พิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา


พิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา ก่อตั้งโดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยคณบดีและรองคณบดีคณะวิทยาศาตร์ในสมัยนั้น (พ.ศ. 2551) ดร.อุษา กลิ่นหอม อาจารย์วินัย กลิ่นหอม และได้รับเงินทุนสนับสนุนบางส่วนจากห้างหุ้นส่วนจำกัดอเมซิ่งเกรซ เฮลโปรดัส์ และบริจากตัวอย่างเห็ดขนาดใหญ่จากประเทศกัมพูชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและจัดแสดงสายพันธ์ุเห็ดที่มีฤทธิ์ทางยาในประเทศไทย พร้อมทั้งองค์ความรู้การใช้ประโยชน์จากเห็ดของภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับเห็ดและตัวอย่างเห็ดเพื่อการเรียนการสอน ศึกษาวิจัย กับนิสิต นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัยและบุคคลทั่วไป ภายใต้ข้อกำหนดในหนังสือสัญญาการใช้ตัวอย่าง (MTA) ห้องพิพิธภัณฑ์ฯ ตั้งอยู่ภายในอาคารวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ชั้น 3 ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดแสดงตัวอย่างเห็ดพร้อมชื่อวิทยาศาสตร์ และข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา ตัวอย่างเกือบทั้งหมดเก็บได้จากป่าธรรมชาติในประเทศไทย มีบางตัวอย่างที่เป็นเห็ดขนาดใหญ่ได้รับบริจากมาโดยเก็บได้จากประเทศกัมพูชา การเข้ามาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เห็ดฯ ต้องติดต่อล่วงหน้าผ่านคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เนื่องจากภัณฑารักษ์เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาชีวิทยาอาจมีภาระงานสอนและวิจัยหรืองานอื่น ๆ และไม่ได้เปิดพิพิธภัณฑ์ตลอดเวลา เปิดเฉพาะเวลาที่มีคนติดต่อขอเยี่ยมชมเท่านั้น

ที่อยู่:
ห้อง SC2-300 อาคารวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
โทรศัพท์:
043 754 333 ต่อ 1179
วันและเวลาทำการ:
วันและเวลาราชการ (จำเป็นต้องติดต่อล่วงหน้า)
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
khwanruan.p@msu.ac.th
ปีที่ก่อตั้ง:
2551
ของเด่น:
ตัวอย่างเห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา เห็ดรับประทานได้ เห็ดพิษ พร้อมชื่อวิทยาศาสตร์ การใช้ประโยชน์ ข้อควรระวัง และองค์ความรู้เกี่ยวกับเห็ดตามภูมิปัญญาท้องถิ่น
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา

ในแต่ละปีคนอีสานบริโภคเห็ดอย่างมหาศาลนอกจากนั้นแล้ว ยังมีการใช้เห็ดบางชนิดเป็นยารักษาโรคบางอย่างได้แต่กลับมีการศึกษาทางวิชาการน้อยมาก ดังนั้นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงที่ตั้งอยู่ท่ามกลางความหลากหลายทางทรัพยากรเหล่านี้ จึงต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำเพื่อการอนุรักษ์ สืบทอดภูมิปัญญาและต่อยอดองค์ความรู้ของการใช้ประโยชน์จากเห็ด 
 
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงได้จัดตั้งโครงการพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยาขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจาก Thai – Korea Natural Phellinus Mushroom Research Center เริ่มดำเนินการเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2550 แล้ว เสร็จภายในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน และได้รับพระกรุณาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ถือเป็นพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยาแห่งแรกในประเทศไทยและเอเชีย
 
พิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา จึงจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับต่อยอดและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับเห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา อันจะทำให้เกิดความตระหนักในคุณค่าของเห็ด ความเข้าใจเกี่ยวกับเห็ด โดยกระบวนการเก็บตัวอย่าง การจำแนกอย่างเป็นระบบการจัดแสดงตัวอย่าง การเรียนการสอน การบริการวิชาการและการวิจัย
 
ทั้งนี้พิพิธภัณฑ์มีวัตถุประสงค์หลักที่สำคัญคือ การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา ทั้งเห็ดในภาคอีสานและเห็ดที่มีการวิจัยหรือได้รับความสนใจในต่างประเทศ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ อันจะนำไปสู่การพัฒนาตัวยาใหม่ๆ เพื่อช่วยชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะโรคที่ยาแผนปัจจุบันยังรักษาไม่ได้ 
 
ด้านการดำเนินงาน พิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยาได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลในรูปเเบบฐานข้อมูล โดยกำหนดหมายเลขเป็นInternational Index Herbarium Code คือ MSUT ปัจจุบันมีมากกว่า 4000 ตัวอย่าง นอกจากนี้ยังมีบริการรับฝากตัวอย่างเห็ดโดยให้หมายเลข MSUT พร้อมกับมีหมายเลขผู้เก็บตัวอย่าง (Collector Number) ทั้งนี้สามารถรับแบบฟอร์มการรับฝากตัวอย่างได้ทีพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา
 
พิพิธภัณฑ์แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ ส่วนจัดแสดงแรก จัดแสดงตัวอย่างเห็ดแต่ละชนิด แบ่งเป็นหมวดหมู่ตามการจำแนก  ส่วนที่สองจัดแสดงระบบนิเวศของเห็ดในป่าภาคอีสาน และส่วนที่สาม แสดงฤทธิ์ทางยาและผลิตภัณฑ์จากเห็ด
 
ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหนังสือของพิพิธภัณฑ์เห็ดมีฤทธิ์ทางยา ได้แก่ ความหลากหลายของเห็ดผึ้งในภาคอีสาน, 57 เห็ดเป็นยาแห่งป่าอีสาน และ เห็ดป่าเมืองไทย ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์

ข้อมูลจาก: พิพิธภัณฑ์เห็ดมีฤทธิ์ทางยา (1 มีนาคม 25554)
ชื่อผู้แต่ง:
-

'พิพิธภัณฑ์เห็ด'ที่ม.สารคาม รวมเห็ดพื้นบ้าน-แห่งแรกในไทย

จากที่นักวิจัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ค้นพบเห็ดพื้นบ้านอีสานจำนวน 65 ชนิด ซึ่งมีสรรพคุณหรือมีฤทธิ์สามารถนำไปทำยารักษาโรคได้ พร้อมรวบรวมองค์ความรู้จากเห็ดเหล่านี้ด้วยการฟื้นฟูภูมิปัญญาพื้นบ้านในตำราใบลานของอีสาน หวังกระตุ้นภาครัฐให้เอาจริงกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเห็ด และนำไปต่อยอดเพื่อการใช้ประโยชน์ได้จริง
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-