พิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคาม


ที่อยู่:
สวนสาธารณะหนองข่า ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม 44000
โทรศัพท์:
043-723467, 095-6695383
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 8.30-16.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
อีเมล:
Keadjana@hotmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2546

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

เล่าเรื่องวิถีชีวิตผู้คนผ่าน 2 พิพิธภัณฑ์ ณ มหาสารคาม

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 15 มิ.ย. 2557;15-06-2014

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 16 มิถุนายน 2557


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคาม

พิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคามศูนย์รวมเผยแพร่และจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน จังหวัดมหาสารคาม เป็นหน่วยงานในสังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองมหาสารคาม โดยเริ่มดำเนินงานในปี พ.ศ .2543 ในสมัยที่นางสิริเลิศ เมฆไพบูลย์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม และนายสุรจิตร ยนต์ตระกูลเป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนกระจายการผลิตและการจ้างงานไปสู่ส่วนภูมิภาค สำหรับการก่อสร้างอาคารจำนวน 8,434,000 บาท เมื่อก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคามฯ แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2545 เทศบาลเมืองมหาสารคามจึงได้จัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ .2546 จำนวน 2,000,000 บาท เพื่อศึกษาเนื้อหา ออกแบบ และจัดแสดง นิทรรศการภายใน โดยมีคณะอนุกรรมการโครงการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคามฯ ฝ่ายวิชาการ( ผศ.ดร.ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ ) เป็นผู้ดำเนินงานในการศึกษาวิจัยเนื้อหาการจัดแสดง โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลวิถีชีวิตของผู้คนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม จัดเวทีระดมความคิดจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อการจัดแสดงนิทรรศการ โดยมีนายสวรรค์ ตั้งตรงสิทธิกุล เป็นสถาปนิกออกแบบ

การจัดแสดงนิทรรศการ เมื่อการจัดแสดงนิทรรศการในอาคารพิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคาม ฯ แล้วเสร็จ จึงได้มีพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคาม ศูนย์รวมเผยแพร่และจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้านจังหวัดมหาสารคามพร้อมกับการจัดพิธีบวงสรวงพระเจริญราชเดช ( กวด ภวภูตานนท์ ) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองคนแรก ของเมืองมหาสารคาม เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2547

อาคารพิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคามศูนย์รวมเผยแพร่และ จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน จังหวัดมหาสารคามตั้งอยู่ภายในสานสาธารณะหนองข่า ซึ่งจัดเป็นสถานที่สำหรับ การออกกำลังกายและจัดกิจกรรมกลางแจ้งของชาวเมืองมหาสารคามบริเวณด้านหน้า ของอาคารพิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคามฯ เป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์พระเจริญราชเดช ( กวด ภวภูตานนท์ ) เจ้าเมืองคนแรกของเมืองมหาสารคาม

อาคารพิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคามเป็นศูนย์รวมเผยแพร่และจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน จังหวัดมหาสารคามเป็นอาคาร 2 ชั้นชั้นล่าง เป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการถาวรบางส่วน พื้นที่ส่วนที่เหลือใช้เป็น คลังพิพิธภัณฑ์ ห้องสำนักงาน และศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ชั้นบนเป็นพื้นที่การจัดแสดงนิทรรศการถาวรและนิทรรศการชั่วคราว

การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคาม ฯ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เน้นการจัดแสดงเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนเป็นหลัก ดังนั้นวัตถุสะสมจึงเป็นวัตถุซึ่งจัดแสดงประกอบอยู่ในนิทรรศการเป็นหลัก โดยอาจจำแนกประเภทวัตถุสะสมออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
                               1. เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำเนินชีวิต เช่น เครื่องมือทำนา เครื่องมือจับปลา เป็นต้น
                               2. อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ของเจ้าเมืองมหาสารคาม
                               3. อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ของเทศบาลเมืองมหาสารคาม

การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคาม ฯ เน้นการเล่าเรื่องวิถีชีวิตของผู้คน ในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม โดยมีแก่นของเรื่อง(Theme) ซึ่งแสดงออกถึงตัวตนหรืออัตลักษณ์แห่งวิถีชีวิต ชาวเทศบาลเมืองมหาสารคาม อันได้แก่ “เมืองซ้อนชนบท ” นอกจากการบอกเล่าเรื่องราวของชาวเทศบาล เมืองมหาสารคามให้ผู้เยี่ยมชมได้รู้จัก เข้าใจ และซาบซึ้งในวิถีแห่งเมืองมหาสารคามแล้ว พิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคาม ฯ ยังได้ตั้งคำถาม แก่ผู้เยี่ยมชมว่า ความเป็น “ เมืองซ้อนชนบท ” ดังกล่าวจะเป็นบทเรียนสำหรับการพัฒนาเมืองมหาสารคามในอนาคตได้อย่างไร


ข้อมูลจาก: http://www.museum.msu.ac.th/museum/data/mk_meung.htm [accessed 20090306]

 
ชื่อผู้แต่ง:
-

เล่าเรื่องวิถีชีวิตผู้คนผ่าน 2 พิพิธภัณฑ์ ณ มหาสารคาม

การเดินทางออกไปท่องเที่ยวในแต่ละครั้ง ไม่เพียงแต่จะได้พักผ่อน และซึมซับบรรยากาศแต่ละสถานที่เท่านั้น แต่การท่องเที่ยวในเชิงศิลปะ วัฒนธรรม เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของแต่ละสถานที่นั้น ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กั “มหาสารคาม” เมืองที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมืองแห่งนี้นอกจากจะมีความโดดเด่นในเรื่องของเอกลักษณ์ วัฒนธรรมแล้ว เมืองนี้ยังมีการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ไว้ภายในเมือง เพื่อให้นักท่องเที่ยว นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้เข้ามาเรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมาของเมืองอีกด้วย
ชื่อผู้แต่ง:
-