเมืองด่านซ้ายกับการหายไปของ ‘ความเป็นท้องถิ่น’

ชื่อผู้แต่ง: ธีระวัฒน์ แสนคำ | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: จดหมายข่าวมูลนิธิเล็กขประไพ วิริยะพันธุ์

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 22 สิงหาคม 2556

ผีตาโขน หน้ากากแห่งอารายธรรมและตำนานอันเกริกไกร

ชื่อผู้แต่ง: เจนจบ ยิ่งสุมล | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 53 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2557;vol. 53 No.2 April-June 2014

ที่มา: วารสารวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 22 ตุลาคม 2557

กายวิภาคโครงสร้างสังคมและวัฒนธรรมหน้ากาก "ผีตาโขน"

ชื่อผู้แต่ง: เอกรินทร์ พึ่งประชา | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 39 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2556;vol. 39 No.4 October - December, 2013

ที่มา: วารสารเมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 24 สิงหาคม 2558


ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเมืองด่านซ้าย(ผีตาโขน)

ด่านซ้าย เป็นเมืองที่อยู่ในเทือกเขาเพชรบูรณ์ติดกับชายแดนประเทศลาว เป็นดินแดนแห่งต้นน้ำหลายสาย ได้แก่ น้ำหมัน น้ำป่าสัก และน้ำพุง เมื่อเอ่ยถึงด่านซ้ายหลายคนมักจะนึกถึง พระธาตุศรีสองรัก พระธาตุเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเลย และขบวนแห่ผีตาโขน

หากแต่น้อยคนนักที่จะทราบว่าผีตาโขนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ “บุญหลวง” ประเพณีใหญ่ในด่านซ้าย ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากการโหมโปรโมทของภาครัฐที่ปราศจากความเข้าใจถึงประเพณีของท้องถิ่นอย่างแท้จริง ถือกันว่างานบุญหลวง(ประมาณเดือน 8 หรือกรกฎาคม) ต้องจัดขึ้นที่วัดโพนชัย ซึ่งเป็นวัดประจำเมืองด่านซ้ายก่อน แล้วหมู่บ้านรอบนอกจึงจะจัดได้ งานบุญหลวงรวมเอา “งานบุญพระเวส”(ฮีตเดือนสี่) และ “งานบุญบั้งไฟ”(ฮีตเดือนหก) เข้าไว้เป็นงานบุญเดียวกัน

งานบุญพระเวสนั้นเป็นงานบุญที่จัดขึ้นเพื่อฟังเทศน์มหาชาติ ทั้ง 13 กัณฑ์ ซึ่งถือว่าได้อานิสงส์แรงกล้า บันดาลให้พบพระศรีอารียะเมตไตรย์ในชาติหน้า ส่วนงานบุญบั้งไฟเป็นงานบุญที่จัดขึ้นเพื่อบูชาอารักษ์หลักเมืองและถือเป็นประเพณีการแห่ขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล ในงานบุญหลวงนี้จะมีกองทัพผีตาโขน ออกมาเต้นวาดลวดลายทั่วเมืองด่านซ้าย ร่วมสร้างความสนุกครื้นเครง

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเมืองด่านซ้าย ตั้งอยู่ภายในวัดโพนชัย โดยนำกุฏิหลังเดิมของท่านเจ้าอาวาสมาดัดแปลงเป็นพิพิธภัณฑ์ กุฏิดังกล่าวสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2478 ด้วยไม้ทั้งหลังตามแบบสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่น ภายในได้รวบรวมเอาวัฒนธรรมและประเพณีของด่านซ้ายเข้ามาจัดแสดงไว้ครบถ้วน ตั้งแต่ห้องแรก คือห้องเมืองด่านซ้ายและพระธาตุศรีสองรัก แสดงประวัติศาสตร์ของชาวด่านซ้ายตั้งแต่เมื่อ 400 ปีที่ผ่านมา ประวัติตำนานพระธาตุศรีสองรัก
ส่วนที่สอง ห้องผีตาโขน แสดงวัฒนธรรมประเพณีฮีตสิบสองคองสิบสี่ของชาวอีสาน งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ประวัติความเป็นมาของผีตาโขน การทำหน้ากากผีตาโขนในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนคติความเชื่อเกี่ยวกับการละเล่นผีตาโขน ซึ่งผู้เล่นและผู้ดูควรที่จะรู้และเข้าใจ

ส่วนที่สาม ห้องสื่อวีดีทัศน์ ฉายภาพเรื่องราวของเมืองด่านซ้าย ประเพณีงานบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน พร้อมกับนิทรรศการแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอด่านซ้าย อาหารพื้นเมือง และบุคคลสำคัญของด่านซ้าย
ส่วนที่สี่ ว่าด้วยเรื่องของดีเมืองด่านซ้าย แสดงสาระความรู้ที่ชาวด่านซ้ายภาคภูมิใจ เช่น สมุนไพรพื้นบ้าน แหล่งท่องเที่ยว ข้อมูลพื้นบ้านของอำเภอด่านซ้าย

ส่วนที่ห้า สาธิตการทำหน้ากากผีตาโขน จะมีการสาธิตให้ผู้สนใจทุกวันเสาร์-อาทิตย์ แม้จะไม่มีโอกาสมาร่วมงานประเพณีบุญหลวง หากแต่ผู้ชมสามารถลองสวมชุดและหน้ากากผีตาโขนที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้
และส่วนที่หก มุมพักผ่อนและขายของที่ระลึก อาทิ หน้ากากผีตาโขนจิ๋ว เซรามิกรูปผีตาโขน รายได้จากการขายของที่ระลึกจะใช้ในกิจการพัฒนาพิพิธภัณฑ์

กว่าจะมาเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เดิมนั้นเป็นเพียงนิทรรศการเกี่ยวกับประเพณีผีตาโขนในห้องสมุดประชาชน ที่เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2522 เมื่อททท.เข้ามาโปรโมทการท่องเที่ยว ทำให้ผู้สนใจเข้ามาชมและสอบถามอยู่เสมอ ๆ ภายใต้การนำของเจ้าหน้าที่ประจำการศึกษานอกโรงเรียน(กศน.)อำเภอด่านซ้าย จึงของบประมาณประมาณจาก ททท. และจังหวัด มาจัดทำพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ โดยขอแรงสนับสนุนอีกทางจากท่านเจ้าอาวาสและทางชุมชน ในช่วงที่มีงานบุญหลวง ผู้คนทั่วประเทศแห่แหนกันมาที่วัดโพนชัย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้นอกจากจะเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเพณีบุญหลวงและการเล่นผีตาโขนให้กับคนต่างถิ่นแล้ว นอกชานบนตัวเรือนที่เป็นไม้กระดานขัดไว้อย่างมันปลาบ ยังกลายเป็นที่พักหลบร้อนของผู้มาเยือนอีกด้วย

ข้อมูลจาก: การสำรวจภาคสนามวันที่ 20 ธันวาคม 2549
แผ่นพันประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเมืองด่านซ้าย
วลัยลักษณ์ ทรงศิริ(บรรณาธิการ). ผีกับพุทธ ศาสนาและความเชื่อในสังคมด่านซ้าย ดุลยภาพทางจิตวิญญาณของชาวบ้านในลุ่มน้ำหมัน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์, 2550.
ชื่อผู้แต่ง:
-

ผีตาโขน หน้ากากแห่งอารายธรรมและตำนานอันเกริกไกร

เป็นเวลายาวนานหลายทศวรรษมาแล้ว ที่ชื่อเสียงของ "ผีตาโขน" เป็นที่รู้จักขึ้นมาในประเทศไทย และขจรขจายออกไปในดินอแดนอื่น ในทางรูปธรรมผีตาโขนเป็นภูมิปัญญาอันเกอุ และกุศโลบายอันแยบยล ที่ดำรงคงอยู่กับกาลเวลามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เป็นวัฒนธรรมการละเล่นของท้องถิ่นอันทรงคุณค่าที่ชาวอำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลย ยังคงอนุรักษ์ไว้
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเมืองด่านซ้ายกับการหายไปของ ‘ความเป็นท้องถิ่น’

เมืองด่านซ้าย เป็นชุมชนโบราณเก่าแก่ของราชอาณาจักรล้านช้างที่ตั้งอยู่ติดกับบริเวณเขตต่อแดนระหว่างกรุงศรีอยุธยา มีพระธาตุศรีสองรักสร้างขึ้นเป็นสัญลักษณ์เขตแดนและไมตรีระหว่างสองราชอาณาจักรเป็นประจักษ์พยาน เมืองด่านช้ายในปัจจุบันคือบริเวณอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-